คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้: การเลิกห้างและขยายกิจการไม่ถือเป็นเจตนาทุจริต
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 นั้น การโอนทรัพย์ต้องประกอบด้วยเจตนาเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นประการสำคัญด้วย การที่ลูกหนี้เลิกห้างเดิมและขยายกิจการตั้งเป็นบริษัทขึ้นใหม่มีทุนมากขึ้นนั้น ยังถือไม่ได้ว่าลูกหนี้มีเจตนาย้ายหรือโอนทรัพย์เพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการขอเฉลี่ยทรัพย์สินลูกหนี้ แม้มีการโอนทรัพย์ให้บุตรหลังมีคำพิพากษา
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาขายทอดตลาดเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาในคดีอื่น ย่อมยื่นคำร้องขอเฉลี่ยได้ แม้จะปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โอนที่ดินแปลงอื่นของตนให้แก่บุตรภายหลังคำพิพากษา แม้เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งชอบที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะไปว่ากล่าวฟ้องร้องต่างหาก ในชั้นนี้มีปัญหาว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถเอาชำระหนี้ จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้หรือไม่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการขอรับส่วนเฉลี่ยจากทรัพย์สินลูกหนี้ แม้มีการโอนทรัพย์หลังมีคำพิพากษา
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาขายทอดตลาดเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น ย่อมยื่นคำร้องขอเฉลี่ยได้ แม้จะปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โอนที่ดินแปลงอื่นของตนให้แก่บุตรภายหลังคำพิพากษา แม้เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งชอบที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะไปว่ากล่าวฟ้องร้องต่างหาก ในชั้นนี้มีปัญหาว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้หรือไม่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน: ศาลพิจารณาการสมยอมกันและการฉ้อฉลเจ้าหนี้
คดีร้องขัดทรัพย์ โจทก์ให้การแก้คำร้องว่าจำเลยกับผู้ร้องโอนทรัพย์กันโดยสมยอม เป็นเจตนาลวงตกเป็นโมฆะตามมาตรา118ศาลจะวินิจฉัยว่า การโอนทำให้โจทก์เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลที่เพิกถอนได้ตามมาตรา237 ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินเดิมให้ผู้อื่นโดยความยินยอมของคู่สมรส และการใช้สินสมรสชดใช้สินเดิม
การที่สามีโอนสินเดิมของตนให้ผู้อื่นด้วยความรู้เห็นยินยอมของภรรยา ภายหลังทรัพย์นั้นกลับมาเป็นของสามีอีกดังนี้แม้จะถือว่าทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสเพราะได้โอนเด็ดขาดไปแล้วก็ต้องเอาสินสมรสมาใช้ทดแทนสินเดิมตาม ป.พ.พ. ม.1473,1513,1514

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิมแปลงเป็นสินสมรส: การใช้สินสมรสทดแทนสินเดิมที่โอนด้วยความยินยอม
การที่สามีโอนสินเดิมของตนให้ผู้อื่นด้วยความรู้เห็นยินยอมของภรรยาภายหลังทรัพย์นั้นกลับมาเป็นของสามีอีกดังนี้แม้จะถือว่าทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสเพราะได้โอนเด็ดขาดไปแล้วก็ต้องเอาสินสมรสมาใช้ทดแทนสินเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1473,1513,1514

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: สิทธิของผู้ซื้อยังไม่เกิดจนกว่าจะโอนทรัพย์ ผู้ซื้อจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนหรือห้ามเกี่ยวข้องกับทรัพย์
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านเรือนกัน ผู้ขายมอบที่ดินและบ้านเรือนให้ผู้ซื้อครอบครองไปพลางก่อน จนกว่าจะได้ไปโอนกันภายหลังนั้น ผู้ซื้อยังไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่จะซื้อขายกันนั้น ผู้ซื้อเพียงมีสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย อันเป็นสิทธิเหนือบุคคลผู้เป็นคู่สัญญาและทายาทของเขา ฉะนั้นเมื่อมีคนเข้ามารื้อเรือนเอาไป และร้องขอให้อำเภอขายที่ดินนั้นโดยอ้างว่า เขาเป็นทายาทผู้รับมรดกของเจ้าของที่ดินนั้น ผู้ซื้อจึงยังไม่มีอำนาจที่จะฟ้องให้เขาคืนทรัพย์หรือ ห้ามมิให้เขาเกี่ยวข้องกับทรัพย์รายพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ที่ไม่มีอำนาจ ไม่ต้องติดอายุความตามมาตรา 240
การเพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 นั้น เป็นเรื่องเพิกถอนการโอนตามสิทธิที่มีอยู่ แต่ทำให้เจ้าหนี้ที่เสียเปรียบ ถ้าเป็นการโอนทรัพย์ที่ผู้โอนไม่ใช่เจ้าของเป็นการโอนโดยปราศจากอำนาจการเพิกถอนไม่จำต้องทำการใน1 ปี ตาม มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลายและการทำลายการโอน อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และความสามารถในการฟ้องคดีของสตรี
ทรัพย์ที่ผู้ล้มละลายโอนไปยังผู้อื่นแล้ว ก่อนล้มละลายนั้นว่าโดยปรกติย่อมยึดไม่ได้ เว้นแต่จะมีการทำลายการโอนนั้นเสียก่อน อำนาจที่จะขอทำลายการโอนนั้นเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่ของโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ ฉะนั้นเมื่อมีผู้ร้อง ร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายบางสิ่ง โดยอ้างว่าได้รับโอนมาจากผู้ล้มละลายโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นสมควร จึงสั่งให้ถอนการยึด ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ย่อมไม่มีผล
หญิงมีสามีย่อมเป็นผู้ไร้ความสามารถแต่เฉพาะในกรณีที่จะผูกพันสินบริคณห์เท่านั้น ส่วนในแง่ผูกพันสินส่วนตัว หาได้เป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถไม่ จึงจะถือว่าหญิงมีสามีเป็ผู้ไร้ความสามารถ จะฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 56 ยังมิได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีต้องตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1469 หรือมาตราอื่น ๆ ที่ห้ามไว้ โดยเฉพาะถ้าหากมีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลายและการทำลายการโอน รวมถึงความสามารถในการฟ้องคดีของสตรี
ทรัพย์ที่ผู้ล้มละลายโอนไปยังผู้อื่นแล้ว ก่อนล้มละลายนั้นว่าโดยปกติย่อมยึดไม่ได้ เว้นแต่จะมีการทำลายการโอนนั้นเสียก่อน อำนาจที่จะขอทำลายการโอนนั้นเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่ของโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ ฉะนั้นเมื่อมีผู้ร้อง ร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายบางสิ่ง โดยอ้างว่าได้รับโอนมาจากผู้ล้มละลายโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นสมควร จึงสั่งให้ถอนการยึด ดังนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ย่อมไม่มีผล
หญิงมีสามีย่อมเป็นผู้ไร้ความสามารถแต่เฉพาะในกรณีที่จะผูกพันสินบริคณห์เท่านั้น ส่วนในแง่ผูกพันสินส่วนตัวหาได้เป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถไม่ จึงจะถือว่าหญิงมีสามีเป็นผู้ไร้ความสามารถ จะฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ยังมิได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 หรือมาตราอื่นๆ ที่ห้ามไว้โดยเฉพาะถ้าหากมีเท่านั้น
of 10