คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไล่เบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การลงวันที่เช็คหลังเกิดเหตุ และสิทธิของผู้รับอาวัลในการไล่เบี้ย
การที่ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้วรายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมายวันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีบำรุงท้องที่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์นั้นหากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมพระราชบัญญัติ ญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา 45(4) กำหนดไว้ว่า ถ้าไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่ม ฯลฯมิได้กำหนดข้อยกเว้นที่ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม ทั้งไม่มีกฎหมายใดกำหนดว่าในระหว่างที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มสำหรับภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ก็ต้องรับผิดเงินเพิ่มอยู่จนกว่าจะชำระจะอ้างว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยผู้ค้ำประกัน - สิทธิไล่เบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการชำระเงินกู้ของจำเลยกับธนาคารไว้ต่อมาจำเลยผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารจึงหักบัญชีเงินฝากของโจทก์โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยเพื่อต้นเงินและดอกเบี้ยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 6 เดือน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ใช่ 6 เดือนตามมาตรา 1003
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าเช็คในฐานะผู้รับอาวัล: เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ สิทธิไล่เบี้ย 10 ปี
เจ้าหนี้สลักหลังเช็คพิพาทเป็นอาวัลผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารตามเช็คพิพาทปฏิเสธการจ่ายเงิน เจ้าหนี้ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรง เจ้าหนี้ย่อมได้สิทธิในอันที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยบุคคลซึ่งตนได้ประกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 940 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4184/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทน-นายจ้างต่อความเสียหายจากสัญญาที่ทำไป และอายุความฟ้องไล่เบี้ย
การที่เทศบาลเมืองฯ โจทก์ต้องชดใช้เงินให้ พ. เป็นผลโดยตรงจากสัญญาซึ่งจำเลยร่วมที่ 2 ในฐานะนายกเทศมนตรีและจำเลยในฐานะเทศมนตรีร่วมกันทำแทนโจทก์ โดยมอบสิทธิในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินที่ พ. เคยเช่าอยู่เดิมให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะถือว่าเป็นการกระทำของโจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองซึ่งมีหน้าที่บริการงานแทนโจทก์โดยไม่คำนึงถึงข้อผูกพันที่โจทก์มีอยู่ต่อ พ.ตามสัญญาเดิมที่โจทก์ต้องสร้างอาคารพาณิชย์ให้พ.เช่าอยู่แทนอาคารเดิมที่ถูกเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ พ. ได้รับความเสียหายไม่ได้เข้าพักอาศัยในอาคารพาณิชย์ที่ก่อสร้างขึ้นดังกล่าว และโจทก์ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ พ. ตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองได้และขณะโจทก์ถูก พ. ฟ้องต่อศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องเรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วย การที่โจทก์ไม่เรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยแก่จำเลย ความเสียหายของโจทก์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว แม้จำเลยร่วมที่ 2จะพ้นจากหน้าที่ไปก่อนที่โจทก์จะได้ชดใช้เงินค่าเสียหายให้แก่พ. ก็ไม่ทำให้จำเลยร่วมที่ 2 พ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ อายุความเกี่ยวกับสิทธิฟ้องไล่เบี้ยของโจทก์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นว่าต้องฟ้องภายในอายุความเท่าใดจึงต้องฟ้องภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สิน
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาประนีประนอมยอมความของลูกหนี้ในวงเงิน 200,000 บาท ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่บริษัท ส.(เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้) ไปเป็นเงิน 22,500 บาทแล้ว จึงเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิไล่เบี้ยในมูลหนี้ที่ตนได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จำนวน 22,500 บาท ส่วนหนี้ที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดต่อบริษัท ส. ที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้นั้น เมื่อบริษัท ส. ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามจำนวนที่ลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่จริงก็ต้องหักยอดเงินที่บริษัท ส.ได้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้จำนวน 22,500 บาท ออกเสียก่อนและถือได้ว่าบริษัท ส.ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 101.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อถูกหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้แทนลูกหนี้
ผู้ค้ำประกันถูกธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชีเงินฝากประจำใช้หนี้แทนลูกหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันสูญเสียเงินต้นและดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับตามบัญชีเงินฝากประจำตั้งแต่วันที่ธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชี ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อการสูญเสียดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อถูกธนาคารหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้แทนลูกหนี้
ผู้ค้ำประกันถูกธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชีเงินฝากประจำใช้หนี้แทนลูกหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันสูญเสียเงินต้นและดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับตามบัญชีเงินฝากประจำตั้งแต่วันที่ธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชี ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อการสูญเสียดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693
of 13