พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม การใช้สิทธิเกินขอบเขต และหน้าที่เจ้าของภารยทรัพย์ในการรักษาสิทธิของเจ้าของสามยทรัพย์
ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทได้ แต่การที่โจทก์ก่อสร้างเพิงเก็บสินค้าในที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์แต่เพียงผู้เดียวเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์ ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์เสียหาย แม้โจทก์จะก่อสร้างเพิงเก็บสินค้าดังกล่าวมาก่อนที่ดินพิพาทจะตกเป็นของจำเลย แต่เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนเพิงเก็บสินค้าแล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการทำละเมิดแก่จำเลย
การที่ อ. เจ้าของที่ดินคนก่อนก่อสร้างรั้วคอนกรีตกีดขวางทางภาระจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อที่ดินพิพาทโอนมาเป็นของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่รื้อถอนรั้วคอนกรีตออกไปจากที่ดินพิพาท ส่วนการที่จำเลยสร้างโครงหลังคาเหล็กยึดกับผนังโรงงานของจำเลยซึ่งอยู่ติดกับที่ดินพิพาทโดยไม่มีเสาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงเหล็กติดตั้งอยู่บนที่ดินพิพาทนั้นไม่ทำให้ประโยชน์ในการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์ลดลงหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรื้อถอนโครงเหล็กหลังคา
การที่ อ. เจ้าของที่ดินคนก่อนก่อสร้างรั้วคอนกรีตกีดขวางทางภาระจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อที่ดินพิพาทโอนมาเป็นของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่รื้อถอนรั้วคอนกรีตออกไปจากที่ดินพิพาท ส่วนการที่จำเลยสร้างโครงหลังคาเหล็กยึดกับผนังโรงงานของจำเลยซึ่งอยู่ติดกับที่ดินพิพาทโดยไม่มีเสาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงเหล็กติดตั้งอยู่บนที่ดินพิพาทนั้นไม่ทำให้ประโยชน์ในการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์ลดลงหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรื้อถอนโครงเหล็กหลังคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8584/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลา
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบอย่างไรก็ตาม ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ไม่ชอบด้วยมาตรา 234 จึงไม่รับวินิจฉัย ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากหน้าที่-ปล่อยปละละเลย-การควบคุมดูแล-ความรับผิดทางละเมิด-อายุความ
จำเลยที่ 1 หัวหน้างานบริหารการฝึกอบรมของวิทยาลัยการปกครองมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหมวดอาคารและสถานที่ งานบริหารการฝึกอบรมของวิทยาลัยการปกครองและเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ดูแลและใช้ประโยชน์รถยนต์คันเกิดเหตุ อันเป็นการบริหารงานภายในของวิทยาลัยการปกครองมิใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายระดับพระราชบัญญัติหรือกฎหมายลำดับรองอื่น ๆ ที่หากจำเลยที่ 1 จะมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 วินิจฉัยสั่งการ จะต้องทำเป็นหนังสือตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดอาคารและสถานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลและใช้ประโยชน์รถยนต์คันเกิดเหตุโดยชอบแล้ว แม้การมอบหมายจะกระทำด้วยวาจาก็ตาม
จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานบริหารการฝึกอบรม แม้จะมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ดูแลและใช้ประโยชน์รถยนต์คันเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องควบคุมการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 กลับปล่อยปละละเลยหน้าที่ควบคุมของตน ส่วนจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ดูแลและใช้ประโยชน์รถยนต์คันเกิดเหตุโดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วย แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กลับปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาท โดยไม่จัดให้มีสมุดบันทึกการใช้และรายการซ่อมบำรุงรถยนต์คันพิพาทตามระเบียบของราชทัณฑ์ขับรถยนต์คันดังกล่าวซึ่งมีสภาพไม่สมบูรณ์ออกจากวิทยาลัยการปกครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชนรถยนต์ของบุคคลอื่นได้รับความเสียหายที่หน้าวิทยาลัยการปกครองกรมการปกครองโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะไม่ใช่ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนในกรณีเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว
จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างประจำของวิทยาลัยการปกครอง ตำแหน่งคนงานมีหน้าที่ตัดหญ้าและทำความสะอาดบริเวณวิทยาลัย จำเลยที่ 4 ไม่ได้อนุญาตให้ อ. ขับรถยนต์คันเกิดเหตุออกจากวิทยาลัยแต่ อ. ขอให้จำเลยที่ 4 นั่งไปในรถยนต์เพื่อขับรถยนต์กลับ การกระทำของจำเลยที่ 4 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต่างคนต่างทำละเมิดต่อโจทก์ มิได้ร่วมกันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 วรรคหนึ่ง ทั้งเมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แต่ละคนทำอันก่อให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ดังกล่าวและความร้ายแรงแห่งละเมิดตามมาตรา 438 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลฎีกาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดคนละส่วนเท่า ๆ กัน
จำเลยที่ 2 ให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความ โจทก์อุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องอายุความ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ 10 ปี ในการใช้สิทธิไล่เบี้ยไว้ ก็ไม่ทำให้เกิดประเด็นเรื่องอายุความ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานบริหารการฝึกอบรม แม้จะมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ดูแลและใช้ประโยชน์รถยนต์คันเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องควบคุมการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 กลับปล่อยปละละเลยหน้าที่ควบคุมของตน ส่วนจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ดูแลและใช้ประโยชน์รถยนต์คันเกิดเหตุโดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วย แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กลับปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาท โดยไม่จัดให้มีสมุดบันทึกการใช้และรายการซ่อมบำรุงรถยนต์คันพิพาทตามระเบียบของราชทัณฑ์ขับรถยนต์คันดังกล่าวซึ่งมีสภาพไม่สมบูรณ์ออกจากวิทยาลัยการปกครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชนรถยนต์ของบุคคลอื่นได้รับความเสียหายที่หน้าวิทยาลัยการปกครองกรมการปกครองโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะไม่ใช่ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนในกรณีเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว
จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างประจำของวิทยาลัยการปกครอง ตำแหน่งคนงานมีหน้าที่ตัดหญ้าและทำความสะอาดบริเวณวิทยาลัย จำเลยที่ 4 ไม่ได้อนุญาตให้ อ. ขับรถยนต์คันเกิดเหตุออกจากวิทยาลัยแต่ อ. ขอให้จำเลยที่ 4 นั่งไปในรถยนต์เพื่อขับรถยนต์กลับ การกระทำของจำเลยที่ 4 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต่างคนต่างทำละเมิดต่อโจทก์ มิได้ร่วมกันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 วรรคหนึ่ง ทั้งเมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แต่ละคนทำอันก่อให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ดังกล่าวและความร้ายแรงแห่งละเมิดตามมาตรา 438 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลฎีกาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดคนละส่วนเท่า ๆ กัน
จำเลยที่ 2 ให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความ โจทก์อุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องอายุความ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ 10 ปี ในการใช้สิทธิไล่เบี้ยไว้ ก็ไม่ทำให้เกิดประเด็นเรื่องอายุความ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของหุ้นส่วนผู้จัดการในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 1 พักอยู่ที่ที่ทำงานและจะให้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเป็นประจำในการทำงาน เหตุรถเฉี่ยวชนกันเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 22 นาฬิกา หลังจากเวลาเลิกงานตามปกติแล้ว ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปเติมน้ำมันแม้จะอยู่นอกเวลาทำงานแต่ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2
ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ที่บัญญัติให้ผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนนั้นมิได้ระบุข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขแห่งการรับผิดของผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดด้วยจึงชอบแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ที่บัญญัติให้ผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนนั้นมิได้ระบุข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขแห่งการรับผิดของผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดด้วยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลอาคารชุดไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคล การละเลยดูแลจึงไม่เป็นละเมิด
นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคล ทั้งการละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำก็ไม่เป็นละเมิด การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตรวจตราอาคารชุดโดยใกล้ชิด จึงเป็นเหตุให้คนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในห้องชุดของโจทก์ จะถือเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 งดเว้นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดฐานต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าและชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าตามใบตราส่งและเงื่อนไขการขนส่ง
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 26 บัญญัติให้สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการขนส่งของที่ระบุไว้ในใบตราส่งนั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดในใบตราส่ง ซึ่งแม้ใบตราส่งไม่ปราฏข้อกำหนดหน้าที่ให้จำเลยต้องดำเนินพิธีการศุลกากร ขนถ่ายสินค้าออกจากตู้และส่งมอบตู้สินค้าคืนแก่โจทก์ภายใน 7 วัน แต่ใบตราส่งระบุว่าจำเลยเป็นผู้รับตราส่งและเป็นผู้ที่ต้องได้รับแจ้งการมาถึงของสินค้า และการขนส่งรายนี้มีเงื่อนไขการขนส่งแบบ เอฟ.ซี.แอล ซีวาย/ซีวาย ข้อความดังกล่าวเป็นการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องแจ้งการมาถึงของสินค้าให้จำเลยทราบและส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย และเมื่อตู้สินค้าถูกขนส่งถึงท่าปลายทาง โจทก์ในฐานะผู้ขนส่งต้องส่งมอบตู้สินค้าทั้งตู้แก่จำเลยในฐานะผู้รับตราส่งเพื่อนำไปเปิดที่โกดังของตนเอง เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าสินค้ามาถึงแล้ว ทั้งการที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอเปลี่ยนสถานที่ส่งมอบโดยตกลงที่จะชำระค่าบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประกันในการดำเนินการ และตกลงจะรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโจทก์ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับเอาหน้าที่จะต้องรับมอบตู้สินค้าจากโจทก์ตามข้อกำหนดของใบตราส่ง โดยเงื่อนไขการขนส่งของ ซีวาย ตัวหลังแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการเพื่อรับมอบสินค้าในเวลาอันสมควร และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและทวงถาม จำเลยได้ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้บางส่วนถึง 2 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในใบตราส่งเพื่อที่จะเข้าครอบครองถือประโยชน์ในสินค้า โดยตกลงที่จะรับผิดชอบในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขนส่งตู้สินค้าพิพาทถึงท่าปลายทาง และพร้อมที่จะส่งมอบทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ดำเนินการใดๆ ปล่อยให้สินค้าตกค้างจนกระทั่งตู้สินค้าถูกอายัดไว้ดำเนินคดี เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ตู้สินค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระค่าหน่วงเหนี่ยวตู้สินค้าจนกว่าจะส่งมอบตู้สินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12793-12794/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโรงพยาบาลในคดีลักทรัพย์นายจ้างและการนับกรรมความผิด
เมื่อคนไข้นอกไปพบแพทย์ผู้ตรวจ แพทย์จะออกใบสั่งตรวจและใบสั่งยาให้คนไข้นำไปยื่นที่แผนกการเงินเพื่อชำระเงินค่าตรวจรักษาและค่ายา เงินที่คนไข้นอกจ่ายให้โรงพยาบาลย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงพยาบาล การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินของโรงพยาบาลเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการกระทำความผิดในทางอาญาต่อโรงพยาบาล โรงพยาบาลย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากคนไข้แทนผู้เสียหายแล้วส่งต่อให้เจ้าหน้าที่เก็บรักษาเงินของผู้เสียหายในแต่ละวัน เป็นเพียงการยึดถือเงินของผู้เสียหายไว้ชั่วระยะเวลาทำการเท่านั้น ผู้เสียหายหาได้มอบเงินให้อยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง และการที่จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายในวันเวลาที่ต่างกัน จำเลยย่อมกระทำไปในแต่ละครั้งโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดคนละเจตนาแยกต่างหากจากกันตามโอกาสที่มีให้กระทำ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากคนไข้แทนผู้เสียหายแล้วส่งต่อให้เจ้าหน้าที่เก็บรักษาเงินของผู้เสียหายในแต่ละวัน เป็นเพียงการยึดถือเงินของผู้เสียหายไว้ชั่วระยะเวลาทำการเท่านั้น ผู้เสียหายหาได้มอบเงินให้อยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง และการที่จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายในวันเวลาที่ต่างกัน จำเลยย่อมกระทำไปในแต่ละครั้งโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดคนละเจตนาแยกต่างหากจากกันตามโอกาสที่มีให้กระทำ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่บิดามารดาอุปการะเลี้ยงดูบุตร และการแบ่งความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการศึกษา
ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์..." บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปฏิเสธมิได้ ส่วนการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1598/38 ให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีเมื่อศาลเชื่อว่าโจทก์และจำเลยก็ยังมีความสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และแบ่งความรับผิดให้จำเลยชำระค่าอุปการระเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 15,000 บาท เท่ากับคนละ 7,500 บาทต่อเดือนนั้นจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว
ส่วนข้ออ้างว่าจำเลยยกส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอีกนั้น กรณีแบ่งสินสมรสเป็นคนละส่วนกับหน้าที่ของจำเลยในฐานะบิดาที่จำต้องอปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดได้
ส่วนข้ออ้างว่าจำเลยยกส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอีกนั้น กรณีแบ่งสินสมรสเป็นคนละส่วนกับหน้าที่ของจำเลยในฐานะบิดาที่จำต้องอปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8417/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ชื่อตรง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการสอบสวนนั้นโจทก์แจ้งว่า โจทก์ได้รับกล้องที่เป็นของสมนาคุณมาจริงแล้วนำไปไว้ในที่เก็บสินค้าของจำเลยยังมิได้นำออกใช้ แต่เมื่อตรวจดูหน่วยความจำที่บันทึกภาพถ่ายในกล้องปรากฏว่ามีภาพอยู่จำนวน 26 ภาพ เป็นภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัวโจทก์จึงยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้จริง การที่โจทก์ยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้แล้วจึงเป็นเพราะโจทก์จำนนต่อหลักฐานนั่นเอง ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการนำไปใช้โดยถือวิสาสะ เพราะหากโจทก์คิดว่าโจทก์มีสิทธิจะนำไปใช้ได้ โจทก์ก็น่าจะยอมรับว่าเอาไปใช้แล้วจริงตั้งแต่ต้น ไม่น่าจะต้องให้ตรวจดูหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้เสียก่อน เมื่อปรากฏว่ามีภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัว โจทก์จึงเพิ่งจะยอมรับว่ากล้องดังกล่าวเป็นของสมนาคุณที่จำเลยได้มาและมีไว้เพื่อให้พนักงานของจำเลยจับรางวัลในงานวันขึ้นปีใหม่ การที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้กล้องดังกล่าวมา ทั้งยังนำไปใช้โดยพลการ เมื่อมีการสอบสวนก็ยังไม่ยอมรับว่าเอาไปใช้แล้วจนต้องมีการตรวจสอบหาความจริงจากหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้ด้วยเช่นนี้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) ทั้งยังเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ทั้งการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในกรณีนี้เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ดำเนินการ
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 26 และมาตรา 27 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ โดยจะต้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่ก็ห้ามเฉพาะหนี้เงิน ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หาอยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้องแต่อย่างใดไม่ เมื่อหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 (1) (3) โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องไปดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องไปดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง