พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8986-8997/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ชุมนุมประท้วงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 คำว่า "การนัดหยุดงาน" หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน แสดงว่าการนัดหยุดงานเป็นวิธีการของฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อบังคับฝ่ายนายจ้างให้ยอมรับตามข้อเรียกร้องของตนในการเจรจาต่อรองโดยวิธีการร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างพร้อมกันเท่านั้น แต่การกระทำอย่างอื่น เช่น การปิดกั้นหรือการชุมนุมโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่นนั้นย่อมมิใช่การนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงานแต่อย่างใด และเมื่อมิใช่การนัดหยุดงานและไม่มีกฎหมายระบุให้กระทำได้โดยไม่ต้องรับผิด ดังเช่นที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 99 แล้ว ผู้กระทำย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับพวกมีการใช้กำลังฝ่าฝืนดึงดันเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมโดยไม่ฟังการห้ามปรามของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยและบริษัท จ. มีการนำเต็นท์ขนาดใหญ่ เครื่องขยายเสียงและสุขาเคลื่อนที่เข้าไปติดตั้ง นำรถยนต์และรถจักรยานยนต์เข้าไปจอด ใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยส่งเสียงรบกวนการทำงานของพนักงานจำเลยและบริษัท จ. ที่ไม่ได้หยุดงานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันชุมนุมโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 99 (4) โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อการชุมนุมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7842/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการไม่มีสิทธิฎีกาของคู่ความที่ไม่เกี่ยวข้อง
การที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายสำหรับสิทธิเรียกร้องของบริษัท น. จำเลยที่ 1 ในคดีของศาลล้มละลายกลางหมายเลขแดงที่ ฟ.45/2553 หรือไม่นั้น เป็นเรื่องระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับโจทก์โดยเฉพาะ มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ทั้งในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็มิได้มีการวินิจฉัยกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับว่า โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีอาญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากโจทก์ไม่มาตามนัดพร้อม และการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย ซึ่งคำว่า "กำหนดนัด" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึง กำหนดนัดไต่สวนหรือกำหนดนัดพิจารณา แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความว่า โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยและกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งมิใช่วันนัดพิจารณาคดี กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 181 ที่ศาลจะยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย องค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้แม้ไม่ได้ยกขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 353 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของโจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลบริหารจัดการด้านการบริหาร การเงิน วางแผนการดำเนินการรวมถึงงบประมาณของโจทก์ และรับผิดชอบงานอื่นตามที่โจทก์มอบหมายแล้วจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยรับจัดงาน จัดกิจกรรมของการกีฬาแห่งประเทศไทยอันเป็นงานที่มีลักษณะเดียวกับกิจการของโจทก์ โดยกระทำในนามของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน ซึ่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองทรัพย์ของผู้ที่มอบหมาย การที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานต่าง ๆ ของโจทก์ตามฟ้องจึงมิใช่การได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 เห็นว่า การกระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำความผิดต่อนิติบุคคลที่บุคคลนั้นต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยรับจัดงาน จัดกิจกรรมของการกีฬาแห่งประเทศไทยอันเป็นงานที่มีลักษณะเดียวกันกับกิจการของโจทก์ โดยกระทำในนามของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้น เป็นการกระทำที่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่นคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย มิใช่การกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์หรือขาดรายได้ ก็มิได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมากไปกว่าเดิมในลักษณะที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน หรือสูญเสียประโยชน์ที่เคยเป็นของโจทก์มาก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่โจทก์ฟ้องว่ากระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523-530/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินรางวัลประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องคืนเงิน
เงินรางวัลประจำปี ประจำปีงบประมาณ 2551 ที่โจทก์ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายแก่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเทศบาลในสังกัดของโจทก์ ไม่ใช่เงินตอบแทนอื่น ๆ อันเป็นรายจ่ายตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 67 (3) จึงเป็นการจ่ายนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ไม่อาจกระทำได้ จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิในเงินนั้นและต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์
การที่มีการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นให้เป็นรายจ่ายอื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2557 ภายหลังจากที่โจทก์จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษแก่จำเลยไปแล้ว แสดงว่ากระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลโจทก์ยอมรับว่าการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษได้ต้องออกเป็นระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษเป็นรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นรายจ่ายตามมาตรา 67 (9) มิใช่รายจ่ายตามมาตรา 67 (3)
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นให้เป็นรายจ่ายอื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2557 ข้อ 7 กำหนดให้การจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ประกาศคณะกรรมการกลาง ประกาศคณะกรรมการจังหวัด หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นรายจ่ายที่จ่ายได้ตามระเบียบนี้ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลเป็นการรับรองว่าการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษที่ได้กระทำไปก่อนระเบียบดังกล่าวใช้บังคับเป็นไปโดยชอบ
ประกาศคณะกรรมการต่าง ๆ และหนังสือสั่งการอื่น ๆ ไม่ใช่กฎหมายที่กำหนดให้เงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษเป็นรายจ่ายที่โจทก์สามารถจ่ายได้ จำเลยจึงนำมาอ้างเพื่อแสดงว่าการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปโดยชอบหาได้ไม่
การที่มีการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นให้เป็นรายจ่ายอื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2557 ภายหลังจากที่โจทก์จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษแก่จำเลยไปแล้ว แสดงว่ากระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลโจทก์ยอมรับว่าการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษได้ต้องออกเป็นระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษเป็นรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นรายจ่ายตามมาตรา 67 (9) มิใช่รายจ่ายตามมาตรา 67 (3)
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นให้เป็นรายจ่ายอื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2557 ข้อ 7 กำหนดให้การจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษอันมีลักษณะเป็นเงินรางวัลประจำปีตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ประกาศคณะกรรมการกลาง ประกาศคณะกรรมการจังหวัด หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นรายจ่ายที่จ่ายได้ตามระเบียบนี้ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลเป็นการรับรองว่าการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษที่ได้กระทำไปก่อนระเบียบดังกล่าวใช้บังคับเป็นไปโดยชอบ
ประกาศคณะกรรมการต่าง ๆ และหนังสือสั่งการอื่น ๆ ไม่ใช่กฎหมายที่กำหนดให้เงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษเป็นรายจ่ายที่โจทก์สามารถจ่ายได้ จำเลยจึงนำมาอ้างเพื่อแสดงว่าการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปโดยชอบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลและสถานที่จับกุม: การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
เจ้าพนักงานตำรวจภูธรแหลมฉบังเข้าจับกุมจำเลยที่อพาร์ตเมนต์ชื่อ ศ. เฮ้าส์ ท้องที่ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2554 เวลา 15.52 นาฬิกา ตามที่จำเลยต่อสู้ หาใช่จับกุมที่หน้าร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ท บริเวณตลาดสี่มุมเมือง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 เวลา 2.30 นาฬิกา ดังที่ผู้จับกุมกล่าวอ้างไม่ เหตุคดีนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม การสอบสวนคดีนี้จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นผลให้พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นต้องแจ้งวาระการประชุมที่สำคัญชัดเจน การลงมติถอดถอนกรรมการนอกวาระที่แจ้งไว้ถือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อความในหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดให้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 วรรคสอง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวกฎหมายมุ่งประสงค์ให้คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็นการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นของบริษัททราบล่วงหน้า นอกจากจะแจ้งว่าบริษัทจะจัดให้มีการประชุมใหญ่ในวัน เวลา และสถานที่ใดแล้ว ยังกำหนดให้แจ้งถึงสภาพกิจการที่จะได้ประชุมกัน และหากเป็นการเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษก็ต้องระบุข้อความที่จะให้ลงมติอีกด้วย เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จะประชุมกันได้อย่างเต็มที่ สำหรับสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันซึ่งจะต้องระบุไว้ในคำบอกกล่าวนั้น คือเรื่องหรือกิจการที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญหรือกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้น และไม่จำต้องเป็นเรื่องเฉพาะสภาพการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือต้องเป็นเรื่องที่ต้องลงมติพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจารณาสำเนาหนังสือขอเชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 แล้ว เห็นได้ว่า ได้ระบุถึงสภาพแห่งกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติเพียง 3 เรื่อง โดยระบุไว้เป็นวาระที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีวาระเรื่องการพิจารณาถอดถอนกรรมการของจำเลยที่ 1 ส่วนวาระที่ 4 ระบุว่าพิจารณาเรื่องอื่น (ถ้ามี) นั้น ไม่เป็นการระบุถึงสภาพกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาลงมติ ทั้งผู้ถือหุ้นไม่มีโอกาสเตรียมตัวที่จะมาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้เนื่องจากไม่ทราบว่าจะมีการพิจารณาเพื่อลงมติในเรื่องใดบ้าง หรือกล่าวได้ว่าวาระการประชุมเรื่องอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ซึ่งในเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1151 ได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะถอดถอนได้ แสดงว่าเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทเป็นเรื่องสำคัญ และเห็นได้ว่าเป็นการกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นเนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอำนาจบริหารกิจการและดูแลผลประโยชน์แทนตน ผู้ถือหุ้นจึงชอบที่จะได้รับทราบโดยการแจ้งถึงเรื่องดังกล่าวล่วงหน้าเพื่อได้เตรียมตัวก่อนเข้าร่วมพิจารณาในที่ประชุม การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ โดยไม่มีวาระเรื่องการถอดถอนโจทก์ดังกล่าวในคำบอกกล่าวเรียกประชุม เป็นการพิจารณาและลงมตินอกวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดมาตราส่วนโทษเกินอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายในคดียาเสพติด ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยแล้วเห็นว่า พฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราขั้นต่ำตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 แต่เห็นสมควรลงโทษจำเลยเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 76 ซึ่งความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงระวางโทษที่จะลงแก่จำเลยจำคุกตั้งแต่สี่เดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่หกพันหกร้อยหกสิบหกบาทหกสิบหกสตางค์ถึงสี่หมื่นบาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 76 แล้วจำคุก 3 เดือน เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีมีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท
ฟ้องแย้งของจำเลยขอห้ามมิให้โจทก์กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการถือครองที่ดินของจำเลย และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย 300,000 บาท แก่จำเลย ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ย่อมมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้รับการบังคับตามกฎหมาย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีสภาพเป็นเพียงคำให้การ ส่วนเรื่องค่าเสียหาย จำเลยอ้างเหตุมูลละเมิดเนื่องจากถูกโจทก์ฟ้อง เป็นคนละเรื่องกับคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ฟ้องแย้งในส่วนนี้เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมินตารางวาละ 300 บาท คิดเป็นทุนทรัพย์พิพาท 21,000 บาท ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมินตารางวาละ 300 บาท คิดเป็นทุนทรัพย์พิพาท 21,000 บาท ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและอายุความฟ้องคดี
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกทำหนังสือให้โจทก์ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้เยาว์สละมรดกของ ต. โดยไม่ได้รับความยินยอมของ ม. มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ และไม่ได้รับอนุญาตจากศาล อันเป็นการมิชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1611 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดการแบ่งมรดกโดยโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ และถือไม่ได้ว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งการจัดการมรดกดังกล่าวเป็นการจัดการไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง