คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ และการซื้อที่ดินโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์วันอื่นที่มิใช่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 โดยไม่ได้ส่งหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ เท่ากับเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ได้แจ้งเหตุเลิกจ้างแก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นเป็นอุทธรณ์ที่หยิบยกข้อเท็จจริงใหม่กล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองและมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกระบวนการผลิตแร่ที่เหมืองแร่ของจำเลยที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการ ได้จัดทำบันทึกในนามของจำเลยว่าจำเลยซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยทำเหมืองแร่รุกล้ำที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย ซึ่งแม้โจทก์จะใช้เงินส่วนตัวซื้อที่ดิน ก็เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองของจำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินที่จำเลยได้สัมปทานทำเหมืองแร่หลังจากหมดอายุประทานบัตรซึ่งโจทก์รู้ว่าจะหมดอายุในเวลาอีกไม่นาน และต่อมาอีกประมาณ 1 ปี โจทก์ก็เข้าครอบครองที่ดินทันทีที่หมดอายุประทานบัตรของจำเลยและครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้รับตราส่งตามใบตราส่งทางทะเลและผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญาขนส่ง
ใบตราส่งที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศจัดทำขึ้นนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องปิดอากรแสตมป์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
ใบตราส่งระบุว่าจำเลยเป็นผู้รับตราส่งและเป็นผู้ที่ต้องได้รับแจ้งการมาถึงของสินค้า โดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำการในฐานะตัวแทนของ ย. ในใบตราส่งนั้นด้วย เมื่อมีเงื่อนไขการขนส่งแบบ ซีวาย/ซีวาย ข้อความดังกล่าวเป็นการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องแจ้งการมาถึงของสินค้าให้จำเลยทราบและส่งมอบสินค้าให้แก่เจ้าหน้าที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย และเมื่อตู้สินค้าถูกขนส่งถึงท่าปลายทาง โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งจะต้องส่งมอบตู้สินค้าทั้งตู้แก่จำเลยในฐานะผู้รับตราส่งเพื่อนำไปเปิดที่โกดังของตนเอง ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าสินค้ามาถึงประเทศไทยแล้ว แต่จำเลยไม่ได้ปฏิเสธที่จะไม่รับสินค้า พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยยอมรับเอาหน้าที่ที่จะต้องรับมอบตู้สินค้าจากโจทก์ตามข้อกำหนดของใบตราส่งโดยเงื่อนไขของ ซีวาย ตัวหลังแล้ว เมื่อโจทก์ขนส่งสินค้ามาส่งมอบให้จำเลยและจำเลยยอมรับหน้าที่ตามใบตราส่งแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่รับตู้สินค้าและส่งคืนตู้สินค้าดังกล่าว แต่จำเลยหาได้ทำหน้าที่ของตนกลับมีหนังสือแจ้งขอเปลี่ยนชื่อผู้รับตราส่งและไม่ได้ดำเนินพิธีการศุลกากรเพื่อส่งมอบตู้สินค้าแก่ ย. และนำตู้สินค้ามาคืนโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836-1837/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่โอนทรัพย์ให้ผู้ซื้อตามสัญญา แม้มีการล้มละลายของลูกหนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับหาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ ผู้ร้องทั้งสองชำระค่าที่ดินให้แก่ลูกหนี้ที่ 2 ครบถ้วนตามสัญญา ลูกหนี้ที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องทั้งสองอีก ลูกหนี้ที่ 2 คงมีแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงเป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับหาใช่สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้ที่ 2 จะพึงได้รับไม่ จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่า สิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องทั้งสองจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 หรือไม่ เพราะประโยชน์ที่จะพึงได้ในการที่ผู้ร้องทั้งสองใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสองหาตกได้แก่ลูกหนี้ที่ 2 ไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้ร้องทั้งสอง และการโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าวสามารถแยกส่วนกับภาระหนี้จำนองและการไถ่ถอนจำนองที่ลูกหนี้ที่ 2 มีต่อผู้รับจำนอง ประกอบกับผู้รับจำนองเพียงแต่มีคำร้องขอให้ผู้คัดค้านดำเนินการยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทรัพย์จำนองซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อยและขอรับชำระหนี้ จึงอยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะดำเนินการในส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หน้าที่นำพยานหลักฐานและการรับฟังเอกสาร
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 และมาตรา 94 นั้น เป็นขั้นตอนของการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ส่วนการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นเสนอศาลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 บัญญัติว่า ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน แล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาล พร้อมทั้งรายงานว่ามีผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ประการใดหรือไม่ เช่นนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายเรียกให้เจ้าหนี้นำพยานไปให้การสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามจำนวนที่ได้ยื่นคำขอไว้ เจ้าหนี้จึงมีหน้าที่จะต้องนำพยานไปให้การสอบสวนดังกล่าว
ในการขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีหน้าที่นำพยานมาให้การสอบสวนว่าลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามจำนวนที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ ทั้งมูลหนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (1) เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายนัดให้ ญ. และ ภ. ผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้ กับได้หมายนัดไปยังกรรมการของบริษัทเจ้าหนี้ให้นำพยานมาให้การสอบสวนและนำส่งเอกสารประกอบคำขอรับชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมายนัด และในหมายนัดทุกฉบับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ระบุเงื่อนไขไว้ด้วยว่า หากเจ้าหนี้ไม่มาให้การสอบสวนหรือนำส่งเอกสารภายในกำหนดถือว่าเจ้าหนี้ไม่ติดใจอ้างพยานหลักฐานอื่นใดอีก ซึ่งการส่งหมายนัดดังกล่าวให้แก่ผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้และกรรมการของเจ้าหนี้เป็นไปโดยชอบแล้ว แต่ผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้ก็ไม่ได้นำพยานมาให้การสอบสวนแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจฟังว่าลูกหนี้ที่ 1 ยังเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เพียงใด
การอ้างเอกสารในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 93 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 เมื่อกรณีไม่ปรากฏเหตุที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับฟังสำเนาเอกสารได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และสำเนาเอกสารนั้นก็มีเพียงผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้เป็นผู้รับรอง สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
เจ้าหนี้ยื่นต้นฉบับเอกสารภายหลังที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีความเห็นให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงเป็นการยื่นเอกสารที่ล่วงเลยระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14485/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่: การนำของสมนาคุณส่วนตัวไปใช้โดยไม่แจ้งผู้บังคับบัญชา
บริษัท น. นำจานกระเบื้องซึ่งเป็นของสมนาคุณมามอบให้กับจำเลยที่ 1 เพื่อมอบให้แก่ลูกค้า โจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับสินค้าดังกล่าวไว้และเห็นข้อความในเอกสารที่แสดงถึงการควบคุมจำนวนที่จัดส่ง โจทก์มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำเอกสารควบคุมการรับจ่ายของที่อยู่ในคลังสินค้า หากโจทก์ประสงค์ที่จะนำจานกระเบื้องซึ่งเป็นสินค้าควบคุมจำนวนไปใช้ส่วนตัวโดยเข้าใจว่าเป็นของสมนาคุณที่โจทก์มีสิทธินำไปใช้ได้ โจทก์ควรจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่รับผิดชอบคลังสินค้ารับทราบ การที่โจทก์นำจานกระเบื้องที่บริษัท น. มอบให้จำเลยที่ 1 ไปใช้ส่วนตัวโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถือได้ว่าเป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงอันเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่หาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14267/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่นายจ้าง: การพิสูจน์เจตนาและหน้าที่ความรับผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดลักทรัพย์อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบแก่โจทก์ เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งโดยเฉพาะ ไม่ได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีว่าไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประพฤติผิดอย่างร้ายแรงด้วยการกระทำความผิดอาญาฐานลักทรัพย์นายจ้าง และแม้ศาลอาญากรุงเทพใต้จะมีคำพิพากษาแล้วว่าโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและยกฟ้องในส่วนของโจทก์แล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลแรงงานกลางจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอาญากรุงเทพใต้รับฟังและวินิจฉัยมา ที่ศาลแรงงานกลางให้คู่ความนำพยานเข้าสืบถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ แล้วนำมาวินิจฉัยถึงการกระทำความผิดของโจทก์ในคดีนี้จึงสามารถกระทำได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานประจำในห้องการเงิน แต่เมื่อ ว. มาซื้อสินค้าของจำเลยที่ 1 และนำสินค้าไปยังเครื่องคิดเงิน โจทก์ได้ไปทำหน้าที่คิดเงินให้แก่ ว. ซึ่งปรากฏรายการสินค้าที่ ว. ได้รับไปโดยโจทก์ไม่ได้คิดเงินจำนวน 7 รายการ คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,931 บาท โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 ในหน้าที่คิดราคาค่าสินค้าและเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าเพื่อนำส่งให้แก่จำเลยที่ 1 มาเป็นเวลานาน ย่อมมีความชำนาญในการทำงานในหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเหตุที่ไม่คิดเงินจากสินค้าจำนวน 7 รายการ จาก ว. เนื่องจากหลงลืมและเกิดจากความผิดพลาดในการทำงาน แต่สินค้าจำนวน 7 รายการ ดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีลักษณะชิ้นใหญ่สามารถมองเห็นและตรวจสอบได้ง่าย การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการคิดเงินค่าสินค้าแต่กลับไม่คิดเงินค่าสินค้าจำนวน 7 รายการ จาก ว. ทำให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างเสียหายไม่ได้รับชำระค่าสินค้าดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์อาศัยโอกาสในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนเป็นช่องทางในการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่น ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13160/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานบัญชี: ความไว้วางใจและความรับผิดชอบต่อหน้าที่
โจทก์เป็นพนักงานบัญชีและการเงินมีหน้าที่จ่ายและรับคืนเงิน การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ ซื่อสัตย์ และได้รับความไว้วางใจจากนายจ้าง แม้จะได้ความว่าการที่โจทก์นำเงินไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านจะไม่เป็นการผิดระเบียบของจำเลย แต่การนำเงินของจำเลยไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านของโจทก์โดยไม่ได้นำมาคืนจนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ 5 เดือน และโจทก์นำมาคืนให้เมื่อจำเลยตรวจพบและทวงถาม ทั้งยังอ้างเหตุความหลงลืม อันแสดงถึงความไม่รอบคอบและไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีเหตุผลที่จะหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11225/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทมีหน้าที่รับผิดชอบในการขนย้ายทรัพย์สินและส่งมอบพื้นที่เช่าหลังสัญญาสิ้นสุด
ว. ทำสัญญาเช่าคูหาอาคารในตลาดสัตว์เลี้ยงกับโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าระงับไปเพราะเหตุสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 564 ว. ย่อมมีหน้าที่ที่ต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวว่าโดยสภาพแล้วย่อมมิใช่เป็นการเฉพาะตัวของ ว. ผู้ตายโดยแท้ หากแต่ถือว่าเป็นสิทธิหน้าที่และความรับผิดอันเป็นกองมรดกของ ว. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. จึงต้องรับไปซึ่งหน้าที่ในอันที่จะต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ ฒ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ก็เป็นทายาทโดยธรรมที่อยู่ในฐานะและมีหน้าที่ในอันที่ต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์เช่นเดียวกันกับจำเลยทั้งสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจาก ว. ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองได้กระทำการใด ๆ เพื่อการขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์อันจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำหน้าที่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. สมบูรณ์แล้ว แต่ ฒ. ไม่ยินยอมหรือขัดขืนไม่ยอมให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองรู้เห็นและร่วมกับ ฒ. ที่จะไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. จึงไม่พ้นความรับผิดในอันที่จะต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารของ ว. ออกไปจากคูหาอาคารที่เช่าและส่งมอบคูหาอาคารให้แก่โจทก์กับต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากคูหาอาคารที่เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10769/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังแยกกันอยู่ และหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร แม้ยังมิได้หย่าขาด
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย ขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลย และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองฝ่ายเดียว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้ทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โจทก์ไม่อาจฟ้องหย่าได้ จำเลยยังประสงค์อยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ และแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแย้งว่า หากศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดกัน ขอให้บุตรทั้งสองอยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของจำเลย ให้จำเลยมีอำนาจปกครอง ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนาแท้จริงตามฟ้องแย้งจำเลยว่า ไม่ประสงค์หย่ากับโจทก์และยืนยันว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง โจทก์ในฐานะบิดามารดามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ และปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ว่าโจทก์จำเลยยังคงเป็นสามีภริยาหรือหย่าขาดกันแล้วหรือไม่ กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลยตามมาตรา 1566 (5) ไม่ว่าโจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันหรือไม่เช่นเดียวกันแม้ศาลจะมิได้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวได้ หาใช่ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัย จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ขอให้โจทก์ปฏิบัติตามฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6947/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายงานข้ามประเภทหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และการปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง
ผู้ร้องประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายและสินค้าทั่วไป แม้ผู้คัดค้านทำงานในตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันเคมีซึ่งเป็นวัตถุอันตราย แต่ก็ไม่มีข้อตกลงว่าผู้ร้องจะมอบหมายงานให้ผู้คัดค้านขับรถบรรทุกสินค้าทั่วไปไม่ได้ ทั้งผู้คัดค้านมีใบอนุญาตขับรถที่สามารถขับรถบรรทุกได้ทุกประเภท เมื่องานด้านบรรทุกสารเคมีลดลง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ผู้คัดค้านขับรถบรรทุกหัวลากนำสินค้าจากบริษัทไปส่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง จากนั้นให้ไปรับสารเคมีที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเพื่อเตรียมนำส่งให้แก่ลูกค้า จึงไม่ใช่การเพิ่มหน้าที่และเพิ่มงาน แต่เป็นการใช้อำนาจบริหารงานภายในบริษัทให้เหมาะสมเท่านั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ทั้งมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้านเนื่องจากผู้คัดค้านไม่ได้รับมอบหมายจากสหภาพแรงงานให้เข้าร่วมฟังผลการสอบสวนพนักงานที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน และไม่ปรากฏว่ามีความจำเป็นอย่างไรที่ผู้คัดค้านจะต้องอยู่รอฟังผลการสอบสวน ผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการฝ่าฝืนวินัย ต้องถูกพิจารณาโทษตามลักษณะแห่งความผิดตามข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง ที่ศาลแรงงานภาค ๒ อนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านโดยตักเตือนเป็นหนังสือจึงเหมาะสมแล้ว
of 71