คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อการถอนเงินปลอมแปลงจากบัญชีเงินฝาก แม้โจทก์มอบหมายพนักงานดูแลบัญชี
การที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์ดูแลสมุดบัญชีนับว่าเป็นเรื่องปกติ มิได้หมายความว่าบุคคลที่ได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเสมอไป จะไม่มีการทุจริตแต่อย่างใด การที่โจทก์มอบหมายสมุดเงินฝากไว้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท
จำเลยที่ 5 จะมีลายมือชื่อของลูกค้าไว้เปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบได้และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 5 จะต้องตรวจสอบความถูกต้องเนื่องจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพและได้รับผลประโยชน์จากการประกอบธุรกิจดังกล่าว เพราะต้องเกี่ยวข้องกับประชาชนที่เข้าใช้บริการกับจำเลยที่ 5 ด้วยเหตุที่เป็นอาชีพและปริมาณลูกค้าจำนวนมาก จำเลยที่ 5 ย่อมต้องมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้ารวมทั้งโจทก์ และเมื่อพิจารณาลายมือชื่อของ ม. กับ ร. ตามใบถอนเงินแล้วจะเห็นได้ว่าไม่เหมือนกับลายมือชื่อของ ม. และ ร. ที่ให้ไว้เป็นตัวอย่างแก่จำเลยที่ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำที่ไม่เคยมีการถอนเงินมาก่อน และในการถอนเงินครั้งแรกเป็นการมอบอำนาจให้รับเงิน แต่ไม่ปรากฏว่ามีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ ม. และ ร. และการจ่ายเงินทุกครั้งก็จ่ายเป็นเงินสด เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า หากจำเลยที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวังเหตุทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงพนักงานของจำเลยที่ 5 ถือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 5 มิได้เป็นผู้กระทำละเมิดโดยตรงต่อโจทก์ หากแต่เป็นการกระทำโดยตรงต่อจำเลยที่ 5 เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 5 จะดำเนินการกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะต้องรับผิดทั้งต่อโจทก์และจำเลยที่ 5 ในการกระทำความผิดครั้งเดียว ย่อมทำให้ต้องรับผิดเกินกว่าความเสียหายจริง แต่จำเลยที่ 5 มิได้นำเงินของโจทก์ไป หากแต่จำเลยที่ 1 เอาเงินของจำเลยที่ 5 ไป จำเลยที่ 5 เพียงแต่ต้องปรับแก้บัญชีของโจทก์ที่ระบุว่ามีการถอนเงินออกไปให้กลับคืนเหมือนเดิม และเงินดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 5 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12017/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากรถหายในโครงการ เพราะไม่มีหน้าที่ตามสัญญาหรือกฎหมายดูแลทรัพย์สินผู้เช่า
จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการที่เกิดเหตุที่รถซึ่งโจทก์รับประกันภัยสูญหายจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 4 ประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ทรัพย์สิน อันเป็นการทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ที่ว่าทำต่อบุคคลอื่น หมายถึง ทำหรือการกระทำต่อสิทธิของบุคคลอื่น ซึ่งรวมถึงการงดเว้นไม่กระทำกรณีมีหน้าที่ต้องกระทำด้วย โดยหน้าที่ดังกล่าวรวมถึงหน้าที่ตามสัญญา หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์และหน้าที่ตามกฎหมาย สำหรับหน้าที่ตามสัญญาไม่ปรากฏว่ามีสัญญาระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย สำหรับตามสัญญาจ้างเหมาดูแลรักษาความปลอดภัยเป็นสัญญาระหว่างจำเลยที่ 4 กับฝ่ายจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยเป็นการจ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 เท่านั้น ไม่ได้จ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้พักอาศัยหรือผู้เช่าห้องพักในโครงการด้วยแต่อย่างใด จำเลยที่ 4 จึงไม่มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เช่าห้องในโครงการ ส่วนหน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ก็ได้ความว่าทางปฏิบัติจำเลยที่ 4 ไม่ได้จัดให้มีการตรวจรถที่แล่นเข้าออกโครงการ ไม่ได้จัดให้มีการแลกบัตรหรือแจกบัตรแก่ผู้ขับรถเข้าออกโครงการ อันอาจทำให้เห็นเป็นปริยายถึงพฤติกรรมของจำเลยที่ 4 ว่าจำเลยที่ 4 มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เช่าห้องในโครงการ สำหรับหน้าที่ตามกฎหมายคือ ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ มาตรา 546 ถึงมาตรา 551 ก็ไม่ได้บัญญัติให้จำเลยที่ 4 ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่ดังกล่าว ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ผู้ให้เช่า ประมาทเลินเล่อทำต่อผู้เช่าห้องในโครงการโดยผิดกฎหมายให้ผู้เช่าเสียหายแก่รถที่โจทก์รับประกันภัยอันจะเป็นการทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เช่ารวมทั้งโจทก์ผู้รับประกันภัย โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทต่อหนี้จากการประมูลทอดตลาดที่ไม่สมบูรณ์ และอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ศาลแพ่งมีคำสั่งเพิกถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ผู้ตาย และแต่งตั้ง ก. เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. แทน ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกในคดีนี้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
อ. ผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ได้เงินสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม อ. ผู้สู้ราคาเดิมต้องรับผิดในส่วนที่ขาดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 516 แห่ง ป.พ.พ. การกระทำของ อ. ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง เนื่องจากโจทก์ผู้เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เดิมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งถือว่ามีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 280 (1) แห่ง ป.วิ.พ. กล่าวคือ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากขายได้ราคาสูงหรือต่ำย่อมมีผลต่อการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการบังคับเอาเงินส่วนที่ขาดไปจาก อ. ผู้สู้ราคาสูงสุดคนเดิม มิใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดเท่านั้นที่จะมีอำนาจบังคับเอาจาก อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17872/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชอบความเสียหายจากเอกสารถูกปลอมแปลงและเบิกถอนเงิน หากพนักงานมิได้ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง
ภ. ได้นำหนังสือเดินทางและสมุดบัญชีคู่ฝากเงินของโจทก์ กับใบมอบฉันทะให้เบิกถอนเงินซึ่งมีการปลอมลายมือชื่อโจทก์มายื่นถอนเงิน ณ. พนักงานของจำเลยตรวจสอบเอกสารแล้วลงลายมือชื่อในช่องผู้รับ ผู้บันทึกรายการเป็นคนแรก แล้วนำเอกสารดังกล่าวให้ ส. ตรวจสอบอีกครั้ง แต่ ส. ไม่ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับมอบอำนาจในใบถอนเงิน จึงน่าสงสัยว่า ส. ได้ตรวจสอบลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินแล้วจริงหรือไม่ กรณีชาวต่างชาติมอบฉันทะให้ถอนเงินในบัญชีจนหมดหรือเกือบหมด พนักงานจำเลยจะโทรศัพท์สอบถามเจ้าของบัญชีก่อน ส. เบิกความว่า โทรศัพท์ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ในคำขอเปิดบัญชีแต่ติดต่อไม่ได้ ญ. เบิกความว่า โทรศัพท์ติดต่อกับโจทก์แต่ติดต่อไม่ได้ เห็นว่า พยานจำเลยมีแต่พนักงานจำเลยกล่าวอ้างลอย ๆ มีน้ำหนักน้อยรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า พนักงานจำเลยผู้รับฝากเงินมิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าของจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ ปัญหาต่อไปว่าโจทก์มีส่วนผิดด้วยหรือไม่ โจทก์เก็บสมุดคู่ฝากและหนังสือเดินทางกับบัตรเอทีเอ็มไว้ในกระเป๋าเดินทางซึ่งเก็บอยู่ในห้องพัก เอกสารดังกล่าวถูกลักไปจากห้องพักโดยการงัดกระเป๋าเดินทาง เห็นว่า โจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังโดยการเก็บเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ส่วนกุญแจห้องพักสำรองนั้น ภ. ไปยืมกุญแจจากพี่ชายไปไขเข้าห้องพักของโจทก์และลักเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าว หาใช่โจทก์มอบกุญแจสำรองให้ ภ. กรณียังถือไม่ได้ว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์เช่นกัน ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่ถูกถอนไปแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15640/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการรับผิดต่อการผิดสัญญาตัวแทน แม้จะรู้เห็นการรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยโดยตรงจากลูกค้า
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่จำเลยรับไว้แทนโจทก์แล้วค้างชำระไม่ส่งมอบคืนภายในกำหนด อันเป็นกรณีตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีไม่มีเหตุจะนำพฤติการณ์ที่จำเลยรู้หรือไม่รู้เรื่องที่ ธ. ตัวแทนของจำเลยรับกรมธรรม์ประกันภัยไปจากโจทก์มาพิจารณาประกอบในการกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15083/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการต่างประเทศ ต้องรับผิดตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ขนส่งเอง
จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่เข้าทำสัญญาขนส่งกับโจทก์แทนจำเลยที่ 2 ตัวการ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 824 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6298/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่าไฟฟ้าหลังการขายทรัพย์สิน: จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าไฟฟ้าต่อเนื่องจนกว่าจะแจ้งยกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้า
นับตั้งแต่โจทก์อนุมัติและติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าพร้อมทั้งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้จำเลยตั้งแต่ปี 2518 จำเลยยังไม่เคยแจ้งบอกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้าแก่ผู้อื่นให้โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยย่อมต้องรับผิดชอบในการชำระค่าไฟฟ้าที่ใช้ไปในบ้านหลังดังกล่าวตลอดไป แม้จำเลยได้ขายบ้านพร้อมที่ดินที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าไปตั้งแต่ปี 2537 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกการใช้ไฟฟ้า หากจะมีผู้อื่นครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้ายังถือว่า จำเลยและผู้ครอบครองเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันในการชำระค่าไฟฟ้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17002/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายบ้านต่อความชำรุดบกพร่องที่ซ่อนเร้นและไม่สามารถตรวจพบได้ง่าย
การผุกร่อนของเหล็กเส้นที่ถูกสนิมกัดกินคานบ้านเป็นความชำรุดบกพร่องที่เป็นเหตุเสื่อมราคาและเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ เมื่อโจทก์ซื้อบ้านเพื่อจะใช้อยู่อาศัยและคู่สัญญาซื้อขายไม่ได้ตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 483 ความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 472
แม้ก่อนจะมีการโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบบ้านให้แก่โจทก์นั้น โจทก์ได้เข้าไปตรวจดูบ้านถึง 4 ครั้ง กับใช้กล้องวิดีโอถ่ายสภาพบ้านนำไปให้ญาติของโจทก์ช่วยกันพิจารณาสภาพบ้านด้วยก็ตาม แต่ในส่วนโครงเหล็กของคานชั้น 2 อยู่บริเวณเหนือฝ้า การจะตรวจดูต้องทุบแล้วรื้อฝ้าออกจึงจะพบเห็น ไม่ใช่กรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบและโจทก์ผู้ซื้อทรัพย์รับเอาบ้านไว้โดยมิได้อิดเอื้อน ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ขอเปิดฝ้าเพื่อตรวจดูคานนั้น ก็เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ไม่น่าจะคาดคิดว่าคานบ้านชั้น 2 ซึ่งไม่ได้อยู่ใกล้พื้นดินหรือความชื้นจะเกิดสนิมที่เหล็กเส้นจนผุกร่อน จนต้องขอเปิดฝ้าดูเพื่อตรวจสอบ กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน อันจะทำให้จำเลยทั้งสองผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องในกรณีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 (1) และ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16973/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทต้องมีหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การออกเช็คเพื่อหนี้ที่ไม่สามารถฟ้องบังคับได้ ถือว่าจำเลยไม่ต้องรับผิด
การออกเช็คที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 นั้น องค์ประกอบที่สำคัญคือ เช็คดังกล่าวจะต้องเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเช็คที่ไม่อาจฟ้องบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์นำเช็คมาฟ้องเป็นคดีนี้ให้จำเลยรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15911/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยตัวแทน การรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก และการจดทะเบียนรถยนต์
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทของจำเลยที่ 1 โดยติดต่อกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ไปเกินอำนาจหรือนอกขอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ได้มอบหมาย โดยขายต่ำกว่าราคาต้นทุน และไม่มีอำนาจรับเงินแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ทางปฏิบัติของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการมีมูลเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทน ที่ให้ส่วนลดและของแถมแก่ลูกค้าและมีอำนาจรับเงินแทนจำเลยที่ 1 อยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนดังเช่นที่จำเลยที่ 2 เคยรับเงินค่าจองรถยนต์จาก พ. ไปแล้ว ไม่มีปัญหาอย่างใด จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 และเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทกับโจทก์โดยเห็นแก่อามิสสินจ้างตามมาตรา 825 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติมาตรา 823 และมาตรา 825 เพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดตามที่ฎีกาได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โดยครบถ้วนและโดยสุจริตแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์และมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์
of 69