พบผลลัพธ์ทั้งหมด 716 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ซ้ำ: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา vs. เจ้าพนักงานบังคับคดีตามกฎหมายภาษีอากร
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ที่ห้ามมิให้ยึดซ้ำนั้น จะต้องเป็นการยึดทรัพย์ซ้ำกันในระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกันในทรัพย์รายเดียวกันของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการที่เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรยึดไว้ก่อนอันเป็นการยึดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 นั้น ไม่ใช่เป็นการยึดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงทำการยึดได้ไม่เป็นการยึดซ้ำ และการที่เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรทำการยึดก็ไม่ทำให้ทรัพย์ที่ยึดกลายเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ยึดยังเป็นของจำเลยจนกว่าจะได้ขายทอดตลาดไป ประมวลรัษฎากรมาตรา 12 เป็นแต่เพียงให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะยึดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากรเพื่อขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องฟ้องต่อศาลเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อยึดมาแล้วมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ทำการยึดหรือห้ามศาลไม่ให้สั่งขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ฉะนั้น เมื่อทรัพย์ที่ยึดไว้ยังไม่ได้ทำการขายทอดตลาดไป เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมทำการยึดเพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลได้ ส่วนสิทธิของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างมีอยู่อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่มีบัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากร: ฟ้องประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ แม้ไม่ฟ้องกรรมการทั้งคณะ
ตามประมวลรัษฎากรที่บัญญัติว่า เมื่อผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล นั้น การฟ้องศาลดังกล่าว ผู้อุทธรณ์ย่อมฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเป็นประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ไม่จำต้องฟ้องกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ร่วมกันทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องกรรมการทั้งหมด
ตามประมวลรัษฎากรที่บัญญัติว่าเมื่อผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลนั้นการฟ้องศาลดังกล่าวผู้อุทธรณ์ย่อมฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเป็นประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ไม่จำต้องฟ้องกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ร่วมกันทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้องมีผลต่อสิทธิเรียกร้องของรัฐ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 บัญญัติว่าบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากร ในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วย ถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีก รัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปี ดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิ์ภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256. บัญญัติว่าบุริมสิทธิ์ในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วยถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีกรัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปีดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากสถานที่พักอาศัยชั่วคราว ไม่ถือเป็นสถานการค้าตามกฎหมายภาษีอากร
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดพระนคร ได้รับอนุญาตให้ทำไม้หมอนจากป่าโครงการของการรถไฟที่ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการทำไม้หมอน โจทก์ต้องเดินทางจากจังหวัดพระนคร ไปควบคุมดูแลกิจการเป็นครั้งคราว เมื่อตรวจดูกิจการในตอนกลางวันแล้ว ในตอนกลางคืนก็กลับมาอาศัยพักนอนที่บ้านนายสุรินทร์ ปฏิบัติเช่นนี้เดินละครั้งบ้าง สองครั้งบ้าง และครั้งหนึ่งเป็นเวลา 3-4 วัน โดยไม่เสียค่าเช่าพักแก่เจ้าของบ้าน ดังนี้ บ้านของนายสุรินทร์ที่โจทก์มาอาศัยครั้งคราว ย่อมไม่เป็นสถานการค้าของโจทก์ตามความหมายของมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ซึ่งใช้อยู่ในระหว่างปีประเมินเก็บค่าภาษีจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดทรัพย์ภาษีอากรอยู่ภายใต้กฎหมายล้มละลาย ทรัพย์สินยังเป็นของลูกหนี้จนกว่าจะมีการขายทอดตลาด
อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายล้มละลาย ฉะนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ยึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระค่าภาษีอากรที่ค้าง แต่ยังไม่ทันได้ขาย จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อนเช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจึงยังคงอยู่แก่จำเลย และเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งตามกฎหมายย่อมเป็นทรัพย์ที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ไม่มีทางที่จะถือได้ว่าทรัพย์นั้นได้ตกเป็นของแผ่นดินไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผาถ่านไม่ใช่การทำป่าไม้ตามกฎหมายภาษีอากร
การเผาถ่าน ไม่ใช่การทำป่าไม้ตามความในพระราชกฤษฎีกากำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2496 มาตรา 3 ข้อ 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: 'ปีปัจจุบัน' หมายถึงปีที่ยื่นคำร้องต่อศาล ไม่ใช่ปีที่ประเมินภาษี
คำว่า "ปีปัจจุบัน" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 หมายความว่า ปีที่ผู้มีบุริมสิทธิ์ได้ยื่นคำร้องต่อศษลให้เอาเงินของจำเลยมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้ร้อง
หนี้มีบุริมสิทธิ์นั้น กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิ แต่หาได้หมายความว่า เมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้ว สิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะได้ประเมินเรียกเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2499 กลายมาเป็นภาษีปี 2501 ไปได้ไม่
หนี้มีบุริมสิทธิ์นั้น กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิ แต่หาได้หมายความว่า เมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้ว สิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะได้ประเมินเรียกเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2499 กลายมาเป็นภาษีปี 2501 ไปได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ปีที่ยื่นฟ้องสำคัญกว่าปีที่ประเมินภาษี เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องแม้ไม่มีบุริมสิทธิ
บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้นคำว่า'ปีปัจจุบัน'ดังกล่าว หมายความว่าปีที่ผู้มีบุริมสิทธิได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้เอาเงินของลูกหนี้มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้มีบุริมสิทธิ
ภาษีการค้าและภาษีเงินได้ พ.ศ.2498 และ พ.ศ.2499 ซึ่งค้างชำระอยู่ แม้กรมสรรพากรเพิ่งจะมาประเมินเก็บในปี พ.ศ.2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ.2498 และพ.ศ.2499 กลายมาเป็นภาษี ปีพ.ศ.2501 ไปได้ไม่
หนี้บุริมสิทธิ กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิแต่หาได้หมายความว่าเมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้วสิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น
ภาษีการค้าและภาษีเงินได้ พ.ศ.2498 และ พ.ศ.2499 ซึ่งค้างชำระอยู่ แม้กรมสรรพากรเพิ่งจะมาประเมินเก็บในปี พ.ศ.2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ.2498 และพ.ศ.2499 กลายมาเป็นภาษี ปีพ.ศ.2501 ไปได้ไม่
หนี้บุริมสิทธิ กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิแต่หาได้หมายความว่าเมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้วสิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น