พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างบำรุงรักษาสาธารณูปโภค: สัญญาประจำเป็นปกติธุระมีอายุความ 2 ปี
จำเลยให้การว่า คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าจ้างตามสัญญาจ้างบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลางของโครงการหมู่บ้านที่เกินกว่าสองปีนับถึงวันฟ้องนั้นขาดอายุความ โจทก์ไม่สามารถฟ้องได้เป็นการขัดต่อกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกค่าจ้างได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 จนถึงวันฟ้องได้เป็นเวลา 24 เดือน ถือเป็นการให้การโดยละเอียดแล้วว่า กรณีเป็นสัญญาจ้างบำรุงรักษามีอายุความ 2 ปี มีค่าจ้างส่วนที่ขาดอายุความไปแล้ว และส่วนที่ยังไม่ขาดอายุความเหลืออยู่เพียงใด จึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งแสดงถึงเหตุแห่งคดีขาดอายุความแล้ว
สัญญาจ้างบำรุงรักษาเป็นข้อตกลงที่โจทก์จัดให้มีบริการต่างๆ ภายในหมู่บ้านโดยโจทก์จะได้รับผลตอบแทนจากสมาชิกในหมู่บ้านรวมทั้งจำเลยเป็นค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา อันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาสินจ้างจะพึงได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) มีอายุความ 2 ปี
สัญญาจ้างบำรุงรักษาเป็นข้อตกลงที่โจทก์จัดให้มีบริการต่างๆ ภายในหมู่บ้านโดยโจทก์จะได้รับผลตอบแทนจากสมาชิกในหมู่บ้านรวมทั้งจำเลยเป็นค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา อันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาสินจ้างจะพึงได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) มีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างทำของเพื่อกิจการของผู้อื่น: การดำเนินการตามสัญญาว่าจ้างเพื่อกิจการของจำเลยมีอายุความ 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ออกแบบตกแต่งและโฆษณาโครงการโฆษะ คอมเพล็กซ์ และโอเอซิส พลาสซ่าของจำเลย จำเลยให้การรับว่าได้ว่าจ้างโจทก์จริง ดังนั้น การดำเนินการตามสัญญาว่าจ้างของโจทก์แม้จะปฏิบัติตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย แต่ก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้กระทำเพื่อกิจการของจำเลย จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10161/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกของลูกจ้างมีผลสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน แม้จำเลยให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนกำหนดก็ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานต่อจำเลยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้นนายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติ จึงมีผลในวันที่โจทก์แจ้งไว้ และไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจ้างแรงงานย่อมจะมีผลสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 แม้จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่โจทก์ประสงค์โดยโจทก์ไม่มีความผิด ก็มีผลทำให้โจทก์เสียหายเพียงเท่าที่ไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันมีผลที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การพิจารณาความแตกต่างระหว่างมูลหนี้จากสัญญาจ้างและมูลหนี้ละเมิด
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 จึงอาจขอแก้ไขได้ก่อนศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานความผิดยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทาง คือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันคือ ขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานความผิดยักยอกทรัพย์และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้นอาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้สองทาง คือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะเป็นอย่างเดียวกันคือ ขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8791/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกมีผลทันที นายจ้างไม่อาจเลิกจ้างโดยอ้างระเบียบภายในได้
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานการเงิน ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 โจทก์ได้ยื่นหนังสือขอลาออกตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2547 เมื่อถึงวันที่กำหนดในหนังสือขอลาออกโจทก์ก็ไม่ได้เข้ามาทำงานกับจำเลยอีก ดังนี้ การที่โจทก์ยื่นหนังสือขอลาออกต่อจำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้าง และการเลิกสัญญาจ้างดังกล่าวมีผลในวันที่โจทก์แจ้งไว้ในหนังสือขอลาออก การจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 1 สิงหาคม 2547 แม้ว่าตามระเบียบของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เกษตรเมืองสุพรรณบุรี ว่าด้วยตำแหน่งเจ้าหน้าที่อัตราเงินเดือนค่าจ้างและการค้ำประกัน ฯ ข้อ 8 จะระบุว่า "พนักงานขอลาออกจากการเป็นพนักงานของสมาคมให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อคณะกรรมการของสมาคม และให้มีผลของการลาออกได้เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ" และคณะกรรมการดำเนินงานของจำเลยจะมีมติไม่อนุมัติให้โจทก์ลาออกก็ตาม แต่การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติแต่อย่างใด เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ลาออกจากงานโดยชอบ สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 1 สิงหาคม 2547 แล้ว ดังนี้จำเลยจึงไม่อาจเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ด้วยการเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 โดยอ้างว่าการที่โจทก์ลาออกเป็นการกระทำผิดระเบียบสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เกษตรเมืองสุพรรณบุรี ว่าด้วยตำแหน่งเจ้าหน้าที่อัตราเงินเดือนค่าจ้างและการค้ำประกัน ฯ ข้อ 9 (5) ขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งได้สั่งในกิจการของสมาคม ฯ (6) ละทิ้งหน้าที่เป็นเหตุให้สมาคม ฯ เสียหายอย่างร้ายแรง (7) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่เป็นเหตุให้เสียหายแก่สมาคม ฯ อย่างร้ายแรง และ (9) ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร ตามหนังสือแจ้งผลการสอบวินัยความผิดอีกแต่อย่างใด คำสั่งจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงานจึงไม่มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8402/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยครูชาวต่างประเทศเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
การที่จำเลยจ้างโจทก์ซึ่งเป็นครูชาวต่างประเทศเป็นลูกจ้างทำหน้าที่สอนหนังสือในโรงเรียนของจำเลยตั้งแต่ปี 2540 และต่อสัญญาจ้างรายปีเรื่อยมาจนถึงสัญญาจ้างฉบับสุดท้ายสำหรับปีการศึกษา 2547 ถึง 2548 โดยในขณะนั้นระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ไม่ได้มีบทบัญญัติตัดสิทธิในการได้รับค่าชดเชยของครูชาวต่างประเทศที่ออกเพราะเหตุที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ในระหว่างสัญญาฉบับสุดท้ายยังมีผลได้มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ประกาศใช้บังคับแล้ว โดยระเบียบดังกล่าว ข้อ 3 บัญญัติให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 35 ครูไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เพราะเหตุดังต่อไปนี้...(2) ครูชาวต่างประเทศที่ออกเพราะเหตุที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง..." ดังนั้น เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาจ้างตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 8 วรรคหนึ่ง ได้ครบกำหนดตามสัญญาจ้างในเดือนพฤษภาคม 2548 และจำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานต่อไปจึงเป็นกรณีที่โจทก์ออกเพราะเหตุที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 35 (2) ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ข้อ 3 ซึ่งสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยเป็นสิทธิทางแพ่งที่เกิดขึ้นเมื่อถูกเลิกสัญญาการเป็นครู เมื่อโจทก์ถูกเลิกสัญญาการเป็นครูเพราะเหตุที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างภายหลังระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวใช้บังคับโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: ความเสียหายต่างกรรมต่างวาระ และอายุความสัญญาจ้าง
ป. ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อบริษัท บ. ซึ่งเป็นนายจ้างโดยรวบรวมเงินจากลูกค้าและพนักงานในสาขาแล้วส่งให้บริษัท บ. ไม่ครบรวม 16 ครั้ง เป็นเงิน 616,635.32 บาท แล้ว ป. ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ขอผ่อนชำระเงินดังกล่าวแก่บริษัท บ. แต่ ป. ไม่ชำระตามที่รับสภาพหนี้ไว้ บริษัท บ. จึงฟ้อง ป. ต่อศาลแรงงานกลางให้ชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคดีเดิม ต่อมาบริษัท บ. ตรวจสอบพบว่า ป. ได้รวบรวมเงินจากลูกค้าและพนักงานในสาขาแล้วส่งให้บริษัท บ. ไม่ครบ เพิ่มอีก 5 ครั้ง จึงให้ ป. ทำหนังสือรับสภาพหนี้เพิ่มแล้วนำยอดหนี้ดังกล่าวฟ้อง ป. ต่อศาลแรงงานกลางให้ชำระหนี้เป็นอีกคดีหนึ่ง ส่วนคดีนี้บริษัท บ. รวบรวมความเสียหายอื่นที่ ป. ก่อให้เกิดขึ้นคนละคราวกับสองคดีก่อนซึ่งเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระและเป็นการฟ้องเรียกหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้แต่ละฉบับโดยมีค่าปรับที่ต้องชำระแต่ละคราวรวมอยู่ด้วย บริษัท บ. จึงไม่จำต้องนำยอดหนี้อื่นนอกเหนือจากยอดหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ ป. ตกลงจะชำระให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้วผิดนัดมารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกัน ฟ้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
บริษัท บ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ป. ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
บริษัท บ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก ป. ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายงานประกันชีวิตแก่ลูกจ้างที่ทำสัญญาจ้างเฉพาะงานวินาศภัย มิอาจเรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม
โจทก์ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและธุรกิจประกันชีวิตต่อมาบริษัท ท. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2543 โดยรับโอนงานในส่วนประกันชีวิตจากบริษัท ท. มา ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2535 ถึงวันที่ 26 มีนาคม 2543 บริษัท ท. ยังคงประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและธุรกิจประกันชีวิตทั้งสองประเภทควบคู่มาด้วยกันโดยยังไม่ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามมาตรา 121 วรรคสอง แต่เป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตภายใต้บทบัญญัติมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ที่ให้กระทำต่อไปได้ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัท ท. ต้องแยกรายรับและรายจ่ายของธุรกิจประกันชีวิตออกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากรายรับและรายจ่ายของธุรกิจประกันวินาศภัย ดังนั้น งานในส่วนประกันวินาศภัยและงานในส่วนประกันชีวิตต่างก็เป็นงานของบริษัท ท. ผู้เป็นนายจ้างของโจทก์
หนังสือสัญญาข้อตกลงรับทราบเงื่อนไขในการจ้างทำขึ้นในตอนที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างทดลองงานเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2547 แต่ข้อความตามหนังสือก็ระบุว่าเป็นเงื่อนไขในการจ้างในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงื่อนไขที่ใช้เฉพาะในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงานเท่านั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท ท. และทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ดังนั้น การที่บริษัท ท. ให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริการวินาศภัยทำงานประกันชีวิตด้วย งานประกันชีวิตซึ่งเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของบริษัท ท. จึงเป็นงานในความรับผิดชอบของโจทก์โดยชอบด้วยเงื่อนไขในการจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่โจทก์ทำงานประกันชีวิตให้บริษัท ท. ต่อมาในวันที่ 27 มีนาคม 2543 จำเลยซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ก็รับโอนทรัพทย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบตามกรมธรรม์และลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันชีวิตจากบริษัท ท. แต่ไม่ได้รับโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมาด้วย และหลังจากวันที่ 27 มีนาคม 2543 ถึงวันที่โจทก์ถูกเลิกจ้าง จำเลยมิได้ให้โจทก์ทำงานประกันชีวิต โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างจากจำเลย
หนังสือสัญญาข้อตกลงรับทราบเงื่อนไขในการจ้างทำขึ้นในตอนที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างทดลองงานเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2547 แต่ข้อความตามหนังสือก็ระบุว่าเป็นเงื่อนไขในการจ้างในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงื่อนไขที่ใช้เฉพาะในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงานเท่านั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท ท. และทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ดังนั้น การที่บริษัท ท. ให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริการวินาศภัยทำงานประกันชีวิตด้วย งานประกันชีวิตซึ่งเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของบริษัท ท. จึงเป็นงานในความรับผิดชอบของโจทก์โดยชอบด้วยเงื่อนไขในการจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่โจทก์ทำงานประกันชีวิตให้บริษัท ท. ต่อมาในวันที่ 27 มีนาคม 2543 จำเลยซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ก็รับโอนทรัพทย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบตามกรมธรรม์และลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันชีวิตจากบริษัท ท. แต่ไม่ได้รับโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมาด้วย และหลังจากวันที่ 27 มีนาคม 2543 ถึงวันที่โจทก์ถูกเลิกจ้าง จำเลยมิได้ให้โจทก์ทำงานประกันชีวิต โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7077-7079/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การจ้างงานชั่วคราวต้องมีสัญญาจ้างเป็นหนังสือ
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯ ข้อ 45 วรรคสาม บัญญัติให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้าง หากเป็นการจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการซึ่งรัฐวิสาหกิจและพนักงานตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดยมีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ และให้หมายความถึงกรณีที่สัญญาจ้างดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จ หากรัฐวิสาหกิจและพนักงานจะตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีก ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วจะต้องไม่เกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกด้วย ดังนั้น การจ้างพนักงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวจึงต้องมีสัญญาจ้างเป็นหนังสือระหว่างรัฐวิสาหกิจและพนักงาน โดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ในสัญญาจ้างเป็นหนังสือนั้นด้วย ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ทั้งสามทำงานเป็นลูกจ้าง ต่อมามี พ.ร.ฎ.ยุบเลิกองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ฯ จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 โดยจ่ายค่าชดเชยและค่าชดเชยพิเศษแก่โจทก์ทั้งสามแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 มีมติคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีให้จ้างโจทก์ทั้งสามเพื่อช่วยปฏิบัติงานในการชำระบัญชีเป็นเวลาหนึ่งเดือนแล้วว่าจ้างโจทก์ทั้งสามเรื่อยมาโดยไม่ได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือหรือกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้เพียงกำหนดภารกิจให้ช่วยปฏิบัติงานในการชำระบัญชีเสร็จสิน และต่อมาได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2548 การจ้างโจทก์ทั้งสามให้ช่วยปฏิบัติงานในการชำระบัญชีจึงมิได้ตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดยมีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ ไม่เข้าเงื่อนไขของการจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่จะเข้าข้อยกเว้นให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6291/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลหนี้จากสัญญาจ้างทนายความ การกระทำละเมิด และการปลอมแปลงเอกสาร
มูลหนี้ที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์เกิดจากความเสียหายที่จำเลยรับเป็นทนายความว่าความให้โจทก์ ซึ่งถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยเป็นตัวแทน แล้วจำเลยไม่ฟ้องร้องคดีแพ่งเรียกหนี้เงินกู้จาก ป. แต่กลับปลอมสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยได้ฟ้อง ป. และ ป. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ทำการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงมิใช่กรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 420, 448