พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419-3420/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้
ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ โดยไม่ต้องมีองค์ประกอบของพฤติการณ์พิเศษหรือกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยอันเป็นการแตกต่างจาก ป.วิ.พ. มาตรา 23
มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ใช่กฎหมายที่จะตัดอำนาจฟ้องคดีของผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องได้ และเมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าตู้โทรศัพท์สาธารณะของโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ใช่กรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่ประเมินและตามคำชี้ขาดสูงเกินสมควรโจทก์จึงไม่ต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหน่อยค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 31 วรรคท้าย
ตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 มี ส. ลงลายมือชื่อเป็นผู้ยื่นคำร้องแทนโจทก์โดยระบุว่าเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านสื่อสารสาธารณะทำการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ท. และโจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามสำเนาคำสั่งของโจทก์ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 แต่ปรากฏว่าสำเนาคำสั่งดังกล่าวระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทที. ซึ่งตามหนังสือรับรองโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัทที. เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงกระทำก่อนที่โจทก์จะมอบอำนาจตามคำสั่งดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ส. ลงนามแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันในภายหลังได้กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ
มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ใช่กฎหมายที่จะตัดอำนาจฟ้องคดีของผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องได้ และเมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าตู้โทรศัพท์สาธารณะของโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ใช่กรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่ประเมินและตามคำชี้ขาดสูงเกินสมควรโจทก์จึงไม่ต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหน่อยค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 31 วรรคท้าย
ตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 มี ส. ลงลายมือชื่อเป็นผู้ยื่นคำร้องแทนโจทก์โดยระบุว่าเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านสื่อสารสาธารณะทำการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ท. และโจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามสำเนาคำสั่งของโจทก์ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 แต่ปรากฏว่าสำเนาคำสั่งดังกล่าวระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทที. ซึ่งตามหนังสือรับรองโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัทที. เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงกระทำก่อนที่โจทก์จะมอบอำนาจตามคำสั่งดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ส. ลงนามแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันในภายหลังได้กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15964/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของที่ดินประมาทเลินเล่อในการมอบอำนาจ ทำให้ถูกจำนองโดยไม่เจตนา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
พฤติการณ์ของจำเลยที่เป็นเจ้าของที่ดินได้พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความใดๆ ให้ชัดเจนว่าต้องการจะขายที่ดิน แล้วยังมอบโฉนดที่ดินสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนของจำเลยให้ ล. ผู้ติดต่อจะซื้อที่ดินไปดำเนินการนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ ล. และ อ. ผู้รับมอบอำนาจนำไปใช้ในกิจการอื่นด้วยการกรอกเพิ่มเติมข้อความว่า ให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองแทนจำเลย ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยจะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนขึ้นให้การต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตเพื่อให้ตนพ้นความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15690/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ในคดีอาญา: รูปแบบไม่สำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การมอบอำนาจจริงและไม่มีเหตุสงสัย
การร้องทุกข์ในคดีอาญา กฎหมายมิได้กำหนดแบบการร้องทุกข์ไว้ จึงอาจร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือหนังสือก็ได้ สาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้นายวิโรจน์ร้องทุกข์จริงหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลมิได้สงสัยและจำเลยไม่ได้ให้การหรือนำสืบต่อสู้แสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง ถือว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11713/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทร้างขาดอำนาจฟ้องคดี แม้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระบัญชี การมอบอำนาจฟ้องต้องเป็นของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1246 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเพิกถอนทะเบียนบริษัทร้างยังมีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องใช้บทบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดี เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่ได้ขีดชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา บริษัทโจทก์จึงเป็นอันเลิกกัน ความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ย่อมสิ้นไปโดยผลของกฎหมายก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยโจทก์ ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่กลับจดชื่อโจทก์ให้คืนเข้าสู่สถานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สามารถมอบอำนาจให้ ย. อดีตกรรมการของโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ แม้มาตรา 1249 จะบัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีก็ตาม ก็เป็นการตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชี และการแก้ต่างว่าต่างในนามของโจทก์ย่อมเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1259 (1) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11515/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการซื้อขายโดยสุจริตของบุคคลภายนอก
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความ กับลงลายมือชื่อรับรองสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน มอบให้แก่ ท. ไปพร้อมกับโฉนดที่ดิน เมื่อ ท. นำเอกสารดังกล่าวไปกรอกข้อความว่าจำเลยมอบอำนาจให้ ท. จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนยกให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ ท. จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยต้องยอมรับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง จำเลยจะยกความประมาทเลินเล่อของตนเองดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่กระทำการโดยสุจริตหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821
จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของโจทก์ เพราะโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต การขายฝากที่ดินพิพาทระหว่าง ท. กับโจทก์จึงมีผลสมบูรณ์ เมื่อ ท. ไม่ไถ่ที่ดินคืนภายในกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท
จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของโจทก์ เพราะโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต การขายฝากที่ดินพิพาทระหว่าง ท. กับโจทก์จึงมีผลสมบูรณ์ เมื่อ ท. ไม่ไถ่ที่ดินคืนภายในกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10653/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คระบุชื่อผู้รับเงินและขีดคร่อม A/C Payee Only ธนาคารไม่มีอำนาจรับฝากเช็คเข้าบัญชีผู้อื่นโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
เช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน แม้ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" แต่ได้มีการขีดคร่อมพร้อมกับมีข้อความว่า "A/C PAYEE only" ในช่องขีดคร่อม อันมีความหมายว่าเช็คนี้ห้ามเปลี่ยนมือและต้องจ่ายเงินแก่ธนาคาร กล่าวคือต้องนำเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่มีแก่ธนาคารเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำเช็คไปเข้าบัญชี จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจรับเช็คดังกล่าวฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ซึ่งเปิดไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 2 โดยพนักงานของจำเลยที่ 2 นำเช็คฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ซึ่งเปิดไว้กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10455-10462/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีของวัดต้องมีเอกสารถูกต้องตามกฎหมายและปิดอากรแสตมป์ มิฉะนั้นการมอบอำนาจนั้นไม่ชอบ
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 10 จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในศาลล่าง แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 - และที่ 10 จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นวัดผู้ที่มีหน้าที่กระทำการแทนคือเจ้าอาวาส หากเจ้าอาวาสไม่กระทำด้วยตนเอง ต้องการให้บุคคลอื่นกระทำแทน รวมถึงการฟ้องคดีก็ต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจและต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร เมื่อการมอบอำนาจระหว่างเจ้าอาวาสของโจทก์ที่ตั้งให้ ส. ดำเนินคดีแทนโดยไม่ปิดอากรแสตมป์ การมอบอำนาจจึงไม่ชอบ ส. จึงไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ จ. เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจประกันตัวและเช็คคืนเงินประกัน สิทธิในการเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานตัวแทนและลูกหนี้
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยนำเงิน 70,000 บาท ของโจทก์ไปประกันตัว ก. ต่อศาลชั้นต้นแทนโจทก์ เมื่อคดีถึงที่สุดศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 70,000 บาท ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่จำเลยในฐานะนายประกัน จำเลยมอบเช็คให้โจทก์แต่ไม่ยอมมาเบิกเงินตามเช็คจากธนาคารคืนโจทก์ แต่จำเลยอยู่ในฐานะผู้ทรงที่พึงจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คมิใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน หากจำเลยไม่ชำระ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตามมาตรา 214 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งจะขอให้บังคับธนาคารตามเช็คซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คที่ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่โจทก์ก็ไม่ได้
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยมาเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้องอันเป็นเพียงวิธีการบังคับชำระหนี้เป็นตัวเงิน แต่เมื่อมีหนี้เงินดังกล่าวซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยมาเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้องอันเป็นเพียงวิธีการบังคับชำระหนี้เป็นตัวเงิน แต่เมื่อมีหนี้เงินดังกล่าวซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาจากการมอบอำนาจและพฤติการณ์ที่แสดงเจตนาให้เกิดผลผูกพัน แม้ไม่มีตราประทับ
เมื่อเกิดเหตุรถชนกัน ส. ไปเจรจาค่าเสียหายกับโจทก์โดยมอบใบมอบอำนาจที่มี จ. กรรมการของจำเลยลงลายมือชื่อโจทก์ พร้อมหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทของจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก พ. เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า จ. กระทำในนามของจำเลย แม้ จ. มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยลงในหนังสือมอบอำนาจ แต่การที่ ส. เจรจาค่าเสียหายกับโจทก์ยอมชำระค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์ 70,000 บาท และรับรถกระบะของโจทก์เพื่อนำไปซ่อม ทั้งยังนำรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุคืนไปจากพนักงานสอบสวน และไม่ปรากฏว่าจำเลยมิได้รับรถคันดังกล่าวไว้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยเชิด จ. เป็นตัวแทนในการตกลงค่าเสียหายกับโจทก์ แม้ จ. จะมิได้กระทำด้วยตนเอง แต่มอบอำนาจให้ ส. กระทำการแทนก็ตาม จำเลยจึงต้องรับผิดตามบันทึกตกลงค่าเสียหาย
บันทึกตกลงค่าเสียหายไม่มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าซ่อมรถยนต์เป็นเงินเท่าใด และหากฝ่ายจำเลยไม่ซ่อม โจทก์จะเรียกร้องได้เพียงใด ไม่ชัดแจ้งที่จะเป็นการระงับข้อพิพาท จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ที่จะทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป จำเลยจึงยังต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย
บันทึกตกลงค่าเสียหายไม่มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าซ่อมรถยนต์เป็นเงินเท่าใด และหากฝ่ายจำเลยไม่ซ่อม โจทก์จะเรียกร้องได้เพียงใด ไม่ชัดแจ้งที่จะเป็นการระงับข้อพิพาท จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ที่จะทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป จำเลยจึงยังต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี, การมอบอำนาจ, ข้อจำกัดการอุทธรณ์, และข้อยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน
จำเลยอุทธรณ์ว่า ว. ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่โดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลภาษีอากรกลางในเรื่องการมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ อันเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 25