คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14873-14889/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างหักเงินสมทบประกันสังคมแล้วไม่นำส่ง ไม่มีหน้าที่คืนเงินให้ลูกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่หักค่าจ้างที่จ่ายแก่ลูกจ้างส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และนายจ้างมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มกับมีโทษตามกฎหมาย เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักค่าจ้างของโจทก์ทั้งสิบเจ็ดเป็นเงินสมทบแล้วไม่นำส่งเงินสมทบ จนกระทั่งถูกสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 10 ติดตามทวงถาม และมีการทำสัญญารับสภาพหนี้กันไว้ จึงเป็นการบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 10 แล้ว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่คืนเงินค่าจ้างที่หักเป็นเงินสมทบแล้วให้แก่โจทก์ทั้งสิบเจ็ด โจทก์ทั้งสิบเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13797/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ และข้อบังคับขององค์กร จำเลยไม่มีหน้าที่จ่ายหากไม่แก้ไขข้อบังคับ
การสงเคราะห์เมื่อออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 ข้อ 16 และข้อ 17 ระบุให้ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน กรณีที่ผู้ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินสงเคราะห์ตกทอดแก่ทายาทโดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังนั้นเงินสงเคราะห์ตกทอดจะจ่ายเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับความตายของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน และตัวผู้รับเป็นทายาทของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือน แต่บำเหน็จดำรงชีพตามพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 มาตรา 3, 4 และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 47/1, 49 วรรคสอง เป็นเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว เมื่อผู้รับบำนาญที่รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้วถึงแก่ความตาย การจ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทให้หักเงินที่จะได้รับเท่ากับบำเหน็จดำรงชีพออกจากบำเหน็จตกทอดเสียก่อน บำเหน็จดำรงชีพจึงไม่ใช่บำเหน็จตกทอดตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติสำหรับกรณีผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายให้จ่ายบำเหน็จตกทอดให้ทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา 48 บำเหน็จดำรงชีพจึงแตกต่างจากบำเหน็จตกทอดทั้งตัวผู้รับคือบำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ตัวผู้รับบำนาญเอง แต่บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิหลังจากผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายแล้ว และบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเร่งระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้เร็วขึ้นจากที่ทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ได้รับบำนาญมาเป็นการจ่ายตามคำขอของผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นเงินสงเคราะห์ตกทอดที่จำเลยจะต้องจ่ายตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 จึงมีหลักเกณฑ์การจ่ายโดยอนุโลมเช่นเดียวกับการจ่ายบำเหน็จตกทอด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 4.9 ให้มีการจ่ายเงินในลักษณะเดียวกับการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 คือจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในขณะที่ยังมีชีวิต จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8413/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และการแก้ไขเอกสาร การกระทำเป็นกรรมเดียว
จำเลยมีตำแหน่งเป็นเสมียนตรามีหน้าที่รับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน เมื่อใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกไปมีข้อความหรือจำนวนเงินผิดพลาด จำเลยย่อมมีอำนาจหน้าที่แก้ไขให้ถูกต้อง การแก้ไขดังกล่าวมิใช่การกระทำในขณะจำเลยหมดอำนาจที่จะแก้ไข จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทำเอกสารอันเป็นเท็จแต่การทำเอกสารอันเป็นเท็จดังกล่าวเพื่อให้สมเหตุผลในการยักยอกทรัพย์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวคือเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ จึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18806/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ต้องระบุว่าจำเลยมีหน้าที่นำภาพยนตร์เข้าตรวจพิจารณา มิฉะนั้นฟ้องไม่ชอบ
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนำภาพยนตร์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำความผิดต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก่อน แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์และวีดีทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ในครอบครองเพื่อที่จะใช้ขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า และเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังกล่าวไปผ่านการตรวจพิจารณาอนุญาต การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด อันเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13104/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี จำเป็นต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ หรือมีเหตุใช้สิทธิทางศาล กรณีจำนองถูกต้อง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ที่จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลจะต้องถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล กล่าวคือ ต้องมีกฎหมายรองรับว่ามีสิทธิหรือหน้าที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์แย่งสิทธิครอบครองในที่ดินและบ้านพิพาทจาก พ. ผู้เป็นเจ้าของภายหลังจากที่ พ. จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ไว้แก่จำเลยก่อนที่จำเลยฟ้องบังคับให้ พ. ชำระหนี้และดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดแก่ผู้มีชื่ออันมีผลให้สัญญาจำนองระงับตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (3) (4) เท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยจดทะเบียนรับจำนองจาก พ. ผู้เป็นเจ้าของไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จำเลยจึงเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเหนือที่ดินและบ้านพิพาท ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อชำระหนี้แก่ตนได้ การที่โจทก์จะเข้าแย่งการครอบครองหรือได้สิทธิครอบครองในภายหลังหรือไม่ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการทำให้ผู้จำนองหลุดพ้นหรือเป็นการถอนจำนอง อันมีผลให้สัญญาจำนองระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (3) (4) ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดต่อกฎหมายหรือใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายประการใด การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์หรือมีเหตุที่โจทก์จะต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19854/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์นำสืบการนับโทษคดีอาญา และอำนาจศาลวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
การที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ระบุในคำฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้น เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบและต้องแถลงให้ศาลทราบว่าคดีอาญาหมายเลขดำดังกล่าวศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 หรือไม่ประการใด แม้คดีนั้นจะอยู่ในศาลเดียวกันก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลต้องรู้เองและก็ไม่มีหน้าที่จะต้องไปตรวจสอบคดีดังกล่าวด้วย ปัญหาว่าจะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอื่นได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16407/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานไม่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินส่วนตัวนักเรียน การกระทำนอกเหนือหน้าที่ ไม่ถึงความผิด ม.157
จำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียน โดยไม่มีหน้าที่โดยตรงที่ต้องเก็บรักษาสมุดบัญชีเงินฝากของนักเรียนไว้และไปถอนเงินจากธนาคารแทนนักเรียน การที่จำเลยบอกให้นักเรียนบางคนมอบสมุดบัญชีเงินฝากไว้ที่จำเลยและมอบอำนาจให้จำเลยไปถอนเงินจากธนาคารแทนแล้วให้นักเรียนไปขอเบิกจากจำเลยอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปนอกเหนือหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้ เงินที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาโอนเข้าบัญชีเงินฝากของนักเรียน ยังถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของนักเรียน มิใช่เป็นทรัพย์สินของหน่วยงานราชการซึ่งจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาอีกด้วย เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องดูแลรับผิดชอบเงินในบัญชีเงินฝากอันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของนักเรียน แม้จำเลยจะได้นำเงินดังกล่าวไปใช้หมุนเวียนเพื่อประโยชน์ส่วนตนก่อนที่จะถูกร้องเรียนและคืนให้นักเรียนในภายหลังหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15657/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในการยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายและการรับรองความถูกต้อง แม้จะมอบหมายให้สมุห์บัญชีดูแล
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนต้องยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำขึ้นและผู้สมัครรับรองความถูกต้องภายในกำหนดเก้าสิบวันหลังจากวันประกาศผลเลือกตั้ง ผลแห่งกฎหมายทำให้จำเลยในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายและรับรองความถูกต้อง แม้บทบัญญัติในมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จะกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่งตั้งสมุห์บัญชีเลือกตั้งเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและรับรองความถูกต้องของบัญชีรายรับรายจ่ายของผู้สมัครก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องกระทำการให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งในบัญชีรายรับรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งได้จัดทำขึ้น โดยมิได้ตรวจสอบถึงความถูกต้องตามความจริงและครบถ้วนตามกฎหมาย อีกทั้งต้องมีหน้าที่รับรองความถูกต้องด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12709/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลตเตอร์ออฟเครดิต: ธนาคารปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามเงื่อนไข แม้ผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตยังไม่ได้รับเอกสาร
การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องทรัพย์สินให้กลับมาเป็นของลูกหนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สำเร็จลุล่วง ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้บริหารแผนจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลล้มละลายกลางก่อน โดยเป็นการฟ้องคดีในนามของโจทก์มิใช่ในนามของผู้บริหารแผน
ข้อกำหนด UCP 500 ข้อ 3 และข้อ 4 แสดงให้เห็นสภาพของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นอันเป็นมูลหนี้ที่ก่อให้เกิดการชำระหนี้ด้วยเครดิต ธนาคารตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผูกพันตามสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่น แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารตามที่ระบุไว้ในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต และจะไม่เกี่ยวข้องกับสินค้า บริการ หรือการปฏิบัติอื่นใด ซึ่งเอกสารนั้นอาจเกี่ยวพันไปถึง
ข้อกำหนด UCP 500 ข้อ 15 ระบุว่า ธนาคารผู้ตรวจเอกสารไม่ต้องรับภาระหรือรับผิดชอบต่อแบบฟอร์ม ความครบถ้วน ความถูกต้อง เป็นของแท้ เป็นของปลอม หรือการก่อให้เกิดผลตามกฎหมายของเอกสาร นั้น หมายความว่า การทำหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเอกสารนั้น ถ้าเอกสารนั้นมีความสมบูรณ์และตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ก็มีภาระผูกพันต้องชำระเงินตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต โดยไม่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับแบบฟอร์มของเอกสาร ความแท้จริงของเอกสาร การปลอมแปลงของเอกสาร ปัญหากฎหมายของเอกสาร ลักษณะ ประเภทสินค้า ปริมาณ น้ำหนัก คุณภาพ สภาพของสินค้า การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง หรือมูลค่าของสินค้าที่ส่งมอบให้แก่กัน
พิธีปฏิบัติของธนาคารตามมาตรฐานสากลเพื่อการตรวจสอบเอกสารภายใต้เครดิตที่มีเอกสารประกอบหรือ ISBP ข้อ 9 ให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเอกสารบุคคลผู้ออกเอกสารจะต้องลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข และทำได้ด้วยการขูดลบ ขีดฆ่า หรือเพิ่มเติมในข้อความ การที่หนังสือฉบับนี้ฉีกขาดออกจากกันโดยถูกตัดหรือกรีดด้วยของมีคม ทำให้กระดาษชิ้นที่ถูกตัดหลุดออกเป็นช่องสี่เหลี่ยม แต่มีการนำกระดาษชิ้นที่หลุดออกมาต่อใหม่ด้วยเทปพลาสติกใส การฉีกขาดดังกล่าวจึงมิได้มีลักษณะเป็นการฉีกทำลายเอกสาร ดังนั้น เอกสารหรือข้อความในเอกสารจึงมิได้เสียไป ทั้งข้อความและความหมายของเอกสารดังกล่าวมิได้มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ออกเอกสารลงลายมือชื่อกำกับรับรองความถูกต้องตามข้อ 9 ของข้อกำหนด ISBP ถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นเอกสารที่ถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิต
แม้โจทก์จะเคยขอให้จำเลยที่ 1 แจ้งให้จำเลยที่ 2 ชะลอการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไว้ก่อน เพราะโจทก์ยังไม่ได้รับเอกสารการขนส่งสินค้าจากผู้ขาย และจำเลยที่ 2 แจ้งว่าได้ยกเลิกการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์แล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 1 ว่าได้รับเอกสารที่ผู้รับประโยชน์ยื่นขอรับเงินที่จำเลยที่ 2 จัดส่งไปให้แล้ว และเห็นว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว จึงได้จ่ายเงินไป การจ่ายเงินของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอย่างมีเหตุผลในฐานะธนาคารตัวแทนของธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งมิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาท การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7749/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการจัดซื้อ จัดจ้าง โดยเรียกรับเงินจากผู้ขาย เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 บัญญัติให้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ซึ่งหมายความว่า ลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมอันดี เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายสินค้าและจัดส่ง และได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้จัดซื้อรถยกและชั้นวางสินค้าไว้ใช้ในคลังสินค้าของบริษัทนายจ้าง แต่ในการเจรจาซื้อสินค้าดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โจทก์เรียกค่าตอบแทนในการจัดซื้อสินค้าไว้เป็นการส่วนตัว และจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการประพฤติทุจริตเบียดบังสิทธิและผลประโยชน์อันมิควรได้ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่การงานและความไว้วางใจของนายจ้างที่ให้อำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อตกลงเรียกเงินค่าตอบแทนในการเจรจาซื้อขายสินค้าดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง
of 71