คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมาก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องตกเป็นของผู้รับโอนก่อนถูกอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรากรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306แล้วสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการยินยอมของลูกหนี้ การที่คู่สัญญาไม่ได้บอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมโดยตรง ย่อมใช้ยันต่อกันไม่ได้
คู่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างคือจำเลยที่3กับห้างหุ้นส่วนจำกัดช.เมื่อโจทก์อ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดช.ได้ทำหนังสือโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้โจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนหนี้ไปยังจำเลยที่3โดยทำเป็นหนังสือหรือจำเลยที่3ได้ยินยอมในการโอนเป็นหนังสือการที่ป. และจำเลยที่2ลงชื่อในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่3ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่3ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้เอกสารที่โจทก์อ้างจึงใช้ยันแก่จำเลยที่3ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อขายต้องแปลงหนี้ใหม่ ผู้รับโอนสิทธิไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้จะขายโดยตรง จึงไม่อาจฟ้องบังคับได้
สัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3เป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้จะซื้อเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ผู้จะซื้อจะโอนสิทธิของตนตามบทบัญญัติของการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ ต้องทำเป็นแปลงหนี้ใหม่ มีผู้จะขายเข้ามาเป็นคู่สัญญากับผู้รับโอนด้วย ผู้รับโอนจึงจะมีสิทธิฟ้องบังคับผู้จะขายได้ เมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่ 1ก็ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ผู้จะขายได้เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อโจทก์ผู้รับโอนไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้จะขายได้และจำเลยที่ 1 ก็มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่จะขอจดทะเบียนโอนที่ดินได้ จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6816/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: หนังสือแสดงเจตนาโอนเพียงฝ่ายเดียวถือเป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติเพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ หาได้บัญญัติว่าการโอนนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนไม่ ฉะนั้นการโอนสิทธิเรียกร้องทีไ่ด้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนแต่ฝ่ายเดียวก็เป็นการสมบูรณ์ โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายห้องชุดพิพาทจากจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอซื้อห้องชุดพิพาทจากโจทก์ โจทก์ตกลงจะขายให้และมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 1 จะซื้อห้องชุดพิพาทต่อจากโจทก์ ขอให้จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อการกู้เงินจากธนาคาร ดังนี้ หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้แสดงเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อขายห้องชุดพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำเป็นหนังสือเป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ผู้โอนจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้เดิม การใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา
อ. ทำสัญญาโอนสิทธิในการรับเงินค่าจ้างที่จะได้รับจากจำเลยตามสัญญาจ้างให้โจทก์ โดย อ. มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยและจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์ให้ความยินยอม การโอนหนี้ดังกล่าวจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306วรรคหนึ่ง และคู่กรณีย่อมเกิดสิทธิและหน้าที่ผูกพันกัน โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องเรียก อ. ผู้โอนเข้าเป็นคู่ความร่วม และกรณีเช่นนี้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างที่มีต่อ อ.ผู้โอนขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างของ อ. ผู้โอนขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เช่นเดียวกัน โจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน อ. ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างที่ อ. มีต่อจำเลยขึ้นต่อสู้จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 คณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยและได้ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานตามสัญญาจ้าง อ. หยุดงานก็เพราะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยสั่ง และเหตุที่สั่งก็เพราะราษฎรเริ่มทำนา ฝนตกเกิดอุทกภัยให้ระงับการก่อสร้างไว้จนกว่าชาวนาจะเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ และต่อมาได้แจ้งให้ อ. เข้าดำเนินการก่อสร้างต่อไปแล้ว ดังนั้นการหยุดงานดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดของ อ. ทั้งจำเลยเองก็ได้เสนอความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาให้แก่ อ. และขออนุมัติต่อสัญญาไปยังปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่า อ. เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ ปัญหาว่าคณะกรรมการตรวจการจ้างมีคำสั่งไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการก็ดี เมื่อสั่งให้หยุดงานแล้วไม่รายงานให้จำเลยทราบก็ดี เป็นเรื่องระหว่างคณะกรรมการตรวจการจ้างกับจำเลย จะยกขึ้นยัน อ. เจ้าหนี้หรือโจทก์ผู้รับโอนหนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ และผลของการโอนสิทธิไปยังผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส.ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส.ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่าส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว
ส.เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเมื่อ ส.กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส.มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์
แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส.ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 305 สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหา-ริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้จำนองลำดับที่หนึ่ง ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันโดย ส.ให้ผู้คัดค้านรับจำนองแทนส. ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยย่อมกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับสัญญาใดซึ่งผู้คัดค้านทำไว้แทนตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 ดังนั้นเมื่อ ส. ให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้องย่อมถือได้ว่า ส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้องเช่นกัน การที่ส. ซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่ต้องทำหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798วรรคแรก และเมื่อผู้ร้องได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก แม้ศาลจะมีคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านก็ตาม แต่ผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง เมื่อการโอนชอบด้วยกฎหมายผลของการโอนย่อมเป็นไปตามมาตรา 305 ดังนั้น สิทธิจำนองลำดับหนึ่งที่มีต่อจำเลยที่ 1 ย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนด้วย กรณีนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นผู้รับโอนได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยนิติกรรมอันอยู่ในบังคับต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 เมื่อผู้ร้องรับโอนหนี้จากผู้รับจำนองอันดับหนึ่งจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างและการอายัดเงินของเจ้าหนี้ภาษีอากร
โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างจากบริษัทอ.ที่บริษัทอ.มีต่อกรมชลประทานโดยความยินยอมของกรมชลประทานโดยชอบแล้ว บริษัทอ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อกรมชลประทานอีกต่อไป กรมสรรพากร จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทอ.ย่อมจะขออายัดเงินที่กรมชลประทานจะต้องชำระให้แก่โจทก์ไม่ได้ แม้อายัดไปคำสั่งอายัดก็ย่อมไม่มีผลบังคับต่อกรมชลประทาน การที่คลังจังหวัดพะเยาโดยความยินยอมของกรมชลประทานได้ส่งเงินค่าจ้างซึ่งกรมชลประทานจะต้องชำระแก่โจทก์ไปให้จำเลยที่ 1ตามที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งอายัดไว้ ก็เป็นกรณีที่กรมชลประทานจะต้องรับผิดต่อการกระทำของตนเองกรณีดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกรมชลประทานตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทอ.เสื่อมเสียไปไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการชำระค่าอ้างล่าช้า และการอายัดชั่วคราวในคดีไม่มีทุนทรัพย์
นอกจากหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องจะมีข้อความแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ยังมีข้อความเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องร่วมกันลงชื่อในหนังสือดังกล่าว จึงฟังได้ว่าวันที่มีการบอกกล่าวการโอนนั้น จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องก่อน แล้วจึงบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้โดยทำเป็นหนังสือไว้ในเอกสารฉบับเดียวกัน การโอนสิทธิเรียกร้อง และการบอกกล่าวการโอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปรากฏว่าในวันต่อมาจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ก็ไม่เป็นเหตุให้การบอกกล่าวการโอนนั้นเสียไป
กฎหมายเพียงแต่กำหนดให้ผู้อ้างเอกสารมีหน้าที่ชำระค่าอ้างตั้งแต่เมื่อส่งเอกสารเป็นต้นไป มิใช่ว่าหากไม่ชำระทันทีแล้วจะรับฟังเอกสารนั้น ๆ ไม่ได้ การที่ผู้ร้องเพิ่งชำระค่าอ้างขณะยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุว่ามีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งศาล แต่พฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นเพราะหลงลืมมาทราบภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดี การชำระค่าอ้างดังกล่าวนับว่าผู้ร้องได้จัดการแก้ไขข้อหลงลืมแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องถึงกับเสียไป
คดีขอให้ถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาว่าจะอายัดได้หรือไม่ก็เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการชำระค่าอ้างที่ล่าช้า
นอกจากหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องจะมีข้อความแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ยังมีข้อความเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องร่วมกันลงชื่อในหนังสือดังกล่าว จึงฟังได้ว่าวันที่มีการบอกกล่าวการโอนนั้น จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องก่อน แล้วจึงบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้โดยทำเป็นหนังสือไว้ในเอกสารฉบับเดียวกัน การโอนสิทธิเรียกร้อง และการบอกกล่าวการโอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปรากฏว่าในวันต่อมาจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวขึ้นอีกฉบับหนึ่งก็ไม่เป็นเหตุให้การบอกกล่าวการโอนนั้นเสียไป กฎหมายเพียงแต่กำหนดให้ผู้อ้างเอกสารมีหน้าที่ชำระค่าอ้างตั้งแต่เมื่อส่งเอกสารเป็นต้นไป มิใช่ว่าหากไม่ชำระทันทีแล้วจะรับฟังเอกสารนั้น ๆ ไม่ได้ การที่ผู้ร้องเพิ่งชำระค่าอ้างขณะยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุว่ามีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งศาล แต่พฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นเพราะหลงลืมมาทราบภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีการชำระค่าอ้างดังกล่าวนับว่าผู้ร้องได้จัดการแก้ไขข้อหลงลืมแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องถึงกับเสียไป คดีขอให้ถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาว่าจะอายัดได้หรือไม่ก็เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
of 21