คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20664/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของเจ้าอาวาส กรณีที่ดินศาสนสมบัติ และการมอบอำนาจฟ้องคดี
เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัด มีหน้าที่บำรุงรักษาวัด การบริหารจัดการกิจการและศาสนสมบัติของวัด โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโดยละเมิดได้ ส่วนการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้นหาตัดสิทธิตัวการที่จะกระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ และโจทก์โดยเจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีขายฝากและขับไล่
คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 อันจะเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 นั้น หมายความว่า คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย คดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ฝากขาย คือ 150,000 บาท เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2553 ทั้งฉบับ โดยสั่งรับอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ข้อ 2.1 และสั่งรับอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์โจทก์ข้อ 2.2 ต่อมาวันที่ 5 มีนาคม 2553 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างว่าอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งฉบับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ค่าเช่าเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์โจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ข้อ 2.1 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่เป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ข้อ 2.1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12573/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขับไล่จากการซื้อที่ดินประมูล vs. การโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่ได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ให้สิทธิแก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดียื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลในคดีเดิมเพื่อออกคำบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ได้เท่านั้น สิทธิดังกล่าวมิใช่ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ที่จะโอนกันได้ทางนิติกรรม การที่ผู้ซื้อทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้จากการขายทอดตลาดแก่โจทก์ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9359/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินวัด: วัดมีอำนาจฟ้องเองได้ ไม่ต้องผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และเป็นเจ้าของที่ดินธรณีสงฆ์ที่พิพาท จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์บางส่วนเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยมิได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท เท่ากับจำเลยยอมรับอำนาจการจัดการที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่เช่าของโจทก์มาตั้งแต่แรก เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไป จำเลยยังคงครอบครองและไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของวัดโจทก์ไม่ได้อยู่ในบังคับที่จะต้องให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 40 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลางได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่งเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการครอบครองทรัพย์สินหลังการขายทอดตลาด แม้ใช้มาตรา 309 ตรีได้
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด แม้โจทก์จะสามารถดำเนินการบังคับขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยการยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิของโจทก์ในการที่จะใช้สิทธิทางศาลโดยการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่อยู่ในทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยละเมิด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกคำบังคับตามมาตรา 309 ตรี และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, ค่าเช่าค้างชำระ, การบอกเลิกสัญญา, การขับไล่, ค่าภาษีโรงเรือน, การรับผิดร่วมกัน
สัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนให้แก่ทางราชการแทนโจทก์ ซึ่งกำหนดให้ชำระทุกปีตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีดังกล่าวตามกำหนดย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญาของโจทก์ โดยหาจำต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีในส่วนดังกล่าวให้แก่ทางราชการก่อนนำคดีมาฟ้องหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดค่าภาษีโรงเรือนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีขับไล่ที่ดินงอกริมตลิ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ หากจำเลยไม่ได้อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์และออกไปจากที่ดินซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งของโจทก์ จำเลยให้การเพียงว่าที่งอกริมตลิ่งตามฟ้องเป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ กรณีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ โดยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15922/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าช่วงเมื่อสัญญาเช่าหลักสิ้นสุด และการฟ้องขับไล่จากผู้ให้เช่าเดิม
การเช่าทรัพย์ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้น การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงโดยโจทก์ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้เช่าช่วงโดยชอบและต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่าเดิมโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 545 จำเลยที่ 2 หาใช่บริวารของจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม 2540 ซึ่งทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 สิ้นสุดลงในวันเดียวกันนี้ด้วยเพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเช่าต่อไปแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงอีกต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าช่วงตลอดมาหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 จะโต้เถียงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีป่าไม้: ข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยของกลาง, คำขอให้ขับไล่ออกจากพื้นที่ป่า, และการคืนของกลางให้เจ้าของ
ไม้มะพอกแปรรูปของกลาง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และมาตรา 186 (9) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบ ของกลางต้องคืนแก่เจ้าของ
คำขอให้สั่งให้จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสี่ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวและปรากฏว่าจำเลยยึดถือหรือครอบครองที่ดินดังกล่าว แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานบุกรุกยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติตามฟ้องได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวจึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากละเมิด และการฟ้องขับไล่กรณีครบกำหนดสัญญาเช่า
จำเลยทำสัญญาเช่าแผงจำหน่ายอาหารจากโจทก์โดยสัญญาเช่าระบุว่า กรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญา ผู้เช่ายอมให้โจทก์เป็นคณะอนุญาโตตุลาการทำการชี้ขาดและผู้เช่าต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็็นกรณีที่ระบุถึงปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาเช่า แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเหตุครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกจากแผงที่เช่า มิใช่เป็นกรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่จำต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
เมื่อสัญญาเช่าแผงจำหน่ายอาหารครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้สัญญาเช่าเป็นอันระงับลงโดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนแผงที่เช่าแก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนแผงที่เช่าแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองแผงที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานกระทำละเมิด แต่ตามสัญญาเช่าไม่มีข้อความใดกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่าในกรณีสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่า จึงไม่กำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยไม่ยอมออกจากแผงที่เช่า แต่ค่าเสียหายในมูลละเมิดดังกล่าวที่เกิดก่อนวันฟ้องคดีย้อนขึ้นไปเกิน 1 ปี เป็นอันขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
of 64