พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่เมื่อฟ้องแบ่งมรดกจากจำเลยผู้จัดการมรดก โดยอ้างการโอนที่ดินมรดกคนละแปลงให้บุคคลอื่น
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.โอนที่ดินมรดกส่วนหนึ่งของ ต. ให้แก่ จ. โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาท ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. โอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทและขอให้แบ่งมรดกของ ต. แต่มูลคดีฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินส.ค.1 ก่อนเสียชีวิต: ที่ดินไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า บ.ได้ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส.ค.1 ให้แก่บุตรทั้งห้าคนของตนโดยได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทดังกล่าวให้บุตรทั้งห้าครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ปี 2500 จนกระทั่ง บ.ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2525 ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของ บ.อีกต่อไปดังนั้นเมื่อ บ.ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ บ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ บ.และให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ.เพื่อโจทก์จะได้นำที่ดินพิพาทไปแบ่งปันให้แก่ทายาทของ บ.ต่อไป และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนที่ดินขัดต่อข้อห้ามโอนและผลกระทบต่อการออกโฉนด
ขณะที่ ก.บิดาของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโอนที่ดินตามฟ้องให้แก่ ก.นั้น ที่ดินตามฟ้องยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนซึ่งมีกำหนด 10 ปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญา แม้ศาลจะพิพากษาตามยอม คำพิพากษานั้นก็หาผูกพันคู่ความไม่
ที่ดินตามฟ้องเป็นของ ก.บิดาโจทก์ เมื่อ ก.ถึงแก่กรรม ที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาทอื่นของ ก. การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมิได้รับความยินยอมจาก ก.และโจทก์ ตลอดทั้งทายาทอื่นของ ก.จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ และแม้โจทก์มิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาด้วย แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกโฉนดที่ดินโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องเกี่ยวพันไปถึงเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ที่ดินตามฟ้องเป็นของ ก.บิดาโจทก์ เมื่อ ก.ถึงแก่กรรม ที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาทอื่นของ ก. การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมิได้รับความยินยอมจาก ก.และโจทก์ ตลอดทั้งทายาทอื่นของ ก.จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ และแม้โจทก์มิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาด้วย แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกโฉนดที่ดินโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องเกี่ยวพันไปถึงเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของทายาท จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทเพียงอย่างเดียว แต่มีคำขอให้โอนที่ดินพิพาทและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้ใช้เงิน 520,000 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทจาก ส.มาโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ยังไม่โอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทต่อไป ที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทก็ต้องกลับมาเป็นของ ส.ซึ่งเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส.ก็ย่อมสามารถโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้โอนต่อไปยังจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอันไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้เสียแล้ว การโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมใช้เงิน520,000 บาท แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทระหว่าง ส.และจำเลยที่ 2 เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนจึงเป็นการไม่ชอบ
หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส.จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และไม่มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน และเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส.จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และไม่มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน และเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนนิติกรรม และความรับผิดของทายาท
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทเพียงอย่างเดียว แต่มีคำขอให้โอนที่ดินพิพาทและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้ใช้เงิน 520,001 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทจาก ส. มาโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2ยังไม่โอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทต่อไปที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทก็ต้องกลับมาเป็นของ ส.ซึ่งเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส. ก็ย่อมสามารถโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2ได้โอนต่อไปยังจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอันไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้เสียแล้วการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมใช้เงิน 520,000 บาท แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทระหว่าง ส. และจำเลยที่ 2 เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนจึงเป็นการไม่ชอบ หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส. จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และไม่มีคำส่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกันและเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางสัญญาและผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ดิน
ป.กับบิดามารดาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดิน ซึ่งมีข้อความว่า บิดามารดาจำเลยยินยอมให้ทำทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5621 เพื่อให้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 4587 โดยได้รับค่าตอบแทนและตกลงจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะยังมิได้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอม แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5621 มาโดยทางมรดก จำเลยก็ต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600แม้โจทก์มิใช่คู่สัญญาตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินเอกสารหมาย จ.4 และกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ป. เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นผู้รับโอนที่ดินมาโดยทางนิติกรรม มิใช่รับโอนมาโดยผลของกฎหมายในฐานะทายาทหรือทางมรดกตามป.พ.พ.มาตรา 1599, 1600 ก็ตาม แต่การที่จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่5621 โดยมีโจทก์ใช้ทางพิพาทอยู่ จำเลยย่อมจะทราบดีว่าบิดามารดาจำเลยมีข้อตกลงหรือสัญญายอมให้บุคคลอื่นผ่านทางพิพาทได้ตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินดังกล่าว ย่อมถือเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไป แต่โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของ ป.เจ้าของที่ดินเดิม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน-เจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ.บรรพ 4 จึงไม่เป็นภาระจำยอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขาย, การชำระราคาด้วยเช็ค, การโอนที่ดินให้ผู้อื่นเป็นการผิดสัญญา
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแทน ส. มารดาโจทก์ โจทก์มิใช่คู่สัญญาที่แท้จริงจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยที่ 1 มิได้ให้การไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ฎีกาของจำเลยที่ 1จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่รับรองให้ฎีกาได้นั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงจะวินิจฉัยได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 สามีจำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วย แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาโดยร่วมกันทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่นไป สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันโดยฝ่ายโจทก์ผู้ซื้อออกเช็คชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสามีจำเลย 1 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่มีผลผูกพันกันได้ เช็คดังกล่าวลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันที่28 กรกฎาคม 2532 แต่จำเลยที่ 1 กลับไปทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2532ดังนี้ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำ 200,000 บาท และจ่ายเงินค่าปรับ 10 เท่าของราคาซื้อขายที่ดินคิดเป็นเงิน 10,750,000 บาท รวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์ 10,950,000 บาท และในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 10,950,000 บาทให้แก่โจทก์ เมื่อเงินมัดจำ 50,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่ามัดจำ200,000 บาท ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องว่ามอบให้จำเลยที่ 1 ไป และมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระคืนรวมอยู่ด้วยในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 คืนมัดจำให้แก่โจทก์ด้วย จึงไม่เป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน กรณีฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์เพื่อดำเนินคดีแทน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินเนื้อที่ 44 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ในปี 2529 โจทก์ให้ ศ.เช่าปลูกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่นอนฟองน้ำจำนวน 5 ไร่ ค่าเช่าไร่ละ 1,000 บาทต่อปี มีกำหนดการเช่า 30 ปี เช่าได้ 3 ถึง 4 ปี เกิดไฟไหม้โรงงานหมดสิ้นจึงมีกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยจัดการแทน แต่จำเลยอ้างว่าต้องให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงจะดำเนินการได้และโจทก์ไม่ต้องเสี่ยง โจทก์จึงให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตกลงกันว่าหากคดีเสร็จแล้วจำเลยจะคืนที่ดินให้โจทก์ ส่วนผลประโยชน์ค่าเช่าหรือรายได้อื่นของที่ดินระหว่างที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ จำเลยจะยกให้โจทก์ทั้งหมด ต่อมาโจทก์ทราบว่าคดีเสร็จแล้ว จำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าใหม่ในปี 2534 โดยจำเลยได้รับเงินกินเปล่า 400,000 บาท และค่าเช่าเป็นรายปี ปีละประมาณ 15,000บาท ถึง 18,000 บาท อีกด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อฉลใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าโจทก์จะถูกฟ้องร้องแบ่งที่ดิน ต้องให้จำเลยจัดการและต้องให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงจะจัดการได้ จนโจทก์หลงเชื่อยอมจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งหมด ขอให้พิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินดังกล่าวโดยให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ดังเดิม คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับแล้ว ส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า ตั้งแต่จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น จำเลยไม่เคยแบ่งค่าเช่าหรือผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวให้โจทก์หรือมอบให้โจทก์ใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรในการดำรงชีวิต จำเลยไม่เอาใจใส่เลี้ยงดูโจทก์ ทั้งพูดจากระทบกระเทียบบีบบังคับจนโจทก์ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทและโจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันต่อไปได้โจทก์ต้องไปอาศัยผู้อื่นอยู่ เป็นการประพฤติเนรคุณนั้น เป็นเพียงการบรรยายประกอบให้เห็นพฤติการณ์อันไม่สมควรที่จำเลยได้กระทำต่อโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน ระหว่างที่จำเลยดำเนินการแทนโจทก์ในกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าที่ดินพิพาทเท่านั้นมิใช่เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยโจทก์ประสงค์จะให้มีการบังคับแก่จำเลยเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากในขณะเดียวกันไม่คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นคำฟ้องที่ตั้งประเด็นเป็น 2 นัย ซึ่งขัดแย้งกันแต่อย่างใดฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ดังนี้ ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทน มิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อน อันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ดังนี้ ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทน มิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อน อันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยเสน่หา มิใช่เพื่อจัดการคดีเช่า ศาลยกฟ้องเพิกถอนการโอน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าเดิมโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินเนื้อที่44ไร่3งาน28ตารางวาในปี2529โจทก์ให้ศ.เช่าปลูกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่นอนฟ้องน้ำจำนวน5ไร่ค่าเช่าไร่ละ1,000บาทต่อปีมีกำหนดการเช่า30ปีเช่าได้3ถึง4ปีเกิดไฟไหม้โรงงานหมดสิ้นจึงมีกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยจัดการแทนแต่จำเลยอ้างว่าต้องให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงจะดำเนินการได้และโจทก์ไม่ต้องเสี่ยงโจทก์จึงให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตกลงกันว่าหากคดีเสร็จแล้วจำเลยจะคืนที่ดินให้โจทก์ส่วนผลประโยชน์ค่าเช่าหรือรายได้อื่นของที่ดินระหว่างที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่จำเลยจะยกให้โจทก์ทั้งหมดต่อมาโจทก์ทราบว่าคดีเสร็จแล้วจำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าใหม่ในปี2534โดยจำเลยได้รับเงินกินเปล่า400,000บาทและค่าเช่าเป็นรายปีปีละประมาณ15,000บาทถึง18,000บาทอีกด้วยการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อฉลใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าโจทก์จะถูกฟ้องร้องแบ่งที่ดินต้องให้จำเลยจัดการและต้องให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงจะจัดการได้จนโจทก์หลงเชื่อยอมจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งหมดขอให้พิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินดังกล่าวโดยให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ดังเดิมคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับแล้วส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าตั้งแต่จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจำเลยไม่เคยแบ่งค่าเช่าหรือผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวให้โจทก์หรือมอบให้โจทก์ใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรในการดำรงชีวิตจำเลยไม่เอาใจใส่เลี้ยงดูโจทก์ทั้งพูดจากระทบกระเทียบบีบบังคับจนโจทก์ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทและโจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันต่อไปได้โจทก์ต้องไปอาศัยผู้อื่นอยู่เป็นการประพฤติเนรคุณนั้นเป็นเพียงการบรรยายประกอบให้เห็นพฤติการณ์อันไม่สมควรที่จำเลยได้กระทำต่อโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทนระหว่างที่จำเลยดำเนินการแทนโจทก์ในกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าที่ดินพิพาทเท่านั้นมิใช่เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยโจทก์ประสงค์จะให้มีการบังคับแก่จำเลยเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากในขณะเดียวกันไม่คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นคำฟ้องที่ตั้งประเด็นเป็น2นัยซึ่งขัดแย้งกันแต่อย่างใดฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุมแต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมดังนี้ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทนมิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตามแต่ปรากฎว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้วจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อนอันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3 ก. และการจดทะเบียนโอนที่ดินหลังยึดทรัพย์ – สิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด
แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) อ้างว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สูญหาย เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ประกาศการขอรับใบแทนแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน และต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนให้แก่ผู้ขอแล้วก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้สูญหายแต่อย่างใด กรณีต้องถือว่าการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าว ตาม ป.ที่ดินมาตรา 61
พฤติการณ์ของโจทก์ตั้งแต่โจทก์ทราบว่า ส.ทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ก็ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนี-ประนอมยอมความและอายัดที่ดิน แต่เมื่อ ส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ ต่อมา ส.ผิดนัด โจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมา แม้ขณะที่โจทก์นำยึดที่ดินพิพาท หากจำเลยเห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส.แล้ว จำเลยชอบที่จะร้องขัดทรัพย์ แต่จำเลยก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด กรณีฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อน และจำเลยซึ่งจดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับจำเลยได้
พฤติการณ์ของโจทก์ตั้งแต่โจทก์ทราบว่า ส.ทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ก็ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนี-ประนอมยอมความและอายัดที่ดิน แต่เมื่อ ส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ ต่อมา ส.ผิดนัด โจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมา แม้ขณะที่โจทก์นำยึดที่ดินพิพาท หากจำเลยเห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส.แล้ว จำเลยชอบที่จะร้องขัดทรัพย์ แต่จำเลยก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด กรณีฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อน และจำเลยซึ่งจดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับจำเลยได้