พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ไม่สมบูรณ์หากไม่ได้รับการอนุมัติจากกรมการศาสนา จำเลยผิดสัญญาเมื่อบอกเลิกก่อนได้รับอนุมัติ
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา ดังนี้ เมื่อพิจารณาสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแล้วจึงไม่ใช่ เป็นสัญญาเช่าโดยตรง หากแต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แต่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แล้วเสร็จตามสัญญาก็ย่อมจะ มีผลให้จำเลยต้องบังคับตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิเช่า อาคารต่าง ๆ ได้เป็นเวลา 30 ปี อันจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบ จากกรมการศาสนาก่อน ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างทราบดีดังจะเห็น ได้จากสัญญาในข้อ 5 ที่ว่าเพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ลงทุน สร้างอาคารในที่ดิน ผู้ลงทุนตกลงชำระเงินบำรุงวัดสุวรรณคีรีวงก์ จำนวน 1,200,000 บาท โดยผู้ลงทุนจะชำระในวันที่กรมการศาสนา ให้ความเห็นชอบสัญญานี้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาระหว่าง โจทก์จำเลยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา สัญญาระหว่าง โจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถ นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยได้บอกเลิก สัญญาแก่โจทก์ ไม่ยอมให้โจทก์เข้าปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ โดย ไม่รอฟังผลการเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน จำเลยจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น หามีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานการประชุมบริษัทพิสูจน์ไม่ได้ถึงการประชุมจริง อำนาจกรรมการใหม่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ฟ้องร้องเป็นโมฆะ
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1024 จะบัญญัติว่า ในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันก็ดี ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการก็ตาม แต่เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมานั้นมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าไม่มีการประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์ ตามรายงานการประชุมของบริษัท ดังนั้นการที่รายงานการประชุมของบริษัทระบุว่า ที่ประชุมลงมติให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ส.และป.ลาออกจากตำแหน่งกรรมการและแต่งตั้งกรรมการใหม่ 4 คน คือ ฮ. น. จ.และ ช. จึงไม่ถูกต้อง แม้จะมีการนำรายงานการประชุมดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ก็เป็นการไม่ชอบ หาทำให้กรรมการใหม่ทั้งสี่คนดังกล่าวเป็นกรรมการโจทก์ไม่ กรรมการใหม่ดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจบริหารงานของบริษัทโจทก์และกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ การที่ ฮ.และ จ.กรรมการใหม่ร่วมกันลงนามและประทับตราบริษัทโจทก์แต่งตั้ง ร.เป็นทนายความดำเนินการฟ้องร้องคดีนี้ จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในทรัพย์มรดก
พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ แต่ไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม อันเป็นการทำพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และเมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 กรณีไม่อาจฟังว่า ป.เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง
เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป.เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฏว่า ป.เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป.ไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป. ทั้งเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป.ได้
แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 กรณีไม่อาจฟังว่า ป.เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง
เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป.เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฏว่า ป.เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป.ไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป. ทั้งเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ - ขาดรายละเอียดสำคัญ
ตามเอกสารมีข้อความว่า ค่าเสียหายของรถยนต์บรรทุกกระบะจำเลยยินยอมชดใช้ให้ทั้งสิ้นตามสภาพความเสียหายที่เป็นจริง ไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชดใช้เงินตามความเสียหายที่เป็นจริงนั้น จำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏวันเดือนปีที่ถึงกำหนดชำระแก่กันเมื่อใด ชำระกันที่ไหนอย่างไร ข้อความตามเอกสารดังกล่าวยังไม่ชัดแจ้งพอที่จะถือว่าโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนแล้ว อันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรก การลงวันที่ภายหลังไม่ทำให้เกิดความผิดทางอาญา
ช.เป็นผู้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาท และลงวันที่ในเช็คหลังจากจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงวันที่ในเช็ค เช็คพิพาทจึงไม่มีรายการวันออกเช็ค หรือวันจ่ายเงินอันเป็นวันกระทำความผิดหรือวันเกิดเหตุ ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 988 (6)บังคับให้ต้องมีรายการนี้ เมื่อไม่มีรายการนี้ตั้งแต่ขณะที่ออกเช็ค จึงเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 910 วรรคหนึ่ง, 989 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ทรงเช็คสามารถลงวันที่ได้เองลับหลังผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 910 วรรคท้าย, 989 วรรคหนึ่งก็เป็นเพียงวิธีการในทางแพ่งเพื่อให้เช็คเรียกเก็บเงินได้ เมื่อเช็คพิพาทไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ขณะที่ออกเช็ค ผู้ออกเช็คก็ย่อมไม่มีความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นไม่เป็นไปตามข้อบังคับบริษัทและกฎหมาย ทำให้การโอนหุ้นไม่สมบูรณ์
ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ว่า การโอนหุ้นจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน รวมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้รับโอนให้ชัดแจ้ง โดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อรับรอง และจดแจ้งการโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129 วรรคสอง บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่งตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย แต่ตามหลักฐานใบโอนหุ้นตามคำฟ้องโจทก์และใบสำคัญการโอนหลักทรัพย์คงมีแต่ลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัท อ. ไม่มีรายชื่อผู้รับโอนและพยานลงลายมือชื่อรับรอง ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงไม่มีผลใช้ยันจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์หากเงื่อนไขสำคัญไม่เป็นไปตามตกลง สัญญาจึงยังไม่ผูกพันคู่กรณี
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 16 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้ง ๆ ที่คณะกรรมการสวัสดิการการพลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการ ดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา จากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้น โจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงิน ซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้ว คณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมาย จ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน 20 ไร่ 206 ตารางวา ให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า "เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้ว ขอให้ชำระเงินทั้งหมด และผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าว ขอให้แจ้งคณะกรรมการ สสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.3 ดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน 20 ไร่ 206ตารางวา ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ สสพช. แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ 2. โดยขอให้คณะกรรมการ สสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287 จำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา เป็น 2 ส่วน เท่า ๆ กัน ตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช.แปลงที่แบ่งเท่า ๆ กันแล้ว ตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่ คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน 100,000 บาท และในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน20 ไร่ 206 ตารางวา ให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป" ตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกัน หนังสือเอกสารหมาย จ.4 จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมาย จ.3 แต่อย่างใด ส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9 ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้ จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น และหนังสือลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า หากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใด และโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไป ก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้น จึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้น เมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกัน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 366 โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 16 ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์และผลของการไม่ปฏิเสธคำพิพากษา
จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 30,000 บาท และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ แต่มีการกรอกข้อความและจำนวนเงินขึ้นภายหลัง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม หนังสือสัญญากู้เงินจึงเป็นเอกสารปลอม แต่อย่างไรก็ตาม คดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินจำนวน 30,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกทั้งจำเลยฎีกาขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ 230,000 บาท เป็นให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ & การนำสืบนอกฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทน โดยโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 4 ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจไม่มีระบุไว้ด้วยว่าในฐานะพยาน ส่วนโจทก์ที่ 3 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ที่บริเวณช่องว่างด้านซ้ายมือของลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ดังนี้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีเพียงจ.ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเพียงคนเดียวเท่านั้น หาอาจถือได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ที่ลงไว้ในช่องผู้มอบอำนาจนั้นได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 3ด้วย ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 3 จึงมีพยานรับรองไม่ถึง 2 คน เท่ากับว่าโจทก์ที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจโดยสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 9วรรคสาม โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ได้กู้เงินจากจำเลยและ ส.โดยให้ยึดถือ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันและยินยอมให้เข้าทำนา หากภายใน3 ปี โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ โจทก์ที่ 1 ยินยอมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและ ส. การที่ในทางพิจารณาโจทก์ทั้งสี่นำสืบว่า โจทก์ที่ 1 นำที่ดินของโจทก์ที่ 1 และของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ไปขายให้แก่จำเลยและ ส.โดยมีเงื่อนไขว่าจะไถ่ถอนภายใน 3 ปี หากไม่ไถ่ถอนภายใน 3 ปี ให้หมดสิทธิไถ่ถอนนั้น เป็นการนำสืบนอกฟ้องแตกต่างไปจากคำฟ้องอย่างชัดแจ้ง จึงหาใช่การนำสืบความเป็นมาแห่งหนี้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ได้กู้เงินจากจำเลยและ ส.โดยให้ยึดถือ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันและยินยอมให้เข้าทำนา หากภายใน3 ปี โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ โจทก์ที่ 1 ยินยอมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและ ส. การที่ในทางพิจารณาโจทก์ทั้งสี่นำสืบว่า โจทก์ที่ 1 นำที่ดินของโจทก์ที่ 1 และของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ไปขายให้แก่จำเลยและ ส.โดยมีเงื่อนไขว่าจะไถ่ถอนภายใน 3 ปี หากไม่ไถ่ถอนภายใน 3 ปี ให้หมดสิทธิไถ่ถอนนั้น เป็นการนำสืบนอกฟ้องแตกต่างไปจากคำฟ้องอย่างชัดแจ้ง จึงหาใช่การนำสืบความเป็นมาแห่งหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์: พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือไม่ครบตามกฎหมาย ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องแทน
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแทน โดยโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 4ลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจไม่มีระบุไว้ด้วยว่าในฐานะพยานส่วนโจทก์ที่ 3 พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ที่บริเวณช่องว่างด้านซ้ายมือของลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ดังนี้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีเพียง จ. ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเพียงคนเดียวเท่านั้นหาอาจถือได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ที่ลงไว้ในช่องผู้มอบอำนาจนั้นได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 3 ด้วยลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ที่ 3 จึงมีพยานรับรองไม่ถึง 2 คนเท่ากับว่าโจทก์ที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้มอบอำนาจโดยสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสามโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3 โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ได้กู้เงินจากจำเลยและส. โดยให้ยึดถือ น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันและยินยอมให้เข้าทำนา หากภายใน 3 ปี โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ โจทก์ที่ 1 ยินยอมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและ ส. การที่ในทางพิจารณาโจทก์ทั้งสี่นำสืบว่าโจทก์ที่ 1 นำที่ดินของโจทก์ที่ 1 และของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ไปขายให้แก่จำเลยและ ส. โดยมีเงื่อนไขว่าจะไถ่ถอนภายใน3 ปี หากไม่ไถ่ถอนภายใน 3 ปี ให้หมดสิทธิไถ่ถอนนั้นเป็นการนำสืบนอกฟ้องแตกต่างไปจากคำฟ้องอย่างชัดแจ้งจึงหาใช่การนำสืบความเป็นมาแห่งหนี้ไม่