พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันจากการประนีประนอมยอมความในคดีรถชน: เจ้าของรถไม่ต้องรับผิด
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้น ถ้าไม่มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คงมีแต่คำรับผิดในชั้นสอบสวนเท่านั้น ก็ไม่เข้าเกณฑ์มาตรานี้
คดีรถชนกัน การที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบ และทำเอกสารไว้เป็นหลักฐานว่าเรื่องที่เกิดขึ้นโดยจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โดยจะไปทำความตกลงกันที่อู่ซ่อมรถ ถือได้ว่าเป็นการประนีประนอมยอมความกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ซึ่งผูกมัดจำเลยที่ 1 ไม่ให้โต้แย้งว่าตนมิได้ขับรถโดยประมาทได้ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกผูกมัดด้วย ศาลจะต้องพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่อไปว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท
คดีรถชนกัน การที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบ และทำเอกสารไว้เป็นหลักฐานว่าเรื่องที่เกิดขึ้นโดยจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โดยจะไปทำความตกลงกันที่อู่ซ่อมรถ ถือได้ว่าเป็นการประนีประนอมยอมความกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ซึ่งผูกมัดจำเลยที่ 1 ไม่ให้โต้แย้งว่าตนมิได้ขับรถโดยประมาทได้ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกผูกมัดด้วย ศาลจะต้องพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่อไปว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันการชำระหนี้มีผลผูกพันตลอดระยะบังคับคดี
ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับแก่จำเลยโดยต้องมีประกัน เมื่อผู้ค้ำประกันเข้าทำสัญญาประกันต่อศาลว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ให้ตลอดจนค่าธรรมเนียมศาลด้วย ดังนี้จะถือว่า สัญญาประกันมีผลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นไม่ได้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตลอดไปจนกว่าการบังคับคดีจะเสร็จสิ้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย: หลักฐานเป็นหนังสือและผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.538 ที่ว่าถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น มิได้หมายความแต่ผู้ที่จะต้องเป็นโจทก์ฟ้องร้องอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการต่อสู้คดีด้วย เพราะการบังคับคดีย่อมทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
(อ้างฎีกาที่ 415/2501)
ผู้เช่าพร้อมที่จะทำสัญญาเช่าและลงชื่อในสัญญาในฐานะเป็นผู้เช่าแล้ว แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ให้เช่า เอกสารดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่หลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 538
การที่จำเลยอ้างว่าได้ตกลงเช่ากันและได้ชำระเงินกินเปล่ากับค่าเช่าให้โจทก์ไปแล้วนั้น หากจะได้ชำระไปจริงและได้ตกลงกันจริง แต่เมื่อไม่มีหลักฐานแห่งการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นฝ่ายที่จำเลยจะให้รับผิดตามสัญญา จำเลยก็ยกสิทธิแห่งการเช่าขึ้นอ้างยันต่อโจทก์ไม่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 1175/2502)
(อ้างฎีกาที่ 415/2501)
ผู้เช่าพร้อมที่จะทำสัญญาเช่าและลงชื่อในสัญญาในฐานะเป็นผู้เช่าแล้ว แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ให้เช่า เอกสารดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่หลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 538
การที่จำเลยอ้างว่าได้ตกลงเช่ากันและได้ชำระเงินกินเปล่ากับค่าเช่าให้โจทก์ไปแล้วนั้น หากจะได้ชำระไปจริงและได้ตกลงกันจริง แต่เมื่อไม่มีหลักฐานแห่งการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นฝ่ายที่จำเลยจะให้รับผิดตามสัญญา จำเลยก็ยกสิทธิแห่งการเช่าขึ้นอ้างยันต่อโจทก์ไม่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 1175/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยตกลงกัน: ผลผูกพันตามมาตรา 1750 และการถือปฏิบัติตามข้อตกลง
โจทก์จำเลยเป็นทายาทรับมรดกร่วมกัน ได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและเข้าครอบครองทรัพย์เป็นส่วนสัดกันไปแล้วนั้น การตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกเช่นนี้ชอบด้วยมาตรา1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งใหม่ให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้วอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมตามยอม และข้อจำกัดในการโต้แย้งภายหลัง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับไว้โดยไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และศาลได้พิพากษาไปตามนั้นแล้ว เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าสัญญายอมขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ต้อง อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่า นี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 จำเลยจะมาร้องขอให้งดการบังคับคดี โดยอ้างเหตุดังกล่าว และขอให้ศาลไต่สวนหาความจริงตามคำร้องของจำเลยนั้น หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของข้าราชการ & ผลคดีอาญาที่มีผลผูกพันคดีแพ่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะที่เป็นบุคคลธรรมดาโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการในขอบเขตแห่งวงหน้าที่ราชการ ย่อมมีอำนาจเป็นคู่ความในศาลได้เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าง ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาการแทนปลัดจังหวัดก็ย่อมเป็นบุคคลที่จะเป็นโจทก์ฟ้องร้องได้ในฐานเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 ที่ว่าคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง นั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จะต้องรับฟังตามคำพิพากษาในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ด้วย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 ที่ว่าคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง นั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จะต้องรับฟังตามคำพิพากษาในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมยินยอมให้จำนองทรัพย์ส่วนรวม การจำนองมีผลผูกพันกับส่วนของผู้ยินยอม
จำเลยเอาห้องแถวซึ่งผู้ร้องเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ไปจำนองกับโจทก์ไว้ โดยผู้ร้องรู้เห็นยินยอมด้วย การจำนองรายนี้จึงมีผลพูกพันทรัพย์ที่ยึดซึ่งเป็นส่วนของผู้ร้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมยินยอมจำนองทรัพย์ส่วนรวม มีผลผูกพันกับส่วนของผู้ยินยอม
จำเลยเอาห้องแถวซึ่งผู้ร้องเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยไปจำนองกับโจทก์ไว้ โดยผู้ร้องรู้เห็นยินยอมด้วยการจำนองรายนี้จึงมีผลผูกพันทรัพย์ที่ยึดซึ่งเป็นส่วนของผู้ร้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004-1005/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันในคดีอาญา: ผลผูกพันต่อเนื่องแม้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง & ศาลไม่มีหน้าที่วินิจฉัยเหตุจำเลยไม่มาศาล
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ขังจำเลยไว้ หรือให้เรียกประกันระหว่างฎีกา แต่ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาต สัญญาประกันดังกล่าวนี้ ยังคงมีผลสมบูรณ์ตลอดถึง คดีอยู่ระหว่างฎีกา เพราะสัญญาประกันในคดีอาญาจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด เว้นแต่มีการถอนการตาย การผิดสัญญาประกัน หรือศาลสั่งยกเลิก ผู้ประกันจะอ้างว่าได้ทำสัญญาประกันโดยเข้าใจผิดหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2503)
ถ้าผู้ประกันร้องเป็นประเด็นแต่ข้อเดียวว่า สัญญาประกันไม่ผูกพันเพราะไม่มีเหตุหรือมูลหนี้เท่านั้นศาลก็ย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะเอื้อมไปวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ไปศาลตามหมายนัดเพราะอะไร
ในคดีอาญา แม้โจทก์จำเลยต่างเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน หรือมีกรณีเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันเกิดขึ้น อัยการก็ย่อมมีอำนาจฎีกาได้
ถ้าผู้ประกันร้องเป็นประเด็นแต่ข้อเดียวว่า สัญญาประกันไม่ผูกพันเพราะไม่มีเหตุหรือมูลหนี้เท่านั้นศาลก็ย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะเอื้อมไปวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ไปศาลตามหมายนัดเพราะอะไร
ในคดีอาญา แม้โจทก์จำเลยต่างเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน หรือมีกรณีเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันเกิดขึ้น อัยการก็ย่อมมีอำนาจฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004-1005/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันในคดีอาญา: ผลผูกพันหลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง และความรับผิดของผู้ประกัน
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ขังจำเลยไว้หรือให้เรียกประกันระหว่างฎีกา แต่ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาต สัญญาประกันดังกล่าวนี้ยังคงมีผลสมบูรณ์ตลอดถึงคดีอยู่ระหว่างฎีกา เพราะสัญญาประกันในคดีอาญาจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด เว้นแต่มีการถอน การตาย การผิดสัญญาประกัน หรือศาลสั่งยกเลิก ผู้ประกันจะอ้างว่าได้ทำสัญญาประกันโดยเข้าใจผิดหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2503)