พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดิน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: ห้ามโอนภายใน 5 ปี ไม่นำมารวมระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็จะนำเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 มิได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินรับโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ ห้ามโอนภายใน 5 ปี การครอบครองก่อนระยะเวลาดังกล่าวไม่นับเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็จะนำเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยฉ้อฉลเพื่อเสียเปรียบเจ้าของที่ดินข้างเคียง และการบังคับให้จดทะเบียนภารจำยอม
โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 1 ต่าง ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงใหญ่ และได้ มาจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมออกจากกันเป็นคนละ 1 แปลง แต่ ยังไม่ได้จดภารจำยอมทางเดินเข้าออกเนื่องจากยังไม่มีโฉนด ทุกคนทราบว่าทางเดินกว้าง 6 เมตร และจะมาจดภารจำยอมเรื่องทางเดินผ่านเมื่อได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว ดังนี้ เมื่อทุกคนต่าง ได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว จึงมีหน้าที่ต้อง ปฏิบัติตาม ข้อตกลง แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะขายที่ดินแปลงของตน ให้โจทก์ที่ 5 และที่ 6และโจทก์ที่ 4 จะยกที่ดินแปลงของตน ให้โจทก์ที่ 7 ซึ่ง เป็นเจ้าของที่แท้จริงไปแล้วก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดโดย อาศัยสิทธิซึ่งกันและกันก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงได้ การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตน ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4ซึ่ง เป็นบุตรของตน และอาศัยอยู่กับตน โดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2ถึง ที่ 4 ได้ ทราบว่า จำเลยที่ 1 ต้อง จดทะเบียนทางภารจำยอมมาตั้งแต่ แรก โดย ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้อง รีบโอนให้จำเลยที่ 2ถึง ที่ 4 ก่อนจดทะเบียนภารจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่าง ทราบดี ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้ มาซึ่ง ทางภารจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภารจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะ จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินของตน ได้ โดย ไม่จำต้องเพิกถอนการให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดก: ทายาทผู้รับโอนสิทธิยกอายุความได้
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์กับ ม. ซึ่ง เป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดก จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม. รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่ง เป็นผู้รับโอนเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาท ต้อง ฟ้องภายในกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของเจ้ามรดกนั้นโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดย มารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่ วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่ง ชอบที่จะใช้ สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อจำกัด 'เปลี่ยนมือไม่ได้' ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์
ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งผู้ออกตั๋วได้ลงข้อความในด้านหน้าของตั๋วว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดังนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นย่อมจะโอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 985 การโอนสามัญคือ การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอน โดยคำบอกกล่าวหรือความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วย การที่ลูกหนี้ที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความในด้านหน้าว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ให้กับ ธ. ต่อมา ธ. สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แม้ ธ. จะได้ทำหนังสือแจ้งการสลักหลังให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบพร้อมทั้งโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม เจ้าหนี้ก็ยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อจำกัด 'เปลี่ยนมือไม่ได้' ต้องทำตามหลักการโอนสามัญตามกฎหมาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งผู้ออกตั๋วได้ลงข้อความในด้านหน้าของตั๋วว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดังนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นย่อมจะโอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 985การโอนสามัญคือ การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนโดยคำบอกกล่าวหรือความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วย การที่ลูกหนี้ที่ 1ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความในด้านหน้าว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้"ให้กับ ธ.ต่อมาธ. สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แม้ ธ. จะได้ทำหนังสือแจ้งการสลักหลังให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบพร้อมทั้งโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม เจ้าหนี้ก็ยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อล้มละลาย: สินสมรส, สิทธิของผู้สุจริต, และการชดใช้ราคาทรัพย์
การที่จำเลยและภริยาซื้อที่ดินพิพาทจากผู้มีชื่อ แล้วใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาหาใช่ของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยก็อยู่ในระยะเวลา 3ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จึงต้องด้วยมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำเฉพาะส่วนของจำเลยเสียได้ และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ภายหลังที่มีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้จะฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ แต่อย่างใดไม่ ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งกลับมาเป็นของจำเลย โดยให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนดังกล่าว หากไม่สามารถโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ ผู้คัดค้านทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้เงินเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์พิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2530 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในทรัพย์สินโดยหนังสือสัญญา ทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้รับสิทธิโดยสมบูรณ์ แม้ไม่ต้องจดทะเบียน
เมื่อสามีทำหนังสือสละสิทธิในทรัพย์สินทั้งปวงให้แก่ภรรยาที่พิพาทซึ่งในโฉนดมีชื่อภรรยาถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาโดยสมบูรณ์ หาจำต้องจดทะเบียนกันอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้ออาวุธปืนที่มีทะเบียนโดยไม่โอนทะเบียน การริบของกลาง
จำเลยซื้ออาวุธปืนลูกซองยาวของกลางซึ่งเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียนมาจากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนโดยมิได้มีการโอนทางทะเบียนให้ถูกต้องความผิดของจำเลยเป็นความผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนจากนายทะเบียนทอ้งที่เท่านั้นอาวุธปืนดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะพึงต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา32.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและโรงสี แม้ไม่มีกำหนดวันโอน แต่เมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์แล้ว ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้โอนได้
ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่าจำเลยจะขายโรงสีให้โจทก์ และต่อมามีข้อความว่าและที่ที่ตั้งโรงสีด้วยยาวประมาณ 13 วาเศษ กว้าง 11 วาเศษ ทิศเหนือมีทางออกถนน 4 วาด้วย เห็นได้ว่าเป็นการตกลงจะซื้อตัวโรงสีทั้งที่ดินที่ตั้งโรงสีและมีทางเข้าออกโรงสีด้วย
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญามัดจำมีข้อความว่าจะขายอยู่ด้วย ผู้ขายได้รับมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนราคาที่เหลือชำระในวันหลังต่อมาผู้ซื้อได้ชำระราคาส่วนเหลือให้ผู้ขาย ที่มิได้กำหนดวันโอนไว้ในสัญญาเพราะขณะทำสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว ผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญามัดจำมีข้อความว่าจะขายอยู่ด้วย ผู้ขายได้รับมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนราคาที่เหลือชำระในวันหลังต่อมาผู้ซื้อได้ชำระราคาส่วนเหลือให้ผู้ขาย ที่มิได้กำหนดวันโอนไว้ในสัญญาเพราะขณะทำสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว ผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด