พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากสินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น 'ผู้ประกอบการค้า'ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77. ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า2 ประเภท. คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประเภทหนึ่ง. ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง. กับผู้ที่บทบัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประเภทหนึ่ง. ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1)และ (2).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีอากรมีบุริมสิทธิเมื่อค้างชำระในปีปัจจุบันหรือปีก่อนหน้า การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการชำระเว้นแต่อธิบดีอนุมัติ
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี (กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี (กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีอากรมีบุริมสิทธิเมื่อค้างชำระในปีปัจจุบันหรือย้อนหลังได้หนึ่งปี การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการชำระเว้นแต่ได้รับการอนุมัติ
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากรเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าหนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากรเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าหนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมุห์บัญชีอำเภอ ยักยอกเงินภาษีอากรของรัฐบาลเข้าใช้ส่วนตัว มีความผิดอาญา แม้จะคืนเงินภายหลังก็ไม่ทำให้ความผิดนั้นหมดไป
จำเลยเป็นสมุห์บัญชีอำเภอ ไปเร่งรัดภาษีจากผู้ค้างภาษีผู้ค้างภาษีจึงได้ชำระเงินภาษีให้จำเลยมา จำเลยหาได้ส่งเงินดังกล่าวต่อกรรมการรักษาเงินหรือต่อคลังจังหวัดตามระเบียบไม่ จำเลยกลับนำเงินเหล่านั้นไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 3,7 แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะส่งเงินทะยอยคืนก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เกิดเป็นความผิดขึ้นแล้วกลับกลายเป็น ไม่ เป็นความผิด ไม่
เงินภาษีอากรที่จำเลยเก็บมาดังกล่าวเป็นของรัฐบาล เมื่อจำเลยยักยอกเอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย รัฐบาลย่อมเป็นผู้เสียหาย
เงินภาษีอากรที่จำเลยเก็บมาดังกล่าวเป็นของรัฐบาล เมื่อจำเลยยักยอกเอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย รัฐบาลย่อมเป็นผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2511 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากร: สลากติดถ่านไฟฉาย แม้ใช้ในกระบวนการผลิต ก็ถือเป็นสินค้าสำเร็จรูป
กระดาษสลากที่ปิดรอบก้อนถ่านไฟฉายซึ่งมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้สั่งมาจากต่างประเทศนั้น มีลักษณะเป็นสิ่งที่สำเร็จรูปมาแล้ว ไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ก็นำมาใช้ได้ทันทีจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูปตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77ส่วนการที่โจทก์นำแผ่นสลากนี้ไปทำการต่างๆ เพื่อใช้สวมกับถ่านไฟฉายก็เพื่อประโยชน์ในการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นการค้าสำเร็จรูปอีกชนิดหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากร: สลากติดถ่านไฟฉาย แม้ใช้ในกระบวนการผลิต ก็ยังเป็นสินค้าสำเร็จรูป
กระดาษสลากที่ปิดรอบก้อนถ่านไฟฉายซึ่งมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้สั่งมาจากต่างประเทศนั้น มีลักษณะเป็นสิ่งที่สำเร็จรูปมาแล้ว ไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ก็นำมาใช้ได้ทันทีจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูปตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ส่วนการที่โจทก์นำแผ่นสลากนี้ไปทำการต่างๆ เพื่อใช้สวมกับถ่านไฟฉายก็เพื่อประโยชน์ในการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นการค้าสำเร็จรูปอีกชนิดหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสำเร็จรูป: สลากติดถ่านไฟฉาย แม้ใช้ในกระบวนการผลิต ก็ถือเป็นสินค้าสำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากร
กระดาษสลากที่ปิดรอบก้อนถ่านไฟฉายซึ่งมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้สั่งมาจากต่างประเทศนั้น มีลักษณะเป็นสิ่งที่สำเร็จรูปมาแล้ว ไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงหรือนำไปผสมกับสิ่งอื่น ก็นำมาใช้ได้ทันทีจึงเป็นสินค้าสำเร็จรูปตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ส่วนการที่โจทก์นำแผ่นสลากนี้ไปทำการต่างๆ เพื่อใช้สวมกับถ่านไฟฉายก็เพื่อประโยชน์ในการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นการค้าสำเร็จรูปอีกชนิดหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและการยึดทรัพย์เพื่อชำระภาษีอากร ไม่เป็นการยึดซ้ำ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ที่ห้ามมิให้ยึดซ้ำนั้นจะต้องเป็นการยึดซ้ำกันในระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน ในทรัพย์รายเดียวกันของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นแต่เพียงให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะยึดทรัพย์ของผู้ค้างชำระภาษีอากร เพื่อขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องศาลเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติห้ามว่า เมื่อยึดมาแล้วมิให้เจ้าหนี้ตามพิพากษาทำการยึด ฉะนั้น เมื่อทรัพย์ที่นายอำเภอยึดไว้ยังไม่ได้ทำการขายทอดตลาดไป เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมยึดเพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลได้ ไม่เป็นการยึดซ้ำ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นแต่เพียงให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะยึดทรัพย์ของผู้ค้างชำระภาษีอากร เพื่อขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องศาลเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติห้ามว่า เมื่อยึดมาแล้วมิให้เจ้าหนี้ตามพิพากษาทำการยึด ฉะนั้น เมื่อทรัพย์ที่นายอำเภอยึดไว้ยังไม่ได้ทำการขายทอดตลาดไป เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมยึดเพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลได้ ไม่เป็นการยึดซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและการยึดเพื่อชำระภาษีอากร ไม่เป็นการยึดซ้ำ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ที่ห้ามมิให้ยึดซ้ำนั้น.จะต้องเป็นการยึดซ้ำกันในระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน. ในทรัพย์รายเดียวกันของลูกหนี้ตามคำพิพากษา.
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นแต่เพียงให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะยึดทรัพย์ของผู้ค้างชำระภาษีอากร. เพื่อขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องศาลเท่านั้น. ไม่ได้บัญญัติห้ามว่า เมื่อยึดมาแล้วมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทำการยึด. ฉะนั้น เมื่อทรัพย์ที่นายอำเภอยึดไว้ยังไม่ได้ทำการขายทอดตลาดไป.เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมยึดเพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลได้. ไม่เป็นการยึดซ้ำ.
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นแต่เพียงให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะยึดทรัพย์ของผู้ค้างชำระภาษีอากร. เพื่อขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องศาลเท่านั้น. ไม่ได้บัญญัติห้ามว่า เมื่อยึดมาแล้วมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทำการยึด. ฉะนั้น เมื่อทรัพย์ที่นายอำเภอยึดไว้ยังไม่ได้ทำการขายทอดตลาดไป.เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมยึดเพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลได้. ไม่เป็นการยึดซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากรค้างชำระในคดีล้มละลาย: สิทธิในการขอรับชำระหนี้ แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 และ 22 ดังนี้มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า"ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นแต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า"ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นแต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483