คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขาดนัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 616 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดหลังขาดนัดยื่นคำขอพิจารณาใหม่
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลจึงพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จำเลยทั้งสองซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาอาจขอให้พิจารณาใหม่ภายใต้บังคับตามมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในคดีนี้เป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้สิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองได้รับคำบังคับโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2540 การส่งคำบังคับดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามมาตรา 79 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองทราบคำบังคับในวันที่ 24 มีนาคม 2540 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันดังกล่าว ดังนั้น คดีของจำเลยทั้งสองจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 8 เมษายน 2540 การที่โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีในวันที่ 14 กันยายน 2549 จึงเป็นกรณีที่โจทก์บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีโดยศาลเนื่องจากเข้าใจผิดว่าคู่ความขาดนัด ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้ตามมาตรา 27 ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลยในวันที่ 24 เมษายน 2549 เวลา 9 นาฬิกาเมื่อถึงวันนัดในช่วงเช้า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและไปคอยอยู่ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2 แต่เนื่องจากคดีนี้ย้ายไปพิจารณาที่ห้องพิจารณาคดีที่ 5 จึงไม่พบสำนวนคดีนี้ ทนายโจทก์จึงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ลงเวลานัดพิจารณาผิดพลาดเป็นช่วงบ่าย ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์จึงไม่ได้เข้าห้องพิจารณาคดีที่ 5 ในช่วงเช้า โดยรออยู่ที่ศาลจนถึงช่วงบ่าย เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้ว แต่เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลเองที่ทำให้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้เข้าห้องพิจารณาคดี เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ การจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการสั่งโดยผิดหลง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวเสียได้ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 27 ให้อำนาจไว้ โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีนับจากคดีถึงที่สุด แม้จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีได้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 สำหรับคดีนี้เป็นคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุดเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง ข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสอง โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2540 ตามลำดับจำเลยทั้งสองไม่ได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 15 ธันวาคม 2540 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 16 ธันวาคม 2540 โจทก์แถลงขอให้บังคับยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 จึงยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่คดีนี้ถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330-10331/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่จำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังผู้ร้องขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง: ศาลมีดุลพินิจได้
เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ฟ้องแย้งมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดในส่วนของฟ้องแย้งภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 199 ฉ ถ้าไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ตามมาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ อย่างไรก็ดี แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ" เพื่อเป็นมาตรการมิให้บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ก็มิใช่บทบังคับศาลที่จะต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเสมอไป ศาลมีอำนาจที่จะให้ดุลพินิจที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้โดยพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นรายๆ ไป สำหรับคดีนี้ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งผู้ร้องมาในคำคัดค้านในเรื่องเกี่ยวกับคำร้องขอเดิมของผู้ร้อง แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ว่ายังมีความประสงค์ที่จะดำเนินคดี นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงต่อไปว่า ผู้ร้องได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการรับฟ้องแย้งของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ว่าไม่ถูกต้อง อันอาจเป็นเหตุทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าต้องรอคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องดังกล่าวก่อน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นไม่จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ออกเสียจากสารบบความ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การไม่ทำให้จำเลยแพ้คดีอัตโนมัติ ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายเพื่อพิสูจน์ความประมาท
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขับรถยนต์ ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของรถยนต์ และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็ยังวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายชนะคดีไม่ได้จนกว่าจะได้พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองทั้งสองนำสืบว่าคดีมีมูลตามข้ออ้างแห่งฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 206 วรรคหนึ่ง ทั้งเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้การและนำสืบต่อสู้คดีจึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ หาใช่กรณีที่ศาลจะต้องฟังแต่เฉพาะพยานโจทก์ทั้งสองฝ่ายเดียวว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกาไม่ และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องในส่วนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ หากฟังเหตุมิได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดีหลังคดีถึงที่สุด กรณีจำเลยขาดนัดและอาจขอพิจารณาคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีนี้เป็นคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุด เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มายื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีนี้ถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีหลังขาดนัด – ผลกระทบต่อการยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) ย่อมถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 147 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีหลังขาดนัด - การนับระยะเวลาคดีถึงที่สุดเมื่อจำเลยขาดนัดและอาจขอพิจารณาคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา และศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีจึงย่อมถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทั้งนี้ เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในการถามค้านพยานโจทก์: การใช้สิทธิและการไม่โต้แย้งถือเป็นการสละสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ในระหว่างสืบพยานได้ โดยจำเลยจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์นำพยานเข้าสืบ 1 ปาก ไม่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยซึ่งมาศาลขอใช้สิทธิถามค้าน กระทั่งในวันสืบพยานโจทก์ปากสุดท้าย จำเลยมาศาล แต่ไม่ใช้สิทธิถามค้าน เพราะในบันทึกคำพยานโจทก์ดังกล่าว มีข้อความว่า "ตอบจำเลยถามค้าน (ไม่ถาม)" ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า หมดพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา จำเลยก็ไม่โต้แย้งกลับลงชื่อรับทราบ ถือว่าจำเลยไม่ใช้สิทธิถามค้านแล้ว จึงเอาเหตุที่มิได้ถามค้านดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างในภายหลังว่า เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพื่อให้ศาลยกเลิกกระบวนพิจารณานั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงานและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเมื่อขาดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
การพิจารณาคดีแรงงานมีวิธีพิจารณาต่างกับคดีแพ่งทั่วๆ ไป โดยมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ บัญญัติไว้เป็นพิเศษ กรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรก็ต้องบังคับไปตามนั้น จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ เท่านั้น
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเวลานัดพิจารณาและสืบพยาน โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดเมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการถูกต้องแล้ว
of 62