พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8724/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย
ปัญหาว่า โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท น. ผู้รับตราส่ง มาฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยชอบและมีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เมื่อพิจารณาตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประกันภัยทางทะเลระหว่างโจทก์ผู้รับประกันภัยกับบริษัท ย. ผู้เอาประกันแล้ว แม้กรมธรรม์ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้โดยตรงหรือมีการสลักหลังโอนสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้ใด แต่ในการตีความสัญญาประกันภัยนี้ไม่อาจพิจารณาเฉพาะเพียงข้อความหรือลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏอยู่ในสัญญาเท่านั้น ต้องตีความให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตามหลักการตีความสัญญาใน ป.พ.พ. มาตรา 368 กรณีนี้จึงต้องพิจารณาจากเอกสารหลักฐานอื่นๆ สำหรับกรมธรรม์นี้ในส่วนตารางด้านหน้าของเอกสารเกี่ยวกับเนื้อหาของการประกันภัยระบุอ้างถึงใบกำกับสินค้าซึ่งตรงกับใบกำกับสินค้าที่ระบุรายละเอียดของสินค้าที่เอาประกันภัย ชื่อผู้ส่งสินค้าหรือผู้ส่งของว่า คือ บริษัท ย. ผู้เอาประกันภัย และผู้รับตราส่ง คือ บริษัท น. กับระบุว่ามีการขนส่งสินค้าจากท่าเรือศรีราชาไปยังปลายทางที่ประเทศอิตาลี เมื่อพิจารณาข้อความตามตารางในด้านหน้าของกรมธรรม์ก็ปรากฏว่ามีการระบุถึงการใช้สิทธิเรียกร้อง (หากมี) หรือการชำระค่าสินไหมทดแทนว่าให้ทำที่ประเทศอิตาลี และยังระบุอีกว่าในการใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยนี้ในกรณีที่เกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่สินค้าที่ขนส่งซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการแจ้งเหตุในทันทีเพื่อให้มีการสำรวจความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าดังกล่าวและมีรายงานการสำรวจความเสียหายจากหรือที่ได้รับการอนุมัติจาก ก. ซึ่งอยู่ที่ประเทศอิตาลี และเมื่อพิจารณากรมธรรม์ประกอบกับใบตราส่งแล้วปรากฏว่าใบตราส่งได้ระบุรายละเอียดของสินค้าที่ขนส่งและระบุชื่อบริษัท ย. เป็นผู้ส่งของกับบริษัท น. เป็นผู้รับตราส่ง ตรงกับที่ระบุในใบกำกับสินค้า จากข้อเท็จจริงดังกล่าวมีเหตุผลให้เชื่อว่า โจทก์ผู้รับประกันภัยมีเจตนาตกลงให้การใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและการชำระค่าสินไหมทดแทนทำกันที่ประเทศอิตาลีซึ่งเป็นปลายทางในการขนส่งสินค้าที่เป็นวัตถุที่เอาประกันภัยเนื่องจากผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลจากการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายเช่นผู้รับตราส่งมักจะพบการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเมื่อมีการเรียกและรับสินค้านั้นที่ปลายทางแล้ว ทั้งเมื่อพิจารณาทุนประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้วจะเห็นได้ว่ามีจำนวนร้อยละ 110 ของราคาสินค้าตามใบกำกับสินค้าที่ระบุเป็นราคาเทียบข้างเรือที่ท่าเรือต้นทาง (FAS) ซึ่งเป็นจำนวนทุนประกันภัยตามปกติของการประกันภัยสินค้าในการขนส่ง จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำนวนทุนประกันภัยดังกล่าวได้รวมค่าระวางการขนส่งสินค้าและหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไว้ด้วย ซึ่งอาจไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระของผู้เอาประกันภัย ด้วยหลักฐานเอกสารที่มีความเชื่อมโยงกันดังกล่าว ประกอบกับได้ความตามที่พยานโจทก์เบิกความตอบคำถามติงใจความว่า การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลมีระเบียบวิธีปฏิบัติในการชำระค่าสินไหมทดแทนว่าจะชำระแก่ผู้ได้รับความเสียหาย โดยความเสียหายตามลักษณะในคดีนี้จะชำระให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียตามสัญญาซื้อขายคือผู้รับตราส่ง ซึ่งได้แก่ บริษัท น. ผู้ซื้อสินค้าในประเทศอิตาลี จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างความถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสารของโจทก์ดังกล่าวและไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าการประกันภัยกับการชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าที่ขนส่งมีวิธีปฏิบัติอย่างอื่นมิได้เป็นไปตามที่โจทก์นำสืบมาแต่อย่างใด จำเลยโต้แย้งในคำให้การเพียงว่าไม่มีการสลักหลังโอนสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวได้เป็นที่ทราบและมีการตกลงระหว่างบริษัท ย. ผู้เอาประกันภัยและโจทก์ผู้รับประกันภัยโดยปริยายแล้วว่าให้บริษัท น. ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้รับตราส่งในประเทศอิตาลีเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยนั้น บริษัท น. จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเนื่องจากวินาศภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่จำต้องมีการสลักหลังโอนสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งกรณียังถือได้ว่า บริษัท น. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าที่ขนส่งซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยในขณะเกิดวินาศภัย อันเป็นเงื่อนไขในการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 11.1 ที่กำหนดว่า ในการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยฉบับนี้ ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัยในขณะเกิดวินาศภัย (In order to recover under this insurance the Assured must have an insurable interest in the subject - matter insured at the time of loss) ซึ่งผู้เอาประกันภัย (the Assured) ในความหมายของการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยทางทะเลฉบับนี้ย่อมหมายความรวมถึงผู้รับประโยชน์ตามสัญญาที่ไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยด้วยตามเจตนาของโจทก์ผู้รับประกันภัยและบริษัท ย. ผู้เอาประกันภัยที่ได้ตกลงกันโดยปริยายดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบริษัท ย. ในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าดังกล่าวและเป็นผู้ส่งสินค้าที่ขายให้แก่บริษัท น. ในประเทศอิตาลีกับเป็นผู้เอาประกันภัยสำหรับความเสียหายและสูญหายของสินค้านั้นระหว่างการขนส่งไว้แก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเล โดยผู้ขายว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้า 14 หีบห่อ จำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าดังกล่าวโดยใช้เรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการและควบคุมดูแลการเดินเรือและใช้เรือเดินทะเลของจำเลยที่ 4 เป็นยานพาหนะ จำเลยที่ 1 ได้รับชำระค่าระวางการขนส่งแล้วออกใบตราส่งในนามของจำเลยที่ 1 และในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้แก่ผู้ส่งไว้เป็นหลักฐานโดยระบุให้บริษัท น. ผู้ซื้อเป็นผู้รับตราส่งตามใบตราส่ง และใบตราส่งนี้ได้โอนไปยังบริษัท น. ผู้รับตราส่งแล้ว เมื่อสินค้าถึงปลายทาง ผู้รับตราส่งพบว่าสินค้าได้รับความเสียหาย 3 หีบห่อ บริษัท น. ผู้รับโอนใบตราส่งจึงเป็นผู้ทรงใบตราส่งและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าที่ขนส่งซึ่งได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งอันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าที่ขนส่งซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ในขณะเกิดวินาศภัยโดยไม่จำต้องให้บริษัท ย. ผู้เอาประกันภัยสลักหลังโอนสิทธิตามกรมธรรม์ดังกล่าวก่อน การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวให้บริษัท น. จึงเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปโดยชอบด้วยข้อ 11.1 ในกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้ารับช่วงสิทธิจากบริษัท น. ผู้รับตราส่งได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยกรณีผู้ขับขี่ทำละเมิด โดยผู้เอาประกันภัยยินยอม
เงื่อนไขข้อบังคับตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งกำหนดไว้สำหรับการคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่ว่า บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่านอกจากความรับผิดในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำละเมิดต่อผู้อื่นแล้ว จำเลยที่ 3 ยังยอมรับผิดในกรณีผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ทำละเมิด แต่ผู้อื่นเป็นผู้ทำละเมิดโดยผู้นั้นได้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้ โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัย คุ้มครองความรับผิดทางละเมิดจากผู้ขับขี่เมาสุรา ข้อจำกัดการยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย และจำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัย หมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 เรื่องการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 2.12 ระบุว่า การประกันภัยความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะ หรือความรับผิดต่อผู้โดยสาร และความรับผิดต่อทรัพย์สิน ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดที่ไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ตามข้อ 2.12.7 และมีข้อสัญญาพิเศษตามข้อ 2.13 ระบุว่า ภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัทผู้รับประกันภัยจะไม่ยกข้อยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.12 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอก หรือความรับผิดต่อผู้โดยสาร จากข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวย่อมหมายความว่า โดยหลักแล้วกรมธรรม์ประกันภัยจะคุ้มครองความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในเรื่องความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกที่เกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัย ความรับผิดต่อผู้โดยสารที่อยู่ในรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่เกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัย และความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัย เว้นแต่เป็นกรณีผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดที่ไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ ผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่มีข้อสัญญาพิเศษยกเว้นให้รับผิดจากข้อยกเว้นข้างต้นอีก กล่าวคือ ถ้าเป็นกรณีความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกและความรับผิดต่อผู้โดยสาร แม้ผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมาถึงขนาดที่ไม่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ ผู้รับประกันภัยจะไม่ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก คงมีแต่เฉพาะกรณีความรับผิดต่อทรัพย์สินเท่านั้นที่ไม่มีข้อห้ามยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอก ฉะนั้น เมื่อกรณีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 4 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย โดยอาศัยสัญญาประกันภัยดังกล่าวให้ชำระเงินค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ได้รับบาดเจ็บและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย แบ่งเป็นเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าซ่อมรถยนต์ ค่าลากรถยนต์และค่ารถยนต์ที่เสื่อมราคา จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยนั้นแล้ว จำเลยที่ 4 ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดเฉพาะต่อความเสียหายในทรัพย์สินของโจทก์
ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้เประกันภัยด้วย ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัย เสียไป จำเลยที่ 4 จึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์
ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้เประกันภัยด้วย ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัย เสียไป จำเลยที่ 4 จึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10624/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยผู้รับประกันภัยคนถัดไป กรณีผู้รับประกันภัยคนแรกไม่จ่าย และหลักจัดการงานนอกสั่ง
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปต่อจากผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรก เป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปเพราะไม่รู้ว่าวินาศภัยอันเดียวกันนี้มีผู้คัดค้านเป็นผู้รับประกันภัยไว้ก่อนตน กรณีจึงเป็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไป ทั้งๆ ที่ผู้ร้องไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 870 วรรคสามบัญญัติไว้ ถือได้ว่าการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนของผู้ร้องนั้น เป็นการสมประโยชน์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ กรณีตามคำร้องจึงเข้าเกณฑ์เป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งซึ่งก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันผู้คัดค้านให้ต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ร้องได้ออกทดรองจัดการงานให้ผู้คัดค้านไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 401
การที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป ยังไม่คุ้มกับจำนวนวินาศภัย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปไม่รอเพื่อจ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ถ้าหากมีแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งสิ้นไปทีเดียว จึงต้องถือว่าผู้ร้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยไม่มีหน้าที่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงกรณีนี้ในอันจะให้ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินตามที่ได้จ่ายไปนั้นได้ การที่ผู้ร้องจ่ายไปนั้นจึงตกเป็นพับแก่ผู้ร้อง และมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องมานั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นเสียได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสาม (2)(ข)
การที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป ยังไม่คุ้มกับจำนวนวินาศภัย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปไม่รอเพื่อจ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ถ้าหากมีแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งสิ้นไปทีเดียว จึงต้องถือว่าผู้ร้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยไม่มีหน้าที่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงกรณีนี้ในอันจะให้ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินตามที่ได้จ่ายไปนั้นได้ การที่ผู้ร้องจ่ายไปนั้นจึงตกเป็นพับแก่ผู้ร้อง และมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องมานั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นเสียได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสาม (2)(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่, ตัวแทนเรียกเงินทดรองจ่ายจากตัวการ, และอายุความค่าเบี้ยประกันภัย
สัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าในวันที่ 28 กันยายน 2544 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้ค้างชำระเป็นยอดหนี้ตามบัญชี 2,719,380 บาท และดอกเบี้ยนอกบัญชี 1,408,325.13 บาท ตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไขการผ่อนชำระคืนกับเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนด โดยให้ถือหลักประกันตามสัญญาเดิมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้เช่นนี้ แม้สัญญาระบุว่า "โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนดังนี้..." ก็ไม่อยู่ในความหมายของการเพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขที่จะทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 349 เพราะเป็นเพียงการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ใหม่เท่านั้นกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมระงับ
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประกันภัยผ่านตัวแทนในไทย ทำให้กฎหมายไทยใช้บังคับ แม้โจทก์เป็นชาวต่างชาติ คดีขาดอายุความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศอังกฤษมอบหมายให้บริษัท ท. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทยเป็นตัวแทนติดต่อจำเลยที่ประเทศไทยเพื่อประกันภัยอุปกรณ์สำหรับการถ่ายทอดโทรทัศน์ของโจทก์ เมื่อคู่สัญญามิได้แสดงเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่สัญญาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์มี ภ. ซึ่งเป็นผู้จัดการของบริษัท ท. เป็นตัวแทนในการติดต่อทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยในประเทศไทยการที่จำเลยตกลงรับประกันภัยและส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่บริษัท ท. ต้องถือว่าสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยทำหรือเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงต้องนำกฎหมายไทยมาใช้บังคับกับผลของสัญญาประกันภัยดังกล่าว ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13 วรรคสอง สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
จำเลยที่ 4 ไม่นำสืบว่าเหตุใดจึงยอมรับทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันนี้กับจำเลยที่ 3 ทั้งๆ ที่น่าจะทราบดีว่าจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามพฤติการณ์เชื่อว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 โดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใดๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำให้แทนตนก็ได้ สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีผลบังคับใช้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์นำรถยนต์คันนี้ไปใช้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้ว และตามสัญญาประกันภัย หมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 2.6 ระบุว่าการคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดในสัญญาขนส่งและประกันภัย: ศาลฎีกาชี้ขาดความสมเหตุสมผลของข้อตกลง
สินค้าที่ผู้ขนส่งจ้างให้จำเลยทั้งสองขนส่งทางอากาศมีมูลค่าเกินกว่าจำนวนสูงสุดที่จำเลยที่ 2 อนุญาตให้สำแดงได้ คือ 500 ดอลลาร์สหรัฐ ไปมาก ผู้ส่งทราบถึงเงื่อนไขการขนส่งและข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 แล้ว แต่สมัครใจเข้าทำสัญญารับขนกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้แจ้งหรือระบุมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งไว้ ทั้งยังได้ทำประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งกับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้าโดยยอมเสียเบี้ยประกันภัย แสดงถึงเจตนาที่จะเข้าเอาประโยชน์จากการที่จะไม่ต้องเสียค่าระวางเพิ่มและหากสินค้าสูญหายหรือเสียหายผู้ส่งยังได้รับชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มตามมูลค่าของสินค้า นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ประกอบกิจการรับขนสินค้าที่มีมูลค่าสูงโดยเฉพาะให้ผู้ส่งได้เลือกใช้บริการ แต่จะคิดค่าระวางขนส่งที่สูงกว่าจำเลยที่ 2 ดังนั้น ผู้ส่งจึงมิได้อยู่ในฐานะที่ต้องเสียเปรียบหรือต้องผูกมัดให้ทำสัญญาโดยไม่มีผู้ประกอบการรายอื่นที่จะเลือกใช้บริการเงื่อนไขการขนส่งและข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมิได้มีผลให้ผู้ส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติหรือทำให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้เปรียบผู้เอาประกันภัยเกินสมควร จึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12506/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ความรับผิดของประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุในการขนถ่ายสินค้า
ข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยกรณีความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ว่า จำเลยร่วมตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยสำหรับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใด ๆ นั้น มีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยร่วมตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 เมื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินเกิดแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 กระทำด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกลงจากรถยกสินค้า และสินค้าพิพาทได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบในความเสียหายดังกล่าว จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่สินค้าพิพาทตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว
ส่วนข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.2.1 หมายถึง ทรัพย์สินที่เสียหายเป็นทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ หรือทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ปฏิบัติงานของผู้เอาประกันภัย ข้อ 1.2.2 หมายถึง ทรัพย์สินที่ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อผู้เอาประกันภัยในระหว่างทางการที่จ้าง หาใช่ว่าเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายจากการขนถ่ายโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จะเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายขณะอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 3 หรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้างให้รับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ถูกทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ขอให้เรียกจำเลยร่วมในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เข้ามาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องเข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในลักษณะลูกหนี้ร่วม โดยโจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ละเมิดได้ทั้งจากจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม และหากจำเลยที่ 3 ถูกบังคับชำระหนี้ไปก่อน ก็ต้องใช้สิทธิไล่เบี้ยตามกฎหมายต่อไป
ส่วนข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.2.1 หมายถึง ทรัพย์สินที่เสียหายเป็นทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ หรือทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ปฏิบัติงานของผู้เอาประกันภัย ข้อ 1.2.2 หมายถึง ทรัพย์สินที่ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อผู้เอาประกันภัยในระหว่างทางการที่จ้าง หาใช่ว่าเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายจากการขนถ่ายโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จะเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายขณะอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 3 หรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้างให้รับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ถูกทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ขอให้เรียกจำเลยร่วมในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เข้ามาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องเข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในลักษณะลูกหนี้ร่วม โดยโจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ละเมิดได้ทั้งจากจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม และหากจำเลยที่ 3 ถูกบังคับชำระหนี้ไปก่อน ก็ต้องใช้สิทธิไล่เบี้ยตามกฎหมายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10749/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในคดีรับขน และความคุ้มครองประกันภัยความเสียหายจากการขนส่ง
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดชำระค่าเสียหายตามสัญญารับขน จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยร่วมที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอีกทอดหนึ่ง จำเลยร่วมที่ 2 ใช้รถโฟร์กลิฟยกเครื่องขัดเรียบลงจากรถยนต์บรรทุกโดยเครื่องขัดเรียบหล่นกระแทกพื้นได้รับความเสียหาย และยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลังหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดีก็เพื่อให้ผูกพันในผลแห่งคดี จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความคนละฝ่ายกับจำเลยร่วมที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2 โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาแม้จำเลยร่วมที่ 2 จะยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกา คดีก็ไม่มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2 ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในปัญหาดังกล่าวและที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชอบเช่นกัน