คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการโรงงานต่อการระบายน้ำทิ้งผิดกฎหมาย แม้โจทก์มิได้ระบุมาตรา 50 ทวิ ในฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เจ้าของโรงงาน และจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทได้บังอาจระบายน้ำทิ้งลงในแม่น้ำ เป็นการฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 39,50 เมื่อจำเลยรับสารภาพจึงลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติซึ่งโจทก์กล่าวมาในฟ้องแล้วได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตรา 50 ทวิมาด้วยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการโรงงานในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายป่าไม้ควบคู่ไปด้วย
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงาน และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกให้ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 แต่โรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และทำการแปรรูปไม้ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518 มาตรา 19 กล่าวคือต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่อีกโสดหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงงานแปรรูปไม้ในเขตควบคุม ต้องได้รับอนุญาตตามทั้ง พ.ร.บ.โรงงาน และ พ.ร.บ.ป่าไม้
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงาน และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกให้ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 แต่โรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และทำการแปรรูปไม้ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา48 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5)พ.ศ.2518 มาตรา 19 กล่าวคือต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่อีกโสดหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งปรับปรุงโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ ต้องมีเหตุจากการก่อความเดือดร้อนหรืออันตรายแก่ผู้อื่น
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะมีอำนาจออกคำสั่งตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 36(3) ก็ต่อเมื่อโรงงานของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานนั้นก่อให้เกิดความรำคาญหรืออันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานของจำเลยไม่เคยก่อให้เกิด ความรำคาญหรืออันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้ใดเลย อธิบดีกรมโรงงานย่อมไม่มีอำนาจออกคำสั่งตามกฎหมายมาตรานี้ บังคับจำเลยให้จัดการแก้ไขและสร้างระบบขจัดน้ำทิ้ง แม้ออกมา ก็ย่อมไม่มีผลบังคับการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลให้หยุดกิจการโรงงาน ไม่ถือเป็นคำสั่งห้ามตาม ม.196 หากความผิดไม่ได้เกิดจากอาชีพหรือวิชาชีพ
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่รับอนุญาต ซึ่งความผิดในคดีดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะจำเลยมิได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานและประกอบกิจการ ไม่เกี่ยวกับอาชีพหรือวิชาชีพที่จำเลยประกอบอยู่ คำสั่งศาลในคดีก่อนที่สั่งให้จำเลยหยุดประกอบกิจการโรงงานจนกว่าจะได้รับอนุญาตนั้น หาใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 50 ไม่ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยได้ประกอบกิจการโรงงานของจำเลยอีก ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของห้างหุ้นส่วนและผู้ร่วมก่อตั้งในหนี้สินของโรงงาน
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ตั้งโรงงานแก้วขึ้นเพื่อผลิตขวดยาและเครื่องแก้วออกจำหน่ายหากำไรในระหว่างที่โรงงานแห่งนี้ยังมิได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในกิจการของโรงงานแล้วไม่ชำระราคาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต้องรับผิดหนี้ค่าซื้อสินค้านั้นร่วมกับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 และต่อมาเมื่อโรงงานนั้นได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้รายนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการปิดแสตมป์ยาสูบสำหรับผู้ประกอบการโรงงานที่ซื้อยาเส้นจากชาวไร่โดยตรง ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบ โดยตั้งโรงงานประกอบอุตสาหกรรมยาสูบในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยไปซื้อยาเส้นจากชาวไร่ที่บ้านของชาวไร่ในอำเภอท่าศาลาจังหวัดเดียวกัน ยาเส้นดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดแสตมป์ยาสูบเพราะเป็นยาเส้นที่ชาวไร่ผลิตได้ จำเลยกำลังขนย้ายยาเส้นนี้ไปยังสถานที่ประกอบการค้าของตนเพื่อดำเนินการก่อนนำออกขาย ระหว่างทางถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีไว้เพื่อขายซึ่งยาเส้นที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 24 จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานและประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิด 2 กระทง
จำเลยตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 8 และมาตรา 12 อันเป็นความผิดตามมาตรา 43 และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512การกระทำผิดของจำเลยแยกได้เป็น 2 กระทง ต่างหากจากกันหาใช่เรื่องจำเลยได้กระทำผิดกระทงแรกแล้ว ไม่อาจกระทำความผิดกระทงหลังได้อีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นคนละกระทง
จำเลยตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 8 และมาตรา 12 อันเป็นความผิดตามมาตรา 43 และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512การกระทำผิดของจำเลยแยกได้เป็น 2 กระทง ต่างหากจากกันหาใช่เรื่องจำเลยได้กระทำผิดกระทงแรกแล้ว ไม่อาจกระทำความผิดกระทงหลังได้อีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยามโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2512: เตาเผาหินปูนขนาดใหญ่เข้าข่ายต้องขออนุญาต
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 5 มีคำจำกัดความคำว่าโรงงานไว้ให้หมายถึงอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่สองแรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สองแรงม้าขึ้นไป ฯลฯ และมีคำจำกัดความคำว่าเครื่องจักรไว้ด้วยว่าหมายถึงสิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงานฯลฯดังนั้น จึงถือได้ว่า โรงผลิตปูนขาวซึ่งใช้เตาหินปูนขนาดให้ความร้อนเท่ากับเครื่องจักรขนาด 368 แรงม้า โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง เป็นโรงงานที่ต้องขออนุญาตตามความหมายของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ด้วยเพราะใช้เตาซึ่งย่อมต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น และใช้เชื้อเพลิงก่อให้เกิดพลังงานคือความร้อนขึ้นอันเป็นเครื่องจักรตามคำจำกัดความข้างต้น
of 10