พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับฟ้องไม่ถือเป็นคำพิพากษา ฟ้องซ้ำต้องห้ามเฉพาะคำพิพากษาถึงที่สุด
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 3, 18 วรรค 2, 3 และ 5 จะเห็นระบบการดังนี้คือ ในชั้นตรวจคำฟ้องหรือคำคู่ความนั้น ศาลอาจจะกระทำได้เพียง 3 ประการ คือ สั่งรับ สั่งไม่รับ และสั่งคืนไป เท่านั้น เมื่อสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็จะพิพากษายกฟ้องไม่ได้
คำว่า "ให้ยกเสีย" ในมาตรา 172 กับคำว่า "มีคำสั่งไม่รับ" ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกัน เพราะคำว่า "ให้ยกเสีย" ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษารายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนี้ได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเหมือนให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ่เลย เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำว่า "ให้ยกเสีย" ในมาตรา 172 กับคำว่า "มีคำสั่งไม่รับ" ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกัน เพราะคำว่า "ให้ยกเสีย" ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษารายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนี้ได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเหมือนให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ่เลย เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ฟ้องซ้ำไม่มี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรค 318 วรรค 2,3 และ 5 จะเห็นระบบการดังนี้ คือ ในชั้นตรวจคำฟ้องหรือคำคู่ความนั้นศาลอาจกระทำได้เพียง 3 ประการ คือ สั่งรับ สั่งไม่รับ และสั่งคืนไปเท่านั้นเมื่อสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็จะพิพากษายกฟ้องไม่ได้
คำว่า'ให้ยกเสีย' ในมาตรา 172 กับคำว่า'มีคำสั่งไม่รับ' ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกันเพราะคำว่า 'ให้ยกเสีย' ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนั้นได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเสมือนว่าให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ตามมาตรา 131 เลยเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำว่า'ให้ยกเสีย' ในมาตรา 172 กับคำว่า'มีคำสั่งไม่รับ' ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกันเพราะคำว่า 'ให้ยกเสีย' ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนั้นได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเสมือนว่าให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ตามมาตรา 131 เลยเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ภาษีเกินกำหนด: ศาลไม่รับฟ้อง แม้มีคำวินิจฉัยเนื้อหา
เมื่อปรากฏว่า โจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเกินกำหนด 15 วันแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งยกอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนดแล้วแม้สั่งวินิจฉัยเนื้อหาที่อุทธรณ์มาด้วยก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลรื้อการประเมินขึ้นโต้แย้งต่อไปได้
การอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา24 วรรค 3 มาตรา 227,247 นั้น เสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.
การอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา24 วรรค 3 มาตรา 227,247 นั้น เสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอรับรองบุตรต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขฟ้องไม่รับ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรนั้นจะมีได้แต่ในกรณีที่แจ้งไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1529
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใจความว่า 'ข้าพเจ้ากับจำเลยได้เสียเป็นสามีภรรยากันเอง ฯลฯ 'ดังนี้ไม่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา1529(4)
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องใจความว่า 'ข้าพเจ้ากับจำเลยได้เสียเป็นสามีภรรยากันเอง ฯลฯ 'ดังนี้ไม่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา1529(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ศาลไม่รับฟ้องคดีเดิมเมื่อมีคำพิพากษาในคดีเดียวกันแล้ว
เจ้าทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าสมคบกันฆ่าบุตรโจทก์ตายโดยไม่เจตนาตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 251 ศาลจึงนัดไต่สวนในระหว่างนั้นอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในกรณีเดียวกันนี้ หาว่าจำเลยกับบุตรเจ้าทุกข์วิวาท กัน และบุตรเจ้าทุกข์ตาย ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 253.
จำเลยรับสารภาพตามที่อัยการฟ้อง ศาลจึงพิพากษาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดตาม ก.ม.ลักษณะ อาญามาตรา 253 คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ สำหรับคดีที่เจ้าทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องไว้ก่อนนั้น แม้จะได้ยื่นคำฟ้องไว้ก่อน แต่ศาลก็ยังมิได้ไต่สวนและประทับฟ้อง กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.อาญามาตรา 39(4) ศาลจึงต้องไม่รับฟ้องโจทก์ไว้ พิจารณาต่อไป./
(ประชุมใหญ่)
จำเลยรับสารภาพตามที่อัยการฟ้อง ศาลจึงพิพากษาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดตาม ก.ม.ลักษณะ อาญามาตรา 253 คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ สำหรับคดีที่เจ้าทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องไว้ก่อนนั้น แม้จะได้ยื่นคำฟ้องไว้ก่อน แต่ศาลก็ยังมิได้ไต่สวนและประทับฟ้อง กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.อาญามาตรา 39(4) ศาลจึงต้องไม่รับฟ้องโจทก์ไว้ พิจารณาต่อไป./
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีซ้ำซ้อน: ศาลไม่รับฟ้องคดีเดิม หากมีคดีอาญาเดียวกันถูกพิจารณาและมีคำพิพากษาแล้ว แม้ฟ้องก่อน
เจ้าทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าสมคบกันฆ่าบุตรโจทก์ตายโดยไม่เจตนาตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 251 ศาลจึงสั่งนัดไต่สวน ในระหว่างนั้นอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในกรณีเดียวกันนี้ หาว่าจำเลยกับบุตรเจ้าทุกข์วิวาทกันและ บุตรเจ้าทุกข์ตาย ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 253
จำเลยรับสารภาพตามที่อัยการฟ้อง ศาลจึงพิพากษาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 253 คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ สำหรับ คดีที่เจ้าทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องไว้ก่อนนั้น แม้จะได้ยื่นคำฟ้องไว้ก่อน แต่ศาลก็ยังมิได้ไต่สวนและประทับฟ้อง กรณีจึงต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ศาลจึงต้องไม่รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2496)
จำเลยรับสารภาพตามที่อัยการฟ้อง ศาลจึงพิพากษาในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 253 คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ สำหรับ คดีที่เจ้าทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องไว้ก่อนนั้น แม้จะได้ยื่นคำฟ้องไว้ก่อน แต่ศาลก็ยังมิได้ไต่สวนและประทับฟ้อง กรณีจึงต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ศาลจึงต้องไม่รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2496)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำฟ้องใหม่หลังมีคำสั่งไม่รับฟ้อง: ศาลยอมรับคำฟ้องเดิมเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามข้อกำหนดและเสียค่าขึ้นศาล
ฟ้องซึ่งศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งไม่รับฟ้องเพราะโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลนั้น แม้ศาลจะได้ลงสารบบหมายคดีแดงแล้วก็ดี ถ้าโจทก์ยื่นคำแถลงขึ้นมา ยอมปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลทุกประการและขอให้ศาลดำเนินคดีต่อไป เมื่อศาลชั้นต้นยอมจัดการให้และดำเนินคดีต่อไปแล้ว ก็ย่อมทำได้ไม่เป็นการลบล้างคำพิพากษาศาลฎีกาไม่จำเป็นที่จะต้องให้โจทก์ทำคำฟ้องมายื่นต่อศาลใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการฟ้องคดีหลังศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งไม่รับฟ้อง: โจทก์ปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ดำเนินคดีต่อ
ฟ้องซึ่งศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งไม่รับฟ้องเพราะโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลนั้น แม้ศาลจะได้ลงสารบบหมายคดีแดงแล้วก็ดีถ้าโจทก์ยื่นคำแถลงขึ้นมายอมปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลทุกประการและขอให้ศาลดำเนินคดีต่อไป เมื่อศาลชั้นต้นยอมจัดการให้และดำเนินคดีต่อไปแล้ว ก็ย่อมทำได้ไม่เป็นการลบล้างคำพิพากษาศาลฎีกาไม่จำเป็นที่จะต้องให้โจทก์ทำคำฟ้องมายื่นต่อศาลใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำคู่ความไม่ถูกต้องตามแบบพิมพ์ ศาลมีอำนาจสั่งไม่รับฟ้อง
เขียนคำคู่ความแซกลงระหว่างบรรทัดด้วยนั้น แม้เขียงลงในแบบพิมพ์ของศาลศาลก็สั่งไม่รับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยกฟ้อง: คำพิพากษาไม่รับคำฟ้อง
ยกฟ้อง