คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทนายความ: การยอมรับหนี้ใหม่ทำให้สะดุดหยุดอายุความเดิม
จำเลยจ้างโจทก์ซึ่งมีอาชีพเป็นทนายความให้จัดการขอแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายจากผู้จัดการมรดกให้จำเลยโดยตกลงจะให้ค่าจ้างเป็นเงิน โจทก์จัดการจนสำเร็จก่อนครบกำหนดสองปีนับแต่วันที่ผลงานเสร็จ จำเลยไม่มีเงินสด จึงจะโอนตึกแถวพร้อมที่ดินให้โจทก์แทนเงินค่าจ้าง และมอบให้บุตรของจำเลยไปจัดการ เมื่อจำเลยไปอวยพรปีใหม่และโจทก์ถามถึงค่าจ้าง จำเลยก็บอกให้โจทก์ทราบ ดังนี้ เป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างนับจากวันหลังขึ้นปีใหม่ถึงวันฟ้องยังไม่เกินสองปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับแต่วันเลิกสัญญา
จำเลยจ้างโจทก์ซึ่งเป็นทนายความให้ดำเนินคดีให้จำเลย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของ จำเลยผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 เมื่อเลิกจ้างแล้วจำเลยต้องใช้เงินให้โจทก์ตามควรค่าแห่งการงานที่โจทก์ทำ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามมาตรานี้เกิดขึ้นเมื่อเลิกสัญญากัน และมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับสภาพการจ้าง รวมถึงค่าจ้างและสวัสดิการ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เป็นกฎหมายพิเศษได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ในเบื้องต้นว่า เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดย วิธีปรองดองและเป็นธรรมข้อ 4(4) ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน และวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม และตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ "ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่าข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง "สภาพการจ้าง" หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ดังนั้น เมื่อลูกจ้างขอขึ้นเงินเดือนร้อยละ 10 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างขอขึ้นให้ร้อยละ 7 จึงมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจชี้ขาดได้
แม้ตามสัญญาแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการลูกจ้างภายใต้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เป็นกฎหมายพิเศษได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ในเบื้องต้นว่า เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมข้อ 4(4) ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม และตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ "ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่าข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง"สภาพการจ้าง" หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานกำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ดังนั้น เมื่อลูกจ้างขอขึ้นเงินเดือนร้อยละ 10 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างขอขึ้นให้ร้อยละ 7 จึงมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจชี้ขาดได้
แม้ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และการหักหนี้เบี้ยปรับ: แม้ของกลางสูญหาย ผู้รับจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกันซึ่งมีข้อกำหนดตามสัญญาว่าผู้จ้างยอมให้ผู้รับจ้างคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาไม้ ของกลางเป็นจำนวนเงิน 400 บาท นับแต่วันทำสัญญาจนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางขาดหายหรือเป็นอันตรายไป ผู้รับจ้างยอมให้ผู้จ้างปรับไหมเป็นเงินลูกบาศก์เมตรละ 200 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าผู้จ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยผู้รับจ้างได้เฝ้ารักษาไม้ของกลางให้โจทก์ผู้จ้างแล้วไม้ของกลางหายไปในระหว่างนั้นซึ่งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าปรับไหมหรือเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญา และศาลบังคับให้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับตัวเงินไปแทนไม้ของกลางตามสัญญา ทั้งสัญญาไม่มีข้อกำหนดว่าผู้จ้างจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างในกรณีไม้ของกลางสูญหายไป จำเลยจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างจากโจทก์ตามสัญญา และขอหักหนี้ค่าจ้างจากเบี้ยปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และการหักหนี้เบี้ยปรับ: สิทธิของลูกจ้างแม้ของหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกันซึ่งมีข้อกำหนดตามสัญญาว่าผู้จ้างยอมให้ผู้รับจ้างคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นจำนวนเงิน 400 บาท นับแต่วันทำสัญญาจนกว่าผู้จ้างจะรับไม้ของกลางคืน หากไม้ของกลางขาดหายหรือเป็นอันตรายไปผู้รับจ้างยอมให้ผู้จ้างปรับไหมเป็นเงินลูกบาศก์เมตรละ200 บาท ดังนี้ ถือได้ว่าผู้จ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยผู้รับจ้างได้เฝ้ารักษาไม้ของกลางให้โจทก์ผู้จ้างแล้วไม้ของกลางหายไปในระหว่างนั้น ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าปรับไหมหรือเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญา และศาลบังคับให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับตัวเงินไปแทนไม้ของกลางตามสัญญา ทั้งสัญญาไม่มีข้อกำหนดว่า ผู้จ้างจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างในกรณีไม้ของกลางสูญหายไป จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากโจทก์ตามสัญญา และขอหักหนี้ค่าจ้างจากเบี้ยปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยรับมอบงานชำรุดแล้วไม่จ่ายค่าจ้าง โจทก์ไม่ต้องรับผิดแม้จะมีการจ้างช่วง และจำเลยเพิกเฉยต่อการจ้างช่วงนั้น
โจทก์รับจ้างทำของให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยรับมอบงานที่ทำทั้ง ๆ ที่ทราบข้อชำรุดบกพร่องอยู่ก่อนแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าจ้างแก่โจทก์ การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ต้องรับผิดเพื่อการนี้เพราะจำเลยได้โต้แย้งท้วงติงในความชำรุดบกพร่องดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปีแล้วนั้น ก็เป็นเรื่องความรับผิดในข้อชำรุดบกพร่องเป็นคนละเรื่องกับการที่จำเลยรับมอบงานแล้วไม่จ่ายค่าจ้าง
การที่โจทก์เอางานบางส่วนไปให้ผู้อื่นรับจ้างช่วงโดยมิได้รับอนุญาตจากจำเลย แม้จะเป็นการผิดสัญญา แต่เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่เคยยกเหตุนี้ขึ้นว่ากล่าวแก่โจทก์และไม่เคยขอเลิกสัญญากับโจทก์เพราะเหตุนี้ กรณีจึงไม่มีค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องรับผิดอันจำเลยจะอ้างอำนาจตามข้อสัญญามายึดและหักเงินค่าจ้างที่ค้างชำระไว้เพื่อเป็นค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบงานที่มีข้อชำรุด และการจ้างช่วงโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นเหตุให้งดจ่ายค่าจ้าง
โจทก์รับจ้างทำของให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยรับมอบงานที่ทำทั้ง ๆ ที่ทราบข้อชำรุดบกพร่องอยู่ก่อนแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าจ้างแก่โจทก์ การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ต้องรับผิดเพื่อการนี้เพราะจำเลยได้โต้แย้งท้วงติงในความชำรุดบกพร่องดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปีแล้วนั้น ก็เป็นเรื่องความรับผิดในข้อชำรุดบกพร่องเป็นคนละเรื่องกับการที่จำเลยรับมอบงานแล้วไม่จ่ายค่าจ้าง
การที่โจทก์เอางานบางส่วนไปให้ผู้อื่นรับจ้างช่วงโดยมิได้รับอนุญาตจากจำเลย แม้จะเป็นการผิดสัญญา แต่เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่เคยยกเหตุนี้ขึ้นว่ากล่าวแก่โจทก์และไม่เคยขอเลิกสัญญากับโจทก์เพราะเหตุนี้ กรณีจึงไม่มีค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องรับผิดอันจำเลยจะอ้างอำนาจตามข้อสัญญามายึดและหักเงินค่าจ้างที่ค้างชำระไว้เพื่อเป็นค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: เบี้ยเลี้ยงรวมเป็นค่าจ้างในการคำนวณค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า ผู้ตายซึ่งเป็นพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันลูกจ้างของโจทก์ ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จนรถคว่ำถึงแก่ความตาย เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าทดแทนให้แก่ทายาทของผู้ตาย แต่จำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้ว่า ผู้ตายขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง มิใช่กระทำโดยจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะไม่มีเหตุผลประการใดที่ผู้ตายจะจงใจกระทำในเรื่องที่มีผลให้ตนต้องถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างในฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ ย่อมรับฟังตามที่โจทก์อ้างไม่ได้
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนฯข้อ 3 ให้คำนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" ไว้ หมายความถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ไม่ว่าสินจ้างนั้นจะเรียกชื่อหรือคำนวณอย่างไรก็ตามแต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลาค่าล่วงเวลาในวันหยุด โบนัส หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่มีลักษณะเป็นการสงเคราะห์ลูกจ้าง ผู้ตายเป็นลูกจ้างขับรถบรรทุกน้ำมันของโจทก์ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 350 บาทและเบี้ยเลี้ยงถัวเฉลี่ยเดือนละ 957.60 บาท เงินเดือนที่ผู้ตายได้รับนั้นเป็นอัตราที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นค่าจ้างในปัจจุบัน และไม่ได้ส่วนสัดกับงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน ส่วนเบี้ยเลี้ยงนั้น โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งโดยคำนวณตามเวลาที่ทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งสมควรแก่ปริมาณงานที่ทำ จึงถือได้ว่าเบี้ยเลี้ยงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสินจ้างที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้ตายในฐานะเป็นลูกจ้างเช่นเดียวกับเงินเดือน เพราะฉะนั้น "เบี้ยเลี้ยง" จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามนัยของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว หาใช่เป็นเงินสงเคราะห์ลูกจ้างที่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นเพราะต้องทำงานนอกสถานที่ไม่
ประมวลรัษฎากรกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเป็นกฎหมายคนละประเภทและมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ทั้งไม่มีเหตุผลพิเศษที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร่างกฎหมายต้องการใช้คำว่า "เบี้ยเลี้ยง" และคำว่า "ค่าจ้าง" ในกฎหมายสองฉบับนั้นให้มีความหมายตรงกันการตีความคำเหล่านี้จึงต้องตีความไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายแต่ละฉบับที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายนั้นๆ เองโดยเฉพาะประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้คำนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" ไว้เพื่อการคำนวณค่าทดแทนอยู่แล้ว การตีความคำว่า "ค่าจ้าง" ในเรื่องเงินค่าทดแทน จึงต้องเป็นไปตามคำนิยามนั้น (จะอ้างประมวลรัษฎากรมาประกอบการตีความว่า เบี้ยเลี้ยงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้อย่างค่าจ้าง จึงถือว่าเป็นค่าจ้างไม่ได้นั้น หาได้ไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: เบี้ยเลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างในการคำนวณค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า ผู้ตายซึ่งเป็นพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันลูกจ้างของโจทก์ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จนรถคว่ำถึงแก่ความตาย เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าทดแทนให้แก่ทายาทของผู้ตาย แต่จำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้ว่า ผู้ตายขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง มิใช่กระทำโดยจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะไม่มีเหตุผลประการใดที่ผู้ตายจะจงใจกระทำในเรื่องที่มีผลให้ตนต้องถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างในฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ ย่อมรับฟังตามที่โจทก์อ้างไม่ได้
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนฯ ข้อ 3 ให้คำนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้ หมายความถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ไม่ว่าสินจ้างนั้นจะเรียกชื่อหรือคำนวณอย่างไรก็ตาม แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลาค่าล่วงเวลาในวันหยุด โบนัส หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่มีลักษณะเป็นการสงเคราะห์ลูกจ้าง ผู้ตายเป็นลูกจ้างขับรถบรรทุกน้ำมันของโจทก์ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 350 บาทและเบี้ยเลี้ยงถัวเฉลี่ยเดือนละ 957.60 บาท เงินเดือนที่ผู้ตายได้รับนั้นเป็นอัตราที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นค่าจ้างในปัจจุบัน และไม่ได้ส่วนสัดกับงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน ส่วนเบี้ยเลี้ยงนั้น โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งโดยคำนวณตามเวลาที่ทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งสมควรแก่ปริมาณงานที่ทำ จึงถือได้ว่าเบี้ยเลี้ยงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสินจ้างที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้ตายในฐานะเป็นลูกจ้างเช่นเดียวกับเงินเดือน เพราะฉะนั้น 'เบี้ยเลี้ยง' จึงเป็น 'ค่าจ้าง' ตามนัยของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว หาใช่เป็นเงินสงเคราะห์ลูกจ้างที่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นเพราะต้องทำงานนอกสถานที่ไม่
ประมวลรัษฎากรกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเป็นกฎหมายคนละประเภทและมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ทั้งไม่มีเหตุผลพิเศษที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร่างกฎหมายต้องการใช้คำว่า 'เบี้ยเลี้ยง' 'ค่าจ้าง' ในกฎหมายสองฉบับนั้นให้มีความหมายตรงกันการตีความคำเหล่านี้จึงต้องตีความไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายแต่ละฉบับที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายนั้นๆ เองโดยเฉพาะประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้คำนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้เพื่อการคำนวณค่าทดแทนอยู่แล้ว การตีความคำว่า 'ค่าจ้าง' ในเรื่องเงินค่าทดแทน จึงต้องเป็นไปตามคำนิยามนั้น (จะอ้างประมวลรัษฎากรมาประกอบการตีความว่าเบี้ยเลี้ยงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้อย่างค่าจ้าง จึงถือว่าเป็นค่าจ้างไม่ได้นั้นหาได้ไม่)
of 88