คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
10 ปี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีต้องดำเนินการต่อเนื่องภายใน 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษา มิใช่แค่นำยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี
คำว่า ร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271หาได้มีความหมายแต่เพียงว่ายื่นคำขอต่อศาลเพื่อออกหมายบังคับคดีเท่านั้นไม่ แต่มีความหมายรวมไปถึงหน้าที่อื่น ๆที่ผู้ขอให้บังคับคดีจึงพึงต้องกระทำเพื่อต้องกระทำเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินไปได้อีกด้วย โจทก์ร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 แล้วมิได้ดำเนินการใด ๆ ใน ทางบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกเลย คงแถลงต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีให้ยึดแต่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น โจทก์เพิ่มจะมาร้องขอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ ของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 และนำเจ้าพนักงาน บังคับคดีไปยึดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2533 ซึ่งพ้นสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี แก่ทรัพย์ของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของ และระยะเวลาต่อเนื่อง 10 ปี
การที่ผู้ร้องกับพวกเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยและครอบครองที่ดินพิพาทโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินพิพาท ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยมีเจตนาจะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ผู้ร้องทั้งสองจะอ้างว่า ได้โต้แย้งคัดค้านที่ผู้คัดค้านนำเจ้าพนักงานที่ดินมารังวัดชี้เขตเข้ามาในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2529 อันอาจถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองได้บอกกล่าวให้ผู้คัดค้านทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินทราบว่า ผู้ร้องทั้งสองไม่เจตนาที่จะยึดถือที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสามแล้ว แต่เมื่อนับจากวันดังกล่าวถึงวันยื่นคำร้องคดีนี้ยังไม่ครบกำหนด 10 ปี ผู้ร้องทั้งสองจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขาย: ใช้มาตรา 164 (10 ปี) ไม่ใช่มาตรา 467 (1 ปี)
อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467เป็นกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อแล้วปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรานี้ แต่กรณีที่ผู้ซื้อขอให้ผู้ขายชำระเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อภายในกำหนดเวลาตามสัญญาซื้อขายและให้ผู้ขายรับผิดในราคาสินค้าที่ผู้ซื้อต้องไปซื้อชดเชยจากบุคคลอื่นในจำนวนที่เพิ่มขึ้น นั้นไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ มีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับอาวัลมีสิทธิฟ้องได้ภายใน 10 ปี มิใช่ 6 เดือน
โจทก์บรรยายฟ้องส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ตามสำเนาท้ายฟ้อง(แก่ผู้ถือ) แล้วมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์สลักหลังเช็คดังกล่าวชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อ ผู้มีชื่อนำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้มีชื่อได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยให้โจทก์ชำระเงินตามเช็คดังกล่าวในฐานะที่โจทก์สลักหลังเป็นอาวัลผู้สั่งจ่าย โจทก์ชำระเงินตามเช็คแก่ผู้มีชื่อแล้วรับเช็คดังกล่าวคืนมา โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็ค เมื่อเช็คดังกล่าวธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง และโจทก์ได้มีคำขอบังคับไว้ในคำฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าถูกใครใช้สิทธิไล่เบี้ยเมื่อใด ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์กลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่กฎหมายบังคับให้ต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ซึ่งมาตรา 989 วรรคแรกบัญญัติให้นำมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วยนั้น บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า เป็นเพียงการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายหาได้ถือว่าเป็นการสลักหลังโอนหรือสลักหลังลอยไม่ เมื่อโจทก์สลักหลังเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจำเลยสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้รับอาวัลจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวจึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับจำเลยซึ่งโจทก์ประกัน เมื่อโจทก์ผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ได้ประกันไว้การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการใช้สิทธิของผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินไปตามเช็คแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งตนได้ประกันไว้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา989 วรรคแรก บัญญัติให้สิทธิไว้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับเสียภายในระยะเวลาเท่าใด ฉะนั้นจึงต้องมีกำหนด 10 ปี ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) บัญญัติไว้ คดีตามคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 หาใช่กรณีโจทก์ผู้สลักหลังโอนเช็คแก่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลังลอยโอนเช็คแก่ผู้ทรงใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คอันมีอายุความ6 เดือน ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003บัญญัติไว้ไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฉนดที่ดินสันนิษฐานถูกต้อง ผู้ถูกฟ้องแย้งต้องพิสูจน์ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ครอบครองปรปักษ์ต้องครบ 10 ปี
โฉนดที่ดินของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ทรง-กรรมสิทธิ์ ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าได้ออกมาถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา127 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ว่าออกมาทับที่โดยไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบถึงความไม่ถูกต้องหรือมิชอบด้วยกฎหมายนั้น
แม้เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในปี พ.ศ.2527 ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันพิพากษา แม้ฝ่ายหนึ่งเพิกเฉย
แม้จะเป็นกรณีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งโจทก์ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ก็ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้มีการบังคับคดีเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าใบยาสูบที่เหลือจากการซื้อขาย ไม่ใช่การฟ้องเรียกเงินทดรอง จึงใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายใบยาสูบแห้งกัน โจทก์จ่ายเงินทดรองให้แก่จำเลยเป็นค่าซื้อใบยาสูบแห้งล่วงหน้า เมื่อจำเลยส่งใบยาสูบแห้งให้โจทก์ก็คิดหักราคากันโดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์จากเงินทดรองที่ยังไม่ได้หักหนี้นับแต่วันรับเงินทดรองจนกว่าจะคืนเงินที่เหลือด้วย ต่อมาเมื่อคิดหักหนี้กันแล้วปรากฏว่ายังมีเงินค่าใบยาสูบแห้งที่จำเลยรับล่วงหน้าเหลือและดอกเบี้ย การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่เหลือดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยมิใช่เป็นการฟ้องเรียกหนี้ค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปก่อนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ แต่โจทก์ได้กรรมสิทธิ์หากครอบครองเกิน 10 ปี
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยมิได้จดทะเบียนโอนกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะแต่โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้ต่อมาจำเลยที่ 1จะนำที่พิพาทไปยกให้จำเลยที่ 3 แต่การยกให้นั้นจำเลยที่ 3 ผู้ได้สิทธิมิได้เสียค่าตอบแทนกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 1299วรรคสอง ที่จะทำให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ (จากการครอบครองปรปักษ์) แทนชื่อจำเลยที่ 1จำเลยไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนให้ เป็นหน้าที่โจทก์ต้องไปดำเนินการให้มีชื่อตนในโฉนดเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามคำพิพากษาตามยอม: 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลก็ดีโดยคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการก็ดี โดยประนีประนอมยอมความก็ดีท่านให้มีกำหนดอายุความสิบปี แม้ทั้งที่เป็นประเภทอันอยู่ในบังคับอายุความกำหนดน้อยกว่านั้นดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาตามยอมที่ถึงที่สุดซึ่งบังคับให้จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความสิบปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การให้ไม่สมบูรณ์ แต่ครอบครองต่อเนื่องเกิน 10 ปี
แม้การยกให้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่บิดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยครอบครองไว้เพื่อตนเอง ซึ่งเมื่อนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาส่วนมรดกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 2 เพิ่งจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทในภายหลังย่อมหมดสิทธิที่จะรับมรดก และการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจะถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองและเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ได้.
of 17