พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพสหภาพแรงงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจสิ้นสุดลงตามกฎหมายใหม่
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับ จำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในมาตรา 4(4) เป็นว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 55วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการส่งเสริมการลงทุน: การขอรับสิทธิประโยชน์ใหม่ตามกฎหมายฉบับใหม่
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2505เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 227 แต่โจทก์ยังคงได้รับการส่งเสริมการลงทุนกับได้รับสิทธิและประโยชน์ตามข้อ 37 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยโจทก์ได้รับสิทธิและประโยชน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมมีกำหนดห้ารอบระยะเวลาบัญชีการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ต่อมามีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ซึ่งได้ประกาศใช้และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรมพ.ศ. 2505 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 31 วรรคหนึ่งให้สิทธิและประโยชน์อย่างเดียวกับ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2505 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 227 ซึ่งเป็นสิทธิและประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่แล้ว แต่มาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520ได้บัญญัติถึงสิทธิและประโยชน์ขึ้นใหม่ ซึ่งโจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์นี้หรือไม่ต้องพิจารณาตามมาตรา 58 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คือสิทธิของโจทก์มีอยู่อย่างใดตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกก็คงได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปแต่สิทธิตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 กำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 แต่การที่จะใช้สิทธิดังกล่าวต้องขอรับสิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เมื่อสิทธิและประโยชน์ในการนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสิทธิและประโยชน์ที่เพิ่งกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520โจทก์จะได้รับสิทธิและประโยชน์ดังกล่าว โจทก์จะต้องขอรับสิทธิตามมาตรา 58 และจะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ขอรับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมาย โจทก์ก็ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่จะนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสและการจำหน่ายที่ดิน: อำนาจของสามีในการจำหน่ายสินบริคณห์ที่ได้มาก่อนใช้กฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1477บัญญัติว่าอำนาจจัดการสินสมรส รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้นที่มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สามีซึ่งมีอำนาจจัดการสินบริคณห์หาแต่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ คงมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ต่อไปภายหลังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว หากการจำหน่ายสินบริคณห์นั้นไม่ใช่กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายเดิมตามบทเฉพาะกาล แม้มีกฎหมายใหม่ใช้บังคับ
การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และกฎ ก.พ. ฉบับที่ 60(พ.ศ. 2497) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1ทำการสอบสวนโจทก์ผู้ถูกกล่าวหา มิได้กำหนดให้คณะกรรมการต้องสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพียงแต่แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนการที่จะสอบพยานเพียงใดก็เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการที่จะงดสอบสวนพยานเมื่อจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็นหรือมิใช่ประเด็นสำคัญ การดำเนินการสอบสวนของจำเลยที่ 1ที่มิได้สรุปพยานหลักฐานแจ้งให้โจทก์ทราบและมิได้สอบพยานเพิ่มเติม จึงเป็นการกระทำโดยชอบ และจำเลยที่ 2 ก็ได้พิจารณาออกคำสั่งไปตามสำนวนการสอบสวนดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แม้ฟ้องอ้างกฎหมายเดิม ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษตามกฎหมายใหม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำการประมงโดย ไม่ได้รับอนุญาตคำขอท้ายฟ้องระบุอ้าง พ.ร.บ. การประมงฯ มาตรา 20 ซึ่ง เป็นบทมาตราความผิด และมาตรา 62 ทวิ ซึ่ง เป็นบทกำหนดโทษและอ้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 105 ข้อ 4 ซึ่ง แก้ไขมาตรา62 ทวิ แต่ ในขณะที่จำเลยกระทำผิดได้ มี พ.ร.บ. การประมง (ฉบับที่ 3)ออกใช้ บังคับแล้ว โดย แก้ไขมาตรา 62 ทวิ แม้โจทก์ จะมิได้อ้างพ.ร.บ. การประมง (ฉบับที่ 3)ฯ แต่ ได้ อ้างกฎหมายเดิม ซึ่งมีความผิดอยู่ ถือ ว่าฟ้อง โจทก์ได้ อ้างมาตราที่ลงโทษจำเลยมาสมบูรณ์แล้ว ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้และการปรับบทลงโทษดังกล่าวมี ผลถึง จำเลยที่ 1 ซึ่ง ไม่มีฝ่ายใดฎีกาด้วย แต่ โทษที่ลงแก่จำเลยที่ 1 คงยุติไปตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของกฎหมายใหม่ต่อคดีเก่า: ไม้หวงห้าม ไม้งิ้ว ไม้หวงห้ามยกเลิก ทำให้จำเลยพ้นผิด
จำเลยมีไม้งิ้วอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกามีพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฉบับเดิม และตามพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่นี้มิได้กำหนดให้ไม้งิ้วเป็นไม้หวงห้ามการกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดี: เหตุจำเป็นต้องแสดงให้ศาลเห็นถึงเหตุผลและความเสียหายหากไม่เลื่อน การไม่ทราบกฎหมายใหม่ไม่ใช่เหตุฟังได้
โจทก์เพียงแต่ยื่นคำร้องเข้ามาในวันนัดพิจารณาว่า โจทก์มาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้เพราะโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบถึงเหตุว่าเป็นอย่างไร ทั้งยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลอีกด้วยว่าถ้าศาลไม่ให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ที่แก้ไขแล้ว ศาลจึงไม่อาจให้เลื่อนการพิจารณาได้ แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ที่แก้ไขแล้วได้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2527 อันเป็นวันที่โจทก์ขอเลื่อนคดี แต่เมื่อมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้เป็นกฎหมายแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีกล้องสูบฝิ่นเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลง: จำเลยพ้นผิดเนื่องจากกฎหมายใหม่ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยมีกล้องสูบฝิ่นไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น ดังกล่าวแล้วใช้ความใหม่แทน และไม่ได้บัญญัติให้การมีกล้องสูบฝิ่นเป็นความผิด การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิดจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ดังนี้ จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนชื่อบริษัทหลังมีกฎหมายใหม่ ทำให้ไม่เป็นความผิดฐานใช้ชื่อบริษัทเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยใช้ชื่อว่าบริษัทเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยจำเลยมิใช่บริษัทเงินทุนตามกฎหมาย ต่อมาระหว่างอุทธรณ์ได้มีประกาศใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ซึ่งมาตรา 37บัญญัติให้เลิกใช้ชื่อดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเลิกใช้ชื่อว่า บริษัทเงินทุน ดังนี้จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 13,72 แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ อีกต่อไป ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณา – ผลกระทบจากกฎหมายใหม่ – การแจ้งเหตุขัดข้อง – การพิจารณาคดีใหม่
จำเลยทราบนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ไม่มาศาลตามนัด ศาลได้ชี้สองสถานไปโดยกำหนดให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์และนำสืบพยานก่อน และนัดสืบพยานจำเลยพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดทั้งสองแล้วโดยศาลไม่ต้องแจ้งนัดแก่จำเลยอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้