พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนและหลังสมรส สินเดิม สินส่วนตัว สินสมรส และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยเป็นภรรยาผู้ตาย โจทก์,จำเลยแถลงรับกันว่าทรัพย์หมาย ก. 1 เดิมเป็นของผู้ตายมาแต่ก่อนที่ได้ทำการสมรสกับจำเลย เมื่อผู้ตายกับจำเลยสมรสกันแล้ว ผู้ตายได้โอนทรัพย์แปลงนั้นให้แก่บิดาจำเลย ต่อมาบิดาจำเลยจึงได้โอนให้จำเลยในระหว่างสมรสนั้น ฟ้องโจทก์ก็กล่าวความท้าวถึงข้อเท็จจริงเช่นว่านี้ แล้วอ้างว่าทรัพย์หมาย ก. 1 จึงกลับคืนเป็นสินเดิมอีกวาระหนึ่ง หรือมิฉะนั้นก็เป็นทรัพย์ที่ทดแทนสินเดิมที่ขาดไป ฉะนั้นที่โจทก์แถลงรับในรายงานพิจารณาว่าเป็นสินสมรส จึงมิได้หมายความว่าสินสมรสนั้นจะไม่ต้องเอามาใช้สินเดิมที่ขาดไปของผู้ตาย.
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงาน แล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริง อาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1514 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานจึงไม่ชอบ.
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงาน แล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริง อาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1514 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานจึงไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: ทรัพย์สินเดิมที่โอนระหว่างสมรส อาจต้องนำมาใช้ทดแทนสินเดิมที่ขาดไปได้
โจทก์เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยเป็นภรรยาผู้ตาย โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าทรัพย์หมาย ก.1 เดิมเป็นของผู้ตายมาแต่ก่อนที่ได้ทำการสมรสกับจำเลย เมื่อผู้ตายกับจำเลยสมรสกันแล้ว ผู้ตายได้โอนทรัพย์แปลงนั้นให้แก่บิดาจำเลย ต่อมาบิดาจำเลยจึงได้โอนให้จำเลยในระหว่างสมรสนั้นฟ้องโจทก์ก็กล่าวความท้าวถึงข้อเท็จจริงเช่นว่านี้ แล้วอ้างว่าทรัพย์หมาย ก.1 จึงกลับคืนเป็นสินเดิมอีกวาระหนึ่ง หรือมิฉะนั้นก็เป็นทรัพย์ที่ทดแทนสินเดิมที่ขาดไป ฉะนั้นที่โจทก์แถลงรับในรายงานพิจารณาว่าเป็นสินสมรสจึงมิได้หมายความว่าสินสมรสนั้นจะไม่ต้องเอามาใช้สินเดิมที่ขาดไปของผู้ตาย
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงานแล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริงอาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจึงไม่ชอบ
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงานแล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริงอาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมก่อนสมรส: ทรัพย์มรดกที่แบ่งร่วมกันระหว่างสมรส ไม่ถือเป็นสินสมรส
ทรัพย์ซึ่งเป็นมรดกตกทอดแก่สามีก่อนสมรสกับภรรยาและทายาทตกลงแบ่งปันกันในระหว่างสมรส ทรัพย์นั้นเป็นสินเดิมของสามี หาใช่เป็นสินสมรสไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนฝากระดานบนที่ดินผู้อื่น: ไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน, ประเด็นต้องยกขึ้นต่อสู้ตั้งแต่ต้น
ข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ไว้โดยตรง แต่ในชั้นยื่นคำให้การ มิฉะนั้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เรือนฝากระดานซึ่งปลูกอยู่ในที่ของผู้อื่น อาจเข้าบทมาตรา 109 ป.ม.แพ่งฯ ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดิน.
เรือนฝากระดานซึ่งปลูกอยู่ในที่ของผู้อื่น อาจเข้าบทมาตรา 109 ป.ม.แพ่งฯ ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกสินสมรสและการลงชื่อในโฉนดสำหรับคู่สมรสที่สมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง บรรพ 5
ก.ม.ลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ให้มีการแยกสินบริคณห์ โดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่า จะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้
การที่จะนำ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1472, 1467 มาใช้แก่คู่สมรส ซึ่งสมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือน ถึงการสมรสหรือสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.ม.แพ่งฯ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) ยกเว้นไว้แล้วนั้นแต่อย่างใด
ฟ้องโจทก์ขอให้แยกสินบริคณห์ถ้าสั่งแยกไม่ได้ จึงขอให้สั่งให้โจทก์มีชื่อร่วมในโฉนด ไม่เป็นคำขอที่ขัดกันและไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะโจทก์ไม่ได้ขอทั้ง 2 อย่าง โจทก์ขออย่างแรกก่อน ต่อเมื่อไม่ได้ จึงขออย่างที่สอง
การที่จะนำ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1472, 1467 มาใช้แก่คู่สมรส ซึ่งสมรสก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือน ถึงการสมรสหรือสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.ม.แพ่งฯ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) ยกเว้นไว้แล้วนั้นแต่อย่างใด
ฟ้องโจทก์ขอให้แยกสินบริคณห์ถ้าสั่งแยกไม่ได้ จึงขอให้สั่งให้โจทก์มีชื่อร่วมในโฉนด ไม่เป็นคำขอที่ขัดกันและไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะโจทก์ไม่ได้ขอทั้ง 2 อย่าง โจทก์ขออย่างแรกก่อน ต่อเมื่อไม่ได้ จึงขออย่างที่สอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดจากกันตามกฎหมายผัวเมียจากกรณีทิ้งสามีไปมีสามีใหม่ทำให้ไม่มีสิทธิในสินสมรส
ภริยาซึ่งได้ทิ้งสามีไปมีสามีใหม่ตั้ง 20 ปี ก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 ถือว่าขาดจากกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และไม่มีสิทธิได้ส่วนสมรส.
(อ้างฎีกาที่ 123/2464 และ ฎีกาที่ 409/129)
(อ้างฎีกาที่ 123/2464 และ ฎีกาที่ 409/129)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดจากความเป็นผัวเมียเนื่องจากทิ้งสามีไปมีสามีใหม่ทำให้ไม่มีสิทธิในสินสมรส
ภริยาซึ่งได้ทิ้งสามีไปมีสามีใหม่ตั้ง 20 ปี ก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ถือว่าขาดจากกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และไม่มีสิทธิได้ส่วนสมรส (อ้างฎีกาที่ 123/2464, และฎีกาที่ 409/129)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการบอกล้างหนี้: สามีมิอาจเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ หากไม่ยินยอมการยืม
ภรรยาไปยืนเงินของโจทก์มาวางมัดจำซื้อที่ดินของจำเลย โดยสามีไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย กับทั้งยังปฏิเสธหรือบอกล้างการยืมนั้นเสียด้วย ดังนี้ สามีจะกลับมาถือว่าเงินที่ภรรยายืมโจทก์มานั้นยังเป็นสินบริคณห์อยู่ เพื่อเรียกคืนจากจำเลยไม่ได้ และเมื่อสามีไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนจากจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากสามี ก็ย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการบอกล้างหนี้: สิทธิเรียกร้องคืนเงินมัดจำเมื่อสามีไม่ยินยอม
ภรรยาไปยืมเงินของโจทก์มาวางมัดจำซื้อที่ดินของจำเลยโดยสามีไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย กับทั้งยังปฏิเสธหรือบอกล้างการยืมนั้นเสียด้วย ดังนี้ สามีจะกลับมาถือว่าเงินที่ภรรยายืมโจทก์มานั้นยังเป็นสินบริคณห์อยู่ เพื่อเรียกคืนจากจำเลยไม่ได้ และเมื่อสามีไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนจากจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากสามี ก็ย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งสินสมรส และผลของพินัยกรรมเมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรมก่อน
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 185 เป็นเรื่องของการขยายเวลาคือถ้าสิทธิเรียกร้องจะขาดอายุความสั้นกว่า 1 ปี ก็ให้ขยายออกไป 1 ปี ส่วนที่กฎหมายกำหนดให้มีอายุความฟ้องร้องเกินกว่า 1 ปี ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัตินั้น จะนำมาตรานี้มาใช้บังคับ โดยย่นเวลาให้สั้นเข้านั้นหาได้ไม่
โจทก์,จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 164.แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรม์ร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรม์ก็มีผลบังคับฉะเพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็ฉะเพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้.
โจทก์,จำเลยหย่าขาดกันโดยคำพิพากษาของศาล โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์อันเป็นส่วนสินสมรส เป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สิน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 164.แม้บิดามารดาจะทำพินัยกรรม์ร่วมกันก็ดี แต่เมื่อบิดาตายก่อน พินัยกรรม์ก็มีผลบังคับฉะเพาะส่วนของบิดาเท่านั้น
เงินผลประโยชน์อันเกิดจากสินสมรสนั้น จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอแบ่งจะหักไว้ได้ก็ฉะเพาะค่ารักษาทรัพย์สิน ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน ส่วนเงินค่ากินอยู่ของจำเลยและบุตรโจทก์จำเลยนั้นเป็นคนละประเภท จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ก็หักให้ไม่ได้.