พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่และบังคับคดีที่ดิน/บ้าน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวพร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 36,000 บาท จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,500 บาท คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย โดย ท. ยกที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องทั้งสองในฐานะบุตรสาวและบุตรเขย และศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้องทั้งสอง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องทั้งสองไม่เป็นบริวารของจำเลย และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่และบังคับคดีที่ดิน/บ้าน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกสร้างในที่ดินพร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 36,000 บาท จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,500 บาท คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้อง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องไม่เป็นบริวารของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทซึ่งคู่ความในส่วนของคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ คดีในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้อง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องไม่เป็นบริวารของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทซึ่งคู่ความในส่วนของคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ คดีในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการสิ้นสุดสิทธิอาศัยเมื่อมีสัญญาเช่าและโอนมรดก
โจทก์เป็นผู้เยาว์อายุ 17 ปี เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ น. กับ ผ. โจทก์แป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามฟ้องโดยการรับมรดกจาก ผ. จำเลยเคยเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทแม้จะทำสัญญาเช่ากับ น. ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ผ. แต่ก็ทำสัญญาเช่าหลังจากที่ ผ. ถึงแก่ความตายแล้ว น. จึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วย และไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ให้เช่าจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทจึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1402 บัญญัติว่า "บุคคลใดได้รับสิทธิอาศัยในโรงเรือนบุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า" จะเห็นได้ว่า สิทธิอาศัยมีได้แต่เฉพาะสิทธิที่จะอยู่อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบ้านดังกล่าวเป็นของจำเลยเอง และโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไปเมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1402 บัญญัติว่า "บุคคลใดได้รับสิทธิอาศัยในโรงเรือนบุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า" จะเห็นได้ว่า สิทธิอาศัยมีได้แต่เฉพาะสิทธิที่จะอยู่อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบ้านดังกล่าวเป็นของจำเลยเอง และโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไปเมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยจำกัดเฉพาะโรงเรือนของผู้อื่น การบอกกล่าวรื้อถอน และการฟ้องขับไล่เมื่อหมดสัญญาเช่า
สิทธิอาศัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1402 มีได้แต่เฉพาะสิทธิที่จะอยู่อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นเท่านั้น เมื่อบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยเอง และโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่มีสิทธิอาศัย โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6448/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และประเด็นการห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องและขอให้เรียการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมได้ เนื่องจากมีอาคารของจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารที่ปลูกอยู่และส่งมอบที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็คือจำเลยไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไป และไม่ยอมรื้อถอนอาคารของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ส่วนคำขอบังคับก็คือให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารและส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์รวมทั้งใช้ค่าเสียหาย ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่า โจทก์ร่วมบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยหรือไม่ อย่างไร และจำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนอาคารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แม้จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 3,200 บาท หรือเดือนละ 96,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 96,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนอาคารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แม้จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 3,200 บาท หรือเดือนละ 96,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 96,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดส่งผลถึงกรรมสิทธิ์และอำนาจฟ้องคดีขับไล่
ภายหลังจากโจทก์ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์พิพาทมาจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์ได้ยื่นฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ส่วนจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ต่อมาระหว่างคดีนี้อยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดแล้วดำเนินการขายทอดตลาดใหม่ คดีถึงที่สุด ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท การโต้แย้งสิทธิของโจทก์จึงสิ้นสุดลง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยสิ้นสุดเมื่อรื้อถอนโรงเรือน การปลูกสร้างใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิใหม่ เจ้าของที่ดินมีสิทธิขับไล่
แม้การอยู่อาศัยที่ ป. ได้ให้ไว้แก่ ฮ. และจำเลยที่ 1 จะเป็นบุคคลสิทธิใช้ยันโจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ปฏิบัติตามได้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1402 บัญญัติว่า "บุคคลใดรับสิทธิอาศัยในโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า" และมาตรา 1408 บัญญัติว่า "เมื่อสิทธิอาศัยสิ้นลงผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้อาศัย" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเลขที่ 30 (เดิม) ซึ่งเป็นโรงเรือนได้ถูกรื้อถอนไปแล้วโดยจำเลยทั้งสองเช่นนี้ สิทธิอาศัยที่ ฮ. และจำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับ ป. ย่อมสิ้นลงจึงไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยตามบทกฎหมายข้างต้น การที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ขึ้นแทนภายหลังจากที่ ป. ถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่แต่อย่างใดไม่ และการที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ในที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอม บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 ทั้งเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน่ของผู้อื่นโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1311 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) เช่นนี้พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ประสงค์จะให้บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ซึ่งเป็นโรงเรือนคงอยู่ตามมาตรา 1311
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินผูกพันคดีขับไล่ภายหลังได้
ในคดีก่อนโจทก์บังคับคดีขับไล่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นบริวารของ บ. ให้ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่พิพาทเดียวกันกับคดีนี้ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลยเพราะที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง เมื่อคำร้องดังกล่าวตั้งประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีดังกล่าวจึงมีว่า ที่ดินเนื้อที่ 30 ไร่ ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องนั้นเป็นของโจทก์หรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องและผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่ผู้ร้อง ดังนี้ คำวินิจฉัยที่รับฟังว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นคำวินิจฉัยที่มีประเด็นแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ผลแห่งคำวินิจฉัยย่อมผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องถือตามว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของผู้ร้อง หรือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1
เมื่อคดีแพ่งของศาลชั้นต้น มี บ. เป็นโจทก์ ว. และ ด. เป็นจำเลย โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความด้วย คำวินิจฉัยที่ให้ บ. ชนะคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มาด้วยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยิมยอมของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิในที่พิพาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยินยอมของเจ้าของที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3
เมื่อคดีแพ่งของศาลชั้นต้น มี บ. เป็นโจทก์ ว. และ ด. เป็นจำเลย โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความด้วย คำวินิจฉัยที่ให้ บ. ชนะคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มาด้วยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยิมยอมของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิในที่พิพาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยินยอมของเจ้าของที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหลังหย่า: โอนกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างแทนค่าชดเชยผูกพันโจทก์ไม่อาจฟ้องขับไล่
คำพิพากษาของศาลจังหวัดนครปฐมแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์ปฏิบัติ การที่โจทก์เลือกที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวและอาคารพาณิชย์ให้แก่จำเลยแทนการชำระเงิน หรือนำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งให้จำเลย ก็แสดงชัดเจนในตัวว่าโจทก์ยอมให้สิ่งปลูกสร้างซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์เพื่อให้จำเลยนำออกให้เช่าและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในลักษณะสิทธิเหนือพื้นดิน เมื่อจำเลยตกลงด้วยตามบันทึกข้อตกลงจึงเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นโดยผลของการปฏิบัติตามคำพิพากษาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกหรือปฏิบัติให้เป็นอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างของจำเลยซึ่งได้มาโดยผลแห่งคำพิพากษาตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์เพื่อเก็บดอกผลค่าเช่าต่อไป ที่จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์ก็เป็นการอาศัยสิทธิตามคำพิพากษาจึงไม่เป็นละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10852/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านเป็นโมฆะจากดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลย
จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 350,000 บาท และค้างชำระดอกเบี้ยโจทก์ต่อมาสามีจำเลยได้ทำสัญญาขายบ้านพิพาทให้โจทก์ในราคา 590,000 บาท โดยมีการโอนหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์จำนวน 590,000 บาท แทนการชำระราคาบ้าน เมื่อพิจารณาดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระโจทก์แล้วนำมารวมกับต้นเงินกู้เป็นเงินที่ชำระราคาซื้อขายบ้านพิพาทนั้น เป็นการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทจึงเกิดจากหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาบ้านพิพาทที่กำหนดในสัญญาจะรวมเอาต้นเงินกู้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์และสามีจำเลยมิได้มีเจตนาจะแบ่งแยกซื้อขายบ้านบางส่วนในราคาต้นเงิน 350,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระอยู่ สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับสามีจำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทไม่ได้