คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาจากการมอบอำนาจและพฤติการณ์ที่แสดงเจตนาให้เกิดผลผูกพัน แม้ไม่มีตราประทับ
เมื่อเกิดเหตุรถชนกัน ส. ไปเจรจาค่าเสียหายกับโจทก์โดยมอบใบมอบอำนาจที่มี จ. กรรมการของจำเลยลงลายมือชื่อโจทก์ พร้อมหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทของจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก พ. เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า จ. กระทำในนามของจำเลย แม้ จ. มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยลงในหนังสือมอบอำนาจ แต่การที่ ส. เจรจาค่าเสียหายกับโจทก์ยอมชำระค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์ 70,000 บาท และรับรถกระบะของโจทก์เพื่อนำไปซ่อม ทั้งยังนำรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุคืนไปจากพนักงานสอบสวน และไม่ปรากฏว่าจำเลยมิได้รับรถคันดังกล่าวไว้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยเชิด จ. เป็นตัวแทนในการตกลงค่าเสียหายกับโจทก์ แม้ จ. จะมิได้กระทำด้วยตนเอง แต่มอบอำนาจให้ ส. กระทำการแทนก็ตาม จำเลยจึงต้องรับผิดตามบันทึกตกลงค่าเสียหาย
บันทึกตกลงค่าเสียหายไม่มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าซ่อมรถยนต์เป็นเงินเท่าใด และหากฝ่ายจำเลยไม่ซ่อม โจทก์จะเรียกร้องได้เพียงใด ไม่ชัดแจ้งที่จะเป็นการระงับข้อพิพาท จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ที่จะทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป จำเลยจึงยังต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด, การรับผิดในหนี้, การโอนหนี้, การฝากเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน
แม้โจทก์จะฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามได้นำเงินไปฝากไว้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้ร่วมกันรับฝากเงินจากโจทก์โดยได้ร่วมกันออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนร่วมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการฝากเงินของโจทก์โดยตรงด้วย แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินจะออกในนามของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 นำตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทของตนมาใช้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทให้แก่โจทก์ก็เพื่อจำเลยที่ 2 จะได้มีส่วนได้รับประโยชน์จากเงินฝากของโจทก์ทั้งสาม นั่นเอง จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนออกเป็นตัวแทน แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน โจทก์ก็นำสืบในเรื่องนี้ได้เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อฝากเงินและทำตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทกันซึ่งอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาแทนก็ได้ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แพทย์ประมาทเลินเล่อในการวินิจฉัยโรคและสั่งรักษา ทำให้ผู้ป่วยแพ้ยาและเสียหาย โรงพยาบาลต้องรับผิด
การตรวจร่างกายของผู้ป่วยถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการที่แพทย์จะวินิจฉัยโรคว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร พยาธิสภาพอยู่ที่ไหนและอยู่ในระยะใดเพื่อจะนำไปสู่การรักษาได้ถูกต้อง ในขั้นตอนนี้แพทย์จักต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์มิให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เพราะอาจนำมาซึ่งอันตรายที่จะเกิดแก่ร่างกายหรือชีวิตของผู้ป่วยในขั้นตอนการรักษาที่ต่อเนื่องกัน การที่จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคามด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 3 จะสอบถามอาการและประวัติการรักษาของโจทก์จากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทำการรักษา ก็มิใช่วิสัยของบุคคลผู้มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำ ทั้งห้องแพทย์เวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร และไม่มีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเอง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลได้ฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งการหลังจากนั้นโจทก์มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรงโดยโจทก์ไม่มีอาการเช่นว่านั้นมาก่อน จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษาแม้จะเป็นการแสดงออกให้จำเลยที่ 3 กระทำต่อร่างกายของโจทก์เพื่อการรักษาได้ แต่หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ได้
ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าเสียสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์ถือได้ว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้ตามป.พ.พ. มาตรา 446

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนลูกหนี้เดิม ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมยังไม่ระงับ ลูกหนี้เดิมยังคงต้องรับผิด
การแปลงหนี้ใหม่เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีเพื่อระงับหนี้เดิมแล้วก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นผูกพันกันแทน หนี้เดิมเป็นอันระงับไป แม้โจทก์จะยอมรับเช็คของจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่ายโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ตามเช็ค ก็หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ไม่ เพราะไม่มีการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้กันใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ไปเป็นจำเลยที่ 2 แต่เป็นเพียงจำเลยที่ 2 เข้าไปเป็นผู้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้เดิมเท่านั้น หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณหนี้ค้างชำระที่ไม่ชัดเจน ทำให้ศาลไม่สามารถพิพากษาให้รับผิดได้
คำฟ้องของโจทก์มีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมายื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับผิดในสัญญาโอนสิทธิบัตรภาษีมีผลผูกพันจำเลย แม้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้อื่น และไม่ขาดอายุความ
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้จึงไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ทำข้อตกลงให้แก่โจทก์ว่า หากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้ง อันเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยที่ 3 ให้ไว้แก่โจทก์ก่อนรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีพิพาท จึงหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีโดยสัญญาว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดจำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สามารถชำระได้ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเงินในเช็ค แม้จะมีมูลหนี้ลดลง
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีไม่พอจ่าย คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเท่าใด เห็นว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า แม้จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 200,000 บาท แต่โจทก์กับจำเลยมีมูลหนี้กัน 100,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 100,000 บาท ทั้งนี้โดยรับฟังข้ออ้างของจำเลยที่ว่า หากจำเลยต้องรับผิดก็คงรับผิดเพียงหนี้ตามเช็คที่ ส. ได้สั่งจ่ายเช็ค 2 ฉบับ ฉบับละ 50,000 บาท รวม 100,000 บาท ซึ่งจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คทั้งสองไว้เท่านั้น ทั้งนี้จำเลยได้ขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกสมุดบัญชีเงินสดรายวันของโจทก์ที่แสดงให้ปรากฏรายการรับเงินการจ่ายเงินทุกประเภทของทุกวันทำการระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2540 และระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ซึ่งเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์มาเป็นพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ถึงข้ออ้างของจำเลยแต่โจทก์ไม่สามารถส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงได้วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกเอกสารของศาลโดยไม่มีเหตุผลสมควร ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างของจำเลยที่ว่ามูลหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จำนวน 100,000 บาท โจท์ยอมรับแล้วตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาทเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การจะนำข้อสันนิษฐานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับต่อคดีได้นั้น ต้นฉบับเอกสารที่จำเลยอ้างว่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ที่จำเลยประสงค์จะอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานจะต้องเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ทำให้สามารถพิสูจน์พยานซึ่งเป็นประเด็นในดคีได้โดยตรง คดีนี้ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยซึ่งรับเองว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ในปี พ.ศ.2541 ส่วนพยานเอกสารที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจากโจทก์นั้น เป็นสมุดเงินสดรายวันของโจทก์ระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 และระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2543 ซึ่งไม่อยู่ในระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์ ดังนั้น แม้จะได้เอกสารที่จำเลยขอมาและจำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นคนนำเช็คไปขายลดเช็คให้โจท์หรือมีหลักฐานว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใด ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะมีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวน 200,000 บาท แก่โจทก์ แล้วต่อมาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบนำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคารแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมบัตรเครดิต: การยินยอมเข้าร่วมรับผิดตามสัญญา
สัญญาการใช้บัตรเครดิตระบุไว้ว่า ในกรณีที่ธนาคารโจทก์อนุมัติให้ออกบัตรเสริมแก่ผู้ถือบัตรหลักรายใดผู้ถือบัตรทั้งสองจะต้องร่วมรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมในหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตนั้น ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อรับทราบแล้วย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมตนเข้าร่วมรับผิดกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในการใช้บัตรเครดิตสมาชิกบัตรหลักด้วยตั้งแต่วันสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ที่แต่ละคนเป็นผู้ก่อขึ้นจากการใช้บัตรเครดิตโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 297

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของที่ไม่สมบูรณ์ & ตัวแทนจำเลย การรับผิดของตัวการ
หนังสือสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยระบุว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างกับบริษัทโจทก์ผู้รับจ้าง แม้ ด. กรรมการของโจทก์คนหนึ่งจะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างดังกล่าวโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ซึ่งอาจไม่สมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ แต่โจทก์ได้รับเอางานจ้างดังกล่าวมาทำอันแสดงว่าโจทก์ยอมรับหนังสือสัญญาว่าจ้างดังกล่าว และเมื่อมีเหตุผิดสัญญาโจทก์ก็ได้ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา จึงถือได้ว่า ด. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ เนื่องจากสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนี้ สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยจึงมีผลผูกพันโจทก์
สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร แต่จำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยตามฟ้องกับโจทก์ตามฟ้องจริง มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของข้อความในสัญญา เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดเพราะจำเลยที่ 2 ลงลายชื่อในสัญญาว่าจ้างดังกล่าวโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายหรือแต่งตั้งให้กระทำการแทนเท่านั้น จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยกับโจทก์ได้ไม่จำเป็นต้องอาศัยหนังสือสัญญาว่าจ้างเป็นหลักฐานในคดี ฉะนั้น แม้สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ต้องห้ามรับฟังตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
สัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยระบุว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างกับโจทก์ผู้รับจ้าง ทั้งหลังจากทำสัญญาว่าจ้างแล้วจำเลยที่ 1 ก็ได้รับเอางานที่โจทก์รับจ้างทำทั้งหมด และได้จ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญาบางส่วนให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์เอง พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการเข้าทำสัญญาว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค้ำประกัน-จำนองยังไม่ระงับ แม้ลูกหนี้ล้มละลาย-เจ้าหนี้ไม่ขอรับชำระหนี้ ผู้ค้ำ-ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ย่อมเป็นผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้หนี้ที่ไม่ได้ขอรับชำระหนี้ระงับไปเพียงแต่เจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้องเอาหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้เท่านั้น เมื่อหนี้ยังไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ และหนี้จำนองก็ยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้จำนองยังคงต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเช่นกัน ดังนั้น จำเลยทั้งสองซึ่งได้ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองไว้แก่โจทก์ จึงยังคงต้องผูกพันรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อไป โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งสองได้
of 69