พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา ทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ในภายหลัง
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับแรกขอให้เรียกบิดามารดาจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา การที่โจทก์ยื่นคำร้องฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกับคำร้องฉบับแรกโดยมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่ประการใด ถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญา ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ประเด็นนั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลลดโทษให้เพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่อีกครั้งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหาดังกล่าวจึงจะถึงที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความและพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้ความโดยงดสืบพยาน ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ซึ่งถือว่าไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์เห็นว่าชอบที่จะมีการสืบพยานต่อไป ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ ปรากฎว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2533และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 มิถุนายน 2533 โดยที่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา226 (2) แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมทำให้สิทธิในการเพิกถอนสัญญาหมดไป
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ถ้าโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเป็นดุลพินิจศาลระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัว จึงไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่งมาตรา 108 และไม่ถือว่าเป็นคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 119 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเป็นดุลพินิจศาลระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง
แม้คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 จะไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ทวิ วรรคสาม ตามที่จำเลยที่ 4 ฎีกาก็ตาม แต่คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า การปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 อาจก่อให้เกิดภัยอันตรายแก่พยานและเกิดความเสียหายแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่เกิดความเสียหายแก่คดีในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนกรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 มาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิรับเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยไม่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าพอใจในผลของคำพิพากษาแล้ว แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้จำเลยรับผิดเต็มตามจำนวนในฟ้อง ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ไม่ว่าจะเป็นประการใดจะไม่ลดความรับผิดของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงอีก และที่ จำเลยนำเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลก่อนที่โจทก์จะขอหมายบังคับคดีและโดยไม่ปรากฏสาเหตุจะถือว่าเป็นการวางเพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(1) ไม่ได้ต้องถือว่าจำเลยวางเงินเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะคัดค้านก็ไม่ตัดอำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งอนุญาตให้โจทก์รับเงินที่จำเลยวางไว้ต่อศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4739/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ และการลดโทษตามกฎหมายอาญา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 วรรคสองที่บัญญัติว่าคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่ ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ละโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และ 52(2)คงให้จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4และที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 5ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาปริมาณและวัตถุประสงค์การนำเข้าควบคู่กันไป และผลของการไม่อุทธรณ์การประเมินภาษีสรรพากร
สินค้าเครื่องอบอาหารพร้อมโหลแก้วครบชุดที่จำเลยนำเข้ามาและสำแดงราคามีจำนวน 120 ชุด ซึ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย ถือได้ว่าราคาที่สำแดงเป็นราคาขายส่งเงินสด แต่สินค้าที่ ว.นำเข้ามาและสำแดงราคามีเพียง 2 ชิ้นเท่านั้น เป็นการสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อใช้เองมากกว่าจะนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย ถือไม่ได้ว่าราคาที่สำแดงเป็นราคาขายส่งเงินสด ทั้งเป็นการนำเข้ามาก่อนที่จำเลยจะนำเข้ามาถึงเกือบ 1 ปี มิใช่การนำเข้า ณ เวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันอันจะนำมาเปรียบเทียบหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ เจ้าพนักงานประเมินอากรของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำราคาสินค้าที่ ว.นำเข้ามาเปรียบเทียบถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง เพื่อประเมินให้จำเลยเสียอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นได้ ในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1ได้ประเมินเพิ่มแล้ว แม้การประเมินจะไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยก็ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์จำเลยก็ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินที่ยุติไปแล้วนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีประนีประนอมยอมความ การไม่อุทธรณ์ทำให้ฎีกาไม่ได้
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม และคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาตามยอม ขอให้เรียกจำเลยมาสอบถาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนชี้ขาดตามคำร้องนั้นถือได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่โต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และโจทก์จะฎีกาคำสั่งนั้นไม่ได้ เพราะต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249