คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732-3733/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและอำนาจฟ้องกรรมการบริษัทให้แก้ชื่อผู้ถือหุ้น
โจทก์รับโอนหุ้นบริษัทมาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทให้แก้ชื่อผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นจากผู้ถือหุ้น เดิมเป็นชื่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732-3733/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถือหุ้นเดิมมีอำนาจฟ้องบังคับให้แก้ชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้น
โจทก์รับโอนหุ้นบริษัทมาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทให้แก้ชื่อผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเป็นชื่อโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่ยังมิได้จดแจ้งผลกระทบต่อหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย ผู้โอนยังคงเป็นหนี้อยู่
ผู้ร้องมีหนังสือปฏิเสธหนี้ค่าหุ้นซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าผู้ร้องยังค้างชำระต่อบริษัทลูกหนี้(จำเลย) โดยส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือโอนหุ้นเป็นพยานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว แม้ในชั้นสอบสวนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ออกหมายนัดให้ผู้ร้องไปให้การเพื่อสอบสวนโดยระบุว่า ถ้า ไม่ไป ถือว่าไม่ติดใจให้สอบสวนก็ตามผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยกข้ออ้างเกี่ยวกับการที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้มีชื่อ ขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลและนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนไว้ ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อ ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) การโอนหุ้นจึงต้องจดแจ้งการโอนทั้งชื่อ และสำนักงานผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรค 3มิฉะนั้นจะอ้างเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ที่ค้างชำระหุ้นมิได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ยังค้างชำระต่อบริษัทลูกหนี้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยกเอาการโอนหุ้นซึ่งยังมิได้จดแจ้งการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับหุ้น กรณีไม่แจ้งการโอนหุ้น
แม้ผู้ร้องไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามกำหนดนัดเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาล ตามมาตรา 119 วรรคสาม ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) หรือไม่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อต่อสู้ในชั้นศาล และนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำสืบพยานหลักฐานเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนแต่อย่างใด
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อระหว่างผู้ร้องกับ น. และ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของ มาตรา 1129วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 22(2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือซึ่งบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นผ่านตัวแทน: สัญญา, อายุความ, และการโอนหุ้นพิเศษ
จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นนายหน้าและตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นเป็นกรณีพิเศษ มิใช่การซื้อขายหุ้นตามปกติจึงไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ทำการซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลยจากสมาชิกผู้ขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่มีชื่อผู้รับโอน เป็นการโอนลอยแล้ว เมื่อบริษัทเจ้าของหุ้นประกาศปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น โจทก์จดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น ก็เพื่อสิทธิในการขอรับเงินปันผล มิฉะนั้น บริษัทเจ้าของหุ้นจะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม และโจทก์จะใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นก็ไม่ได้ เพราะจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าหุ้นที่โจทก์ออกทดรองไป การกระทำของโจทก์เป็นการรักษาผลประโยชน์ของจำเลย มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ กระทำได้เฉพาะสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น จำเลยซึ่งมิได้เป็นสมาชิกจะลงชื่อเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายในสัญญาดังกล่าวไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นตัวแทน ฟ้องเรียกเงินทดรองจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 กฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้สิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากผู้รับโอนรู้เห็นและไม่โต้แย้ง ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเมื่อเวลาผ่านไป
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัดแม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้นจึงถือได้ว่าผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองเมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า5ปีหากการโอนหุ้นเป็นโมฆะผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้วจึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์: สิทธิและหน้าที่ของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์, การโอนหุ้น, สภาพของสังกมะทรัพย์
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มิใช่เป็นการซื้อขายหุ้นตามปกติแต่เป็นการซื้อขายในกรณีพิเศษซึ่งมีวัตถุประสงค์ทำการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าประสงค์ที่จะให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อผู้ซื้อเป็นเจ้าของที่แท้จริงจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบที่กำหนดไว้ในป.พ.พ.มาตรา1129วรรคสอง โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ให้จำเลยได้ซื้อหุ้นบริษัทร. และหุ้นธนาคารก. ให้ตามคำสั่งของจำเลยแล้วกลับนำหุ้นที่ซื้อตอนหลังในราคาที่ต่ำกว่ามาโอนให้จำเลยแต่ใบหุ้นที่โอนให้นั้นก็เป็นหุ้นบริษัทร. และหุ้นธนาคารก.ในจำนวนเท่ากันกับที่จำเลยสั่งซื้อใบหุ้นดังกล่าวกับใบหุ้นที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยคงแตกต่างกันเฉพาะราคาซื้อขายเท่านั้นซึ่งในตลาดหลักทรัพย์ราคาหุ้นย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือว่าหุ้นบริษัทเดียวกันจำนวนเท่ากันมีมูลค่าให้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างเดียวกันตามปกติและเป็นทรัพย์ที่มีสภาพเช่นเดียวกับสังกมะทรัพย์ตามป.พ.พ.มาตรา102ด้วยใบหุ้นที่โจทก์จะโอนให้จำเลยหาจำเป็นจะต้องเป็นใบหุ้นฉบับเดียวกับที่ซื้อไว้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้น, การหักกลบลบหนี้ และข้อจำกัดในการหักหนี้ค่าหุ้นตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 บัญญัติยกเว้นเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341, 342 เท่านั้นว่า หนี้ซึ่งหักกลบลบกันไม่ได้ตาม มาตรา 341, 342 นั้นย่อม หักกลบลบกันได้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่รวมถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้กับบริษัท ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) จึงจะขอหักหนี้ค่าพิมพ์หนังสือที่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) เป็นหนี้อยู่กับหนี้ค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้น การหักกลบลบหนี้ และข้อจำกัดการหักหนี้กับบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้น
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 บัญญัติยกเว้นเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341,342 เท่านั้นว่า หนี้ซึ่งหักกลบลบกันไม่ได้ตาม มาตรา 341,342 นั้นย่อม หักกลบลบกันได้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่รวมถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้ กับบริษัท ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) จึงจะขอหักหนี้ค่าพิมพ์หนังสือที่บริษัทลูกหนี้(จำเลย) เป็นหนี้อยู่กับหนี้ค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ต้องทำตามแบบโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากทำตามระเบียบตลาดหลักทรัพย์
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น มิใช่การ ซื้อขายหุ้นตามปกติธรรมดา แต่เป็นการซื้อขายหุ้นซึ่งกระทำตามระเบียบวิธีปฏิบัติของการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ฯ เป็นกรณีพิเศษต่างหาก จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129
of 12