คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 877 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ ค่าจ้างรายข้อหา ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม หากตกลงราคาก่อน
จำเลยจ้างโจทก์ไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ รวบรวมรายละเอียดและหลักฐานเกี่ยวแก่ที่ดินของจำเลยที่ถูกบุกรุกและจ้างโจทก์ดำเนินการเกี่ยวแก่การแจ้งความหรือร้องทุกข์ที่ดินแปลงเดียวกันนี้ โดยยอมให้ค่าจ้างเป็นรายข้อหา สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของและตามข้อสัญญาก็มิได้เป็นช่องทางให้โจทก์ดำเนินการแจ้งความหรือร้องทุกข์ได้หลายข้อหาเพื่อหวังจะได้ค่าจ้างมากขึ้นตามข้อหาเหล่านั้น เพราะการจะแจ้งความหรือร้องทุกข์กี่ข้อหากี่คดีย่อมแล้วแต่ความประสงค์ของจำเลยผู้ว่าจ้างจะลงชื่อร้องทุกข์แจ้งความในข้อหาใดหรือไม่ ซึ่งโจทก์กำหนดราคาค่าจ้างให้จำเลยทราบก่อนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาส่งเสริมให้จำเลยเป็นความกับบุคคลอื่น ไม่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของเพื่อแจ้งความ/ร้องทุกข์ ค่าจ้างรายข้อหาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรม
จำเลยจ้างโจทก์ไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ รวบรวมรายละเอียดและหลักฐานเกี่ยวแก่ที่ดินของจำเลยที่ถูกบุกรุกและจ้างโจทก์ดำเนินการเกี่ยวแก่การแจ้งความหรือร้องทุกข์ที่ดินแปลงเดียวกันนี้ โดยยอมให้ค่าจ้างเป็นรายข้อหา สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของและตามข้อสัญญาก็มิได้เป็นช่องทางให้โจทก์ดำเนินการแจ้งความหรือร้องทุกข์ได้หลายข้อหาเพื่อหวังจะได้ค่าจ้างมากขึ้นตามข้อหาเหล่านั้น เพราะการจะแจ้งความหรือร้องทุกข์กี่ข้อหากี่คดีย่อมแล้วแต่ความประสงค์ของจำเลย ผู้ว่าจ้างจะลงชื่อร้องทุกข์แจ้งความในข้อหาใดหรือไม่ ซึ่งโจทก์กำหนดราคาค่าจ้างให้จำเลยทราบก่อนแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาส่งเสริมให้จำเลยเป็นความกับบุคคลอื่น ไม่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทรวงมหาดไทยกำหนดจ่ายเงินชดเชยจากการเลิกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติและบทนิยามค่าจ้าง
กรมแรงงานจำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อันความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนคืออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง เมื่ออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับลูกจ้างเกี่ยวด้วยเงินชดเชยซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ หาจำต้องฟ้องอธิบดีกรมแรงงานในฐานะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนับว่าเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งที่จำเลยทั้งสองออกมาบังคับแก่โจทก์ตกเป็นโมฆะ มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 และไม่ใช่กรณีละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อประกันค่าจ้างว่าความ มิใช่การชำระหนี้ สิทธิในเช็คไม่ผูกพันจำเลย
จำเลยออกเช็คให้ทนายความ เพื่อประกันค่าจ้างว่าความมิได้ประสงค์จะออกเช็คให้เป็นการชำระหนี้ การที่ทนายความสลักหลังเช็คนั้นให้โจทก์ จึงหามีผลผูกพันจำเลยแต่อย่างใดไม่การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่แรงงานตามประกาศ คณะปฏิวัติ และ พ.ร.บ. ระงับข้อพิพาทแรงงาน การจ่ายค่าจ้างทำงานวันหยุด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2501 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2508มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 แล้วบัญญัติวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานขึ้นใหม่ ส่วนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 2 และข้อ 7 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง ฯลฯ ตลอดจนการสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทย ตามความในข้อ 2ยังมีผลใช้บังคับอยู่และเป็นกรณีข้อมูลคนละเรื่องกับพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2508 เพราะกฎหมายฉบับนี้มีหลักการว่าด้วยการกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานและให้ยกเลิกเฉพาะในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เท่านั้น
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมว่า โดยปกติจะเกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงไม่ได้นั้นไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างต้องทำงานจนครบสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงเมื่อลูกจ้างได้ทำงานตามวันเวลาที่ตกลงจ้างกันแล้ว แม้เวลาทำงานไม่ครบ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราที่ตกลงกัน ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกเป็นพิเศษตามที่กฎหมายบังคับไว้นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหักชั่วโมงทำงานในวันหยุดงานไปชดเชยชั่วโมงทำงานในวันทำงานตามปกติที่ยังไม่ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมงให้ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมง แม้ลูกจ้างจะตกลงยินยอมด้วยก็ไม่มีผลบังคับเพราะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2363/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน ต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนและค่าทำศพ
คำว่า "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2(พ.ศ.2507) ให้คำวิเคราะห์ศัพท์ไว้หมายความถึงสินจ้างที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง ไม่ว่าสินจ้างนั้นจะเรียกชื่อ กำหนด คำนวณ หรือจ่ายอย่างไรก็ตาม แต่ไม่รวมค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด โบนัส หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่มีลักษณะเป็นการสงเคราะห์ลูกจ้าง
ขณะออกไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด ลูกจ้างได้รับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 35 บาทจากนายจ้างเพิ่มจากค่าจ้างเดิมทุกวันที่ปฏิบัติงานวันที่ไม่มาทำงาน ไม่ว่าเพราะเหตุใด รวมทั้งวันหยุดงานประจำสัปดาห์และวันหยุดงานตามประเพณีนิยม นายจ้างไม่จ่ายให้ เงินที่นายจ้างจ่ายให้นี้ถือได้ว่าเป็นเงินค่าจ้างตามความหมายของคำวิเคราะห์ศัพท์ดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2363/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยเลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณค่าทดแทนและค่าทำศพ
คำว่า 'ค่าจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2(พ.ศ.2507) ให้คำวิเคราะห์ศัพท์ไว้หมายความถึงสินจ้างที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง ไม่ว่าสินจ้างนั้นจะเรียกชื่อ กำหนด คำนวณ หรือจ่ายอย่างไรก็ตาม แต่ไม่รวมค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด โบนัส หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่มีลักษณะเป็นการสงเคราะห์ลูกจ้าง
ขณะออกไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด ลูกจ้างได้รับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 35 บาทจากนายจ้างเพิ่มจากค่าจ้างเดิมทุกวันที่ปฏิบัติงานวันที่ไม่มาทำงาน ไม่ว่าเพราะเหตุใด รวมทั้งวันหยุดงานประจำสัปดาห์และวันหยุดงานตามประเพณีนิยม นายจ้างไม่จ่ายให้ เงินที่นายจ้างจ่ายให้นี้ถือได้ว่าเป็นเงินค่าจ้างตามความหมายของคำวิเคราะห์ศัพท์ดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงต้องมีการทำให้ทรัพย์สินของผู้เสียหายเปลี่ยนมือ การรับจ้างขนส่งแล้วไม่จ่ายค่าจ้างเป็นผิดสัญญา ไม่ใช่ฉ้อโกง
การที่จำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายรับจ้างทำการขนส่งให้จำเลยแล้วไม่ชำระค่าขนส่งที่ตกลงไว้ว่าจะชำระให้นั้น จำเลยได้รับผลเพียงการขนส่งจากผู้เสียหายไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายทวงหนี้และเจตนายักยอก: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและการยอมรับค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงหาว่ายักยอกทรัพย์ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงควรฟังเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียเองแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังใหม่นั้นโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นได้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างทวงหนี้และการหักเงินค่าจ้าง มิใช่ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หากมีเจตนาเปิดเผยและได้รับความยินยอม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงหาว่ายักยอกทรัพย์ ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงควรฟังเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียเอง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังใหม่นั้นโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้
of 88