พบผลลัพธ์ทั้งหมด 358 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของบริษัทขนส่งที่เอื้อประโยชน์ให้ลูกค้าไม่มีใบอนุญาตดำเนินการขนส่ง และลูกจ้างประมาท
จำเลยที่2เป็น บริษัทในเครือบริษัท ค. และตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการจดทะเบียนประกอบกิจการขนส่งให้แก่ลูกค้าที่ซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท ค. ในกรณีลูกค้าอยู่ต่างจังหวัดไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งก็สามารถใช้ชื่อของห้างจำเลยที่2ประกอบกิจการขนส่งจำเลยที่1เป็นลูกค้าที่ซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท ค. และประกอบกิจการขนส่งในนามของห้างจำเลยที่2พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่2ได้รับประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่1เมื่อลูกจ้างจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกไปใน ทางการที่จ้างโดย ประมาท กรณีถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ด้วยจำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในผลแห่ง ละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี กระบวนการพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนและเริ่มใหม่
การที่ทนายจำเลยซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ.2528มาตรา44(3)ทำการเป็นทนายความโดยเรียงคำให้การยื่นต่อศาลและดำเนินกระบวนพิจารณาว่าความอย่างทนายความในศาลชั้นต้นนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา33การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณามาจนกระทั่งพิพากษาคดีแต่ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความและจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความของตนเข้ามาในคดีให้ถูกต้องกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายและยื่นคำให้การเข้ามาใหม่แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ต่อไปตามวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยพนักงานรัฐวิสาหกิจ กรณีผ่านเข้าออกโรงงานโดยไม่มีใบอนุญาต ศาลฎีกาตัดสินถูกต้องตามระเบียบ
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นพิพาทข้อ 2 ว่า มีเหตุที่จะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 3 และที่ 9 ตามฟ้องโจทก์หรือไม่ มีข้อต้องวินิจฉัยตามข้ออ้างข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การประการหนึ่งว่า โจทก์ทั้งสองยังเป็นกรรมการสหภาพแรงงานยาสูบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆในสำนวนแล้วฟังว่า โจทก์ทั้งสองยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสหภาพแรงงานยาสูบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ลงโทษโจทก์ทั้งสองไม่ชอบ เป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่พิพาทกันได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรงมิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์ทั้งสองมิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน จึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริการสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนในผ่านได้การที่โจทก์ทั้งสองผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบที่ ท.140/2517 ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ เป็นความผิดวินัย คำสั่งของจำเลยที่ 7 และที่ 8 ที่ลงโทษโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทั้งสองทำทัณฑ์บนเป็นเวลา6 เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ทั้งสองงดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา1 ปี มิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ ตามบัญชีกำหนดอำนาจการลงโทษท้ายระเบียบว่าด้วยวินัยการร้องทุกข์และการเลิกจ้าง พ.ศ. 2515ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกจำกัดให้ใช้บังคับเฉพาะปีงบประมาณเดียวตามข้ออ้างของโจทก์ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ทำงานล่วงเวลาและไม่ต้องคืนค่าจ้างสำหรับวันที่โจทก์ทั้งสองถูกลงโทษพักงานด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7226/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอใบอนุญาตมัคคุเทศก์และการมีอำนาจฟ้องร้อง เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
โจทก์ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กรุงเทพมหานครจึงไม่อาจออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้แก่โจทก์ได้
เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2536) โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่ผลจากการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่เร่งรัดออกกฎกระทวงแต่เป็นผลจากการที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎกระทรวง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2536) โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่ผลจากการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่เร่งรัดออกกฎกระทวงแต่เป็นผลจากการที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎกระทรวง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการเทป/วัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดเกี่ยวกับตราหมายเลขรหัส
จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนดังบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา6, 34 เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการที่จำเลยละเว้นไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ม้วนวีดีโอเทปหรือวัสดุโทรทัศน์จึงมิใช่เป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่มีเหตุที่จะริบของกลาง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530 มาตรา 10, 36 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 6 ที่มีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยมิใช่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 6 แม้จำเลยจะมีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดไว้ในกฎกระทรวงจำเลยก็ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530 มาตรา 10, 36 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 6 ที่มีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยมิใช่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 6 แม้จำเลยจะมีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดไว้ในกฎกระทรวงจำเลยก็ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยกฟ้องฐานตั้งโรงงาน! กฎหมายใหม่ยกเลิกข้อกำหนดใบอนุญาต
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ยกเลิก พ.ร.บ.โรงงานฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการโรงงานเช่นจำเลยจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และไม่มีบทกำหนดโทษเช่น พ.ร.บ.โรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 185, 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดนั้นแยกออกจากกันได้เป็น 3 กรณี กล่าวคือ จำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22, 65 วรรคหนึ่ง กระทงหนึ่งจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง, 67 กระทงหนึ่งและจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง,65 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทง ทั้งคำฟ้องของโจทก์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดว่า ความผิดทั้ง 3 กระทง ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1 (ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา - ตราด แขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1 (ข) และ (ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร ตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม 22 วันและเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท. 9009/5082แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16 สิงหาคม 2534ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไร เชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น เชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1 (ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา - ตราด แขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1 (ข) และ (ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร ตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม 22 วันและเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท. 9009/5082แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16 สิงหาคม 2534ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไร เชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น เชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัด: สั่งบังคับเจ้าพนักงานท้องถิ่นลงนามในใบอนุญาตไม่ได้
พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นลงนามในใบอนุญาต เพราะการลงนามในใบอนุญาตหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของจำเลยโดยเฉพาะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้