พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: หนังสือมอบอำนาจทั่วไปไม่ครอบคลุมอำนาจยื่นฟ้องต่อศาล
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ตามหนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุข้อความในการมอบอำนาจแต่เพียงว่า บ. มีสิทธิในการลงนามเอกสารดำเนินการทั้งหมดของบริษัทสาขาทั้งภายในและภายนอก อันมีลักษณะเป็นการมอบอำนาจโดยไม่ระบุกิจการ โดยมิได้ระบุให้ บ. มีอำนาจยื่นฟ้องต่อศาล จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมี บ. มาเบิกความยืนยันว่าตามหนังสือมอบอำนาจ พยานมีสิทธิดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสาร ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของบริษัทจำกัด ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 ที่ระบุว่า โจทก์โดย อ. ได้มอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์และให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ แม้ภายหลังจากจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ เอกสารหมาย จ.3 ลงลายมือชื่อ อ. กรรมการโจทก์เพียงคนเดียวไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ที่ระบุว่า โจทก์โดย จ. มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์และให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ก็ตาม แต่ อ. กรรมการโจทก์เพียงคนเดียวไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์มีเพียงหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7640/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหย่า: อำนาจจัดการสินส่วนตัวของสามีหลังการมอบอำนาจและสัญญาให้โดยเสน่หา
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทจาก พ. แล้วยังมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โดยเสน่หาที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 ด้วย เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสัญญาให้โดยเสน่หาแล้ว ทำให้ที่ดินพิพาทตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของตนได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1473 สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงสมบูรณ์โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การทำหนังสือมอบอำนาจ และการใช้คำสั่งศาลแทนเจตนา
ในขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ นอกจากจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. แล้ว จำเลยที่ 2 ยังเป็นบุตรของโจทก์กับ ก. และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ด้วย ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.ก) เลขที่ 2273, 2274 และ 2270 การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิได้เป็นการฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เท่านั้น แต่ยังเป็นการฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้ง 3 แปลงด้วย
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 6 ร่วมกันหรือแทนกันมอบเงิน 7,000,000 บาท ให้โจทก์เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว โดยหาได้ระบุให้จำเลยที่ 2 มอบเงินแก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้วและประสงค์จะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.2 จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวในฐานะส่วนตัวหาใช่ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ไม่ แม้ภายหลังศาลมีคําพิพากษาให้ถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. และคดีถึงที่สุดก็ตาม ก็มิได้ทำให้สิทธิของจำเลยที่ 2 ในการเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความเสื่อมเสียไป
แม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ระบุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากทายาทของเจ้ามรดก แต่ก็ได้ความตามคําแถลงของจำเลยที่ 3 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ว่า ตนเองและทายาทตามพินัยกรรมไม่ติดใจบังคับตามพินัยกรรม ขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่ทายาทของ ก. ยินยอมให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความในการทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว นอกจากนี้สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ยังระบุอีกว่า หากมีปัญหาเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. จะให้ความร่วมมือแก้ปัญหาเพื่อให้มีการดำเนินการจนลุล่วงไปโดยสมบูรณ์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ลงลายมือชื่อผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลที่จำเลยที่ 2 กำหนดและศาลชั้นต้นได้ออกคําบังคับตามคําพิพากษาตามยอมดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความและเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้มีการบังคับคดีจนแล้วเสร็จได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง
เมื่อการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความคงเหลือเพียงการทำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เพื่อให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของตน แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ให้ความร่วมมือ จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ถือเอาคําพากษาหรือคำสั่งของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 357 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
จำเลยที่ 2 ยื่นคําร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคําพิพากษาตามยอมภายหลังจากที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องนํา ป.วิ.พ. มาตรา 274 และ มาตรา 357 ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับแก่การบังคับคดีในคดีนี้ ศาลย่อมมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 6 ร่วมกันหรือแทนกันมอบเงิน 7,000,000 บาท ให้โจทก์เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว โดยหาได้ระบุให้จำเลยที่ 2 มอบเงินแก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้วและประสงค์จะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.2 จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวในฐานะส่วนตัวหาใช่ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ไม่ แม้ภายหลังศาลมีคําพิพากษาให้ถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. และคดีถึงที่สุดก็ตาม ก็มิได้ทำให้สิทธิของจำเลยที่ 2 ในการเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความเสื่อมเสียไป
แม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ระบุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 6 โดยได้รับความเห็นชอบจากทายาทของเจ้ามรดก แต่ก็ได้ความตามคําแถลงของจำเลยที่ 3 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ว่า ตนเองและทายาทตามพินัยกรรมไม่ติดใจบังคับตามพินัยกรรม ขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่ทายาทของ ก. ยินยอมให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความในการทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว นอกจากนี้สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ยังระบุอีกว่า หากมีปัญหาเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. จะให้ความร่วมมือแก้ปัญหาเพื่อให้มีการดำเนินการจนลุล่วงไปโดยสมบูรณ์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ลงลายมือชื่อผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลที่จำเลยที่ 2 กำหนดและศาลชั้นต้นได้ออกคําบังคับตามคําพิพากษาตามยอมดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความและเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้มีการบังคับคดีจนแล้วเสร็จได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง
เมื่อการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความคงเหลือเพียงการทำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เพื่อให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของตน แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ให้ความร่วมมือ จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ถือเอาคําพากษาหรือคำสั่งของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 357 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
จำเลยที่ 2 ยื่นคําร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคําพิพากษาตามยอมภายหลังจากที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องนํา ป.วิ.พ. มาตรา 274 และ มาตรา 357 ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับแก่การบังคับคดีในคดีนี้ ศาลย่อมมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา กรณีกลุ่มออมทรัพย์และการมอบอำนาจ
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯ จัดตั้งขึ้นตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีคณะกรรมการที่ได้รับคัดเลือกโดยมติที่ประชุมสมาชิก เงินฝากที่สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฝากมาเพื่อให้สมาชิกกู้ยืมถือเป็นกิจการของกลุ่มออมทรัพย์ และคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในเงินส่วนนี้ การที่คณะกรรมการเลือกให้จำเลยทั้งสามเป็นตัวแทนดูแลเงินฝากของสมาชิก ก็มีวัตถุประสงค์ให้จำเลยทั้งสามเป็นตัวแทนของคณะกรรมการในการเก็บรักษาเงิน เมื่อเงินที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสามหายไป คณะกรรมการย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทุจริตเงินดังกล่าว และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจแต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นตัวแทนร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้ ธ. ผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม เมื่อ ธ. เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ที่นำฝากเงินกับกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวด้วยคนหนึ่ง เมื่อมีผู้ยักยอกเงินที่นำฝากไป ธ. ย่อมได้รับความเสียหาย ธ. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากสมาชิกอื่นหรือจากคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ การที่คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์มอบอำนาจให้ ธ. ไปร้องทุกข์ถือได้ว่า ธ. ร้องทุกข์ในฐานะที่ตนเป็นผู้เสียหายด้วย การแจ้งความร้องทุกข์ของ ธ. จึงเป็นไปโดยชอบ และไม่จำต้องให้สมาชิกทุกคนร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6156/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจเจ้าของร่วมในอาคารชุดเพื่อดำเนินการจัดประชุม และการประชุมที่เป็นผลจากการมอบอำนาจนั้นชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 42/2 (3) ไม่ได้บัญญัติห้ามเจ้าของร่วมในอาคารชุดมอบอำนาจให้ผู้อื่นหรือเจ้าของร่วมคนอื่นกระทำการแทนตนเอง อีกทั้งข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ม. ก็ไม่มีข้อกำหนดห้ามเช่นเดียวกัน การที่เจ้าของร่วมในคดีนี้มอบอำนาจให้ผู้คัดค้านไปดำเนินการแทนเกี่ยวกับการทำหนังสือขอให้คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดจัดประชุมใหญ่วิสามัญ และการตั้งตัวแทนเพื่อการออกหนังสือนัดประชุมภายหลังจากที่คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดไม่ดำเนินการให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามคำขอของเจ้าของร่วมซึ่งมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของคะแนนเสียงทั้งหมด โดยการดำเนินการดังกล่าวมิใช่เป็นการเฉพาะตัวในกิจการที่สำคัญที่เจ้าของร่วมจะต้องดำเนินการด้วยตนเอง เจ้าของร่วมจึงมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้คัดค้านเป็นผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการแทนตนเองได้ บทบัญญัติมาตรา 1173 แห่ง ป.พ.พ. ไม่อาจนำมาบังคับใช้กับกรณีในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทนายความยื่นอุทธรณ์ - ข้อบกพร่องของคำฟ้อง - การแก้ไขข้อบกพร่อง - ลำดับชั้นศาล
การที่ อ. ลงชื่อเป็นผู้ร้องในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ทำแทนได้และยื่นต่อศาลชั้นต้น เป็นคำร้องและคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง เท่ากับคำร้องและคำฟ้องอุทธรณ์ไม่มีลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์มาโดยไม่สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะผู้ร้องในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เสียทีเดียวนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องข้างต้นแล้วให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทน: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยให้รับผิดในมูลหนี้ซื้อขายสินค้า จำเลยจึงทำหนังสือมอบอำนาจระบุ ป. เป็นผู้มีอำนาจจัดการคดีจนเสร็จสิ้น ป. กับโจทก์ร่วมกันแถลงว่าคดีมีแนวทางที่จะตกลงกันได้ประสงค์จะทำยอม ขอเลื่อนไปทำยอมในนัดหน้า ต่อมาจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจระบุให้ ป. เป็นผู้มีอำนาจในการไกล่เกลี่ย เลื่อนนัด จัดการทุกอย่างจนเสร็จสิ้นกระบวนการศาล นั้น ป. จึงอยู่ในฐานะตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจเฉพาะการ มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาในสิ่งที่จำเป็นแทนจำเลยภายในขอบอำนาจที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจทั้งสองฉบับข้างต้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 800 เมื่อหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าให้ ป. มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งข้อความที่ระบุว่าให้มีอำนาจจัดการคดีจนเสร็จสิ้นก็ไม่อาจตีความว่ารวมถึงให้มีอำนาจในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยได้ ฉะนั้นการที่ ป. แถลงต่อศาลว่าประสงค์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์จึงเป็นกรณีตัวแทนกระทำนอกเหนือขอบอำนาจ ย่อมไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823