พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9185/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทจำกัดสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคดีแพ่ง และการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์
สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในคดีส่วนแพ่งนั้นต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วม 10,000 บาท ให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม 40,000 บาท จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมสูงเกินสมควร จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยให้ในส่วนนี้จึงเป็นการไม่ชอบ และถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงคดีซื้อขาย, ทุนทรัพย์, สัญญาจะซื้อจะขาย, การยอมรับข้อเท็จจริง, ข้อจำกัดการฎีกา
คำฟ้องของโจทก์ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการบังคับจำเลยในทุนทรัพย์ 300,000 บาท มิใช่ราคา 600,000 บาท การคำนวณทุนทรัพย์ของคดีจะต้องคำนวณตามราคาที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นราคาที่ตกลงจะซื้อขายกับจำเลย จำเลยไม่เคยโต้เถียงในเรื่องนี้มาก่อนและจำเลยได้ร่วมดำเนินคดีมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น เท่ากับจำเลยยอมรับว่าคดีมีทุนทรัพย์ 300,000 บาท เมื่อเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8623/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: การคำนวณค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. เจ้ามรดก คดีของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอ ให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาททั้งสองแปลง เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ยกฟ้อง จึงต้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (1) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฟ้องแย้งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ชำระราคาสินค้าที่ค้างชำระเป็นเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่โจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลย เนื่องจากทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้โจทก์ยังไม่ชำระราคาสินค้าจำนวน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยส่งมอบแผ่นหลังคาเหล็กให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามสัญญา โจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงราคาสินค้าไว้ได้ เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่อาจฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงิน 11,329.38 บาท ให้แก่จำเลยได้ เพราะไม่ใช่ปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในคดีอาญาและแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน โดยพิจารณาจากทุนทรัพย์และข้อกฎหมาย
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 ประกอบมาตรา 83 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยหลังจากลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงปรับ 40 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในส่วนของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมมาจึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีมรดก การครอบครองปรปักษ์ และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา
ป.วิ.พ. มาตรา 94 บังคับแก่กรณีห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น หมายถึงกรณีที่จำต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเพื่อพิสูจน์ความจริงตามข้ออ้างเกี่ยวกับสิทธิที่ใช้เป็นหลักในการฟ้องคดี แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ทั้งห้าฟ้องอ้างสิทธิความเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ก. โดยจำเลยจดทะเบียนนิติกรรมในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินมรดกไว้แทนโจทก์ทั้งห้า จึงใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของตนคืน กรณีมิใช่ใช้สิทธิฟ้องคดีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การวินิจฉัยโดยรับฟังพยานบุคคลเป็นหลักในการพิจารณา ชอบต่อการรับฟังพยานหลักฐานแล้ว
แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบบันทึกการสอบสวนการโอนมรดกจะเป็นเอกสารมหาชนซึ่งมาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะต้องรับฟังตามนั้น โจทก์ทั้งห้านำพยานเข้าสืบหักล้างได้ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทมานาน 30 ปี ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของและเปิดเผย โจทก์ทั้งห้าไม่เคยฟ้องเรียกที่ดินคืน คดีขาดอายุความนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบบันทึกการสอบสวนการโอนมรดกจะเป็นเอกสารมหาชนซึ่งมาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะต้องรับฟังตามนั้น โจทก์ทั้งห้านำพยานเข้าสืบหักล้างได้ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทมานาน 30 ปี ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของและเปิดเผย โจทก์ทั้งห้าไม่เคยฟ้องเรียกที่ดินคืน คดีขาดอายุความนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดก การรับฟังพยานหลักฐาน และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา
กรณีห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หมายถึงกรณีที่จำต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเพื่อพิสูจน์ความจริงตามข้ออ้างเกี่ยวกับสิทธิที่ใช้เป็นหลักในการฟ้องคดี แต่ในคดีนี้โจทก์ทั้งห้าฟ้องอ้างสิทธิความเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกนาย ก. โดยจำเลยจดทะเบียนนิติกรรมในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้แทนโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของตนซึ่งจำเลยถือครองไว้แทนคืนได้ กรณีมิใช่การใช้สิทธิฟ้องคดีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และส่วนข้ออ้างว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบบันทึกการสอบสวนการโอนมรดกเป็นเอกสารมหาชนนั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเอกสารมหาชนซึ่งตามมาตรา 127 แห่ง ป.วิ.พ. ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะต้องรับฟังตามนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้านำพยานเข้าสืบหักล้างถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยมานั้นไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ จะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ จะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งจากทุนทรัพย์ และขอบเขตค่าสินไหมทดแทนที่ศาลบังคับได้ตามกฎหมาย
สิทธิในการอุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งนั้นต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 24,725 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. อาญา มาตรา 40 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเกิดแก่รถจักรยานยนต์ของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้
การที่ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเกิดแก่รถจักรยานยนต์ของผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดอำนาจอุทธรณ์คดีไม่มีทุนทรัพย์และทุนทรัพย์น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นของโจทก์ แต่เป็นของผู้อื่น คือ ม. และ ห. กับมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินมาจาก ม. และ ห. และยึดถือครอบครองเพื่อตนจนได้สิทธิครอบครองแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีของโจทก์ที่ฟ้องและมีคำขอบังคับให้ขับไล่จำเลยจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อโจทก์พอใจไม่อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนที่ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จากการที่จำเลยอยู่ในที่ดินโดยละเมิดเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องถือว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แม้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่ค่าเสียหายตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้นับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไปคำนวณถึงวันที่ 27 เมษายน 2554 ซึ่งเป็นวันฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้ก็ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เช่นกัน อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่สิทธิที่จะฎีกาปัญหาดังกล่าวอีก เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอ้างว่าเป็นทางสาธารณะ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยไม่มีทางสาธารณะตัดผ่าน จึงมีประเด็นที่โต้เถียงว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นของจำเลย ผลประโยชน์ที่โจทก์หรือจำเลยจะได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีราคา 75,354 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกากล่าวอ้างโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้รับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว