พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12355/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างต้องพิจารณาคุณสมบัติสหภาพแรงงานแต่ละราย สหภาพแรงงานรวมกันไม่ได้
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติถึงสัดส่วนกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน 1 คน ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเกิน 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ดังนี้สัดส่วนของคณะกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนเพียงใดต้องพิจารณาคุณสมบัติของสหภาพแรงงานแต่ละรายไป ไม่อาจนำจำนวนสมาชิกของหลายสหภาพแรงงานมารวมคำนวณสัดส่วนของกรรมการลูกจ้าง
จำเลยมีลูกจ้างประมาณ 1,500 คน โจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงานมาลาพลาสซึ่งมีสมาชิกประมาณ 24 คน อันเป็นสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกไม่ถึง 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด สหภาพแรงงานมาลาพลาสจึงนำจำนวนสมาชิกของตนไปรวมกับจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานอื่นเพื่อให้มีจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานเกิน 1 ใน 5 แล้วแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานมาลาพลาส 1 คน ไม่ได้ จำเลยใช้สิทธิตรวจสอบจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไปยังพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 45 วรรคสาม ที่บัญญัติให้นำมาตรา 15 วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้รับคำตอบจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการว่าการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างของสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับที่ประชุมสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน มีมติแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างตามลำดับของกรรมการสหภาพแรงงานที่ถูกนายจ้างเกลียดชังมากที่สุด เป็นการลงมติโดยไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์จึงไม่เป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานโดยชอบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานก่อน
จำเลยมีลูกจ้างประมาณ 1,500 คน โจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงานมาลาพลาสซึ่งมีสมาชิกประมาณ 24 คน อันเป็นสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกไม่ถึง 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด สหภาพแรงงานมาลาพลาสจึงนำจำนวนสมาชิกของตนไปรวมกับจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานอื่นเพื่อให้มีจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานเกิน 1 ใน 5 แล้วแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานมาลาพลาส 1 คน ไม่ได้ จำเลยใช้สิทธิตรวจสอบจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไปยังพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 45 วรรคสาม ที่บัญญัติให้นำมาตรา 15 วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้รับคำตอบจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการว่าการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างของสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับที่ประชุมสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน มีมติแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างตามลำดับของกรรมการสหภาพแรงงานที่ถูกนายจ้างเกลียดชังมากที่สุด เป็นการลงมติโดยไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์จึงไม่เป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานโดยชอบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9832-9836/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล การลงชื่อรับเงินไม่ถือเป็นการยินยอมเลิกจ้าง
การที่โจทก์ทั้งห้าลงชื่อรับเงินสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานในหนังสือยกเลิกสัญญาจ้างที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่มีข้อความใดว่าโจทก์ทั้งห้าขอลาออกจากการเป็นลูกจ้าง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งห้าลาออกด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 จำเลยต้องรับโจทก์ทั้งห้ากลับเข้าทำงาน แต่เมื่อระหว่างเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าไม่ได้ทำงานให้จำเลย จึงนำเอาระยะเวลาดังกล่าวรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงนับอายุงานใหม่ต่อจากอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างเท่านั้น
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่ชอบ เป็นการตั้งประเด็นโดยตรงว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าจึงเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างที่ถูกเลิกจ้างได้
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่ชอบ เป็นการตั้งประเด็นโดยตรงว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าจึงเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างที่ถูกเลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13889/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนายจ้าง-ลูกจ้างซ้อน: กรรมการลูกจ้างต้องไม่มีสถานะขัดแย้งกับนายจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยแต่ในขณะเดียวกันโจทก์ก็ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้มีอำนาจลงนามในหนังสือสัญญาจ้าง เลิกจ้าง อนุมัติ ระงับทดลองงาน และแต่งตั้งโยกย้ายพนักงาน พิจารณาลงโทษพนักงานที่กระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง และลงนามในหนังสือคำเตือนห้ามพนักงานกระทำผิดซ้ำคำเตือน ซึ่งอำนาจดังกล่าวของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุมัติจากผู้ใดอีก โจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตามที่ได้รับมอบโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างด้วยตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ซึ่งฐานะนายจ้างและลูกจ้างย่อมมีผลประโยชน์บางส่วนขัดกัน การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างและคณะกรรมการลูกจ้างตาม มาตรา 50 สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีฐานะเป็นกรรมการลูกจ้างและไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 52 จำเลยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานในการเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10907/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน หากศาลอนุญาตแล้ว ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิ์ของกรรมการลูกจ้าง เพื่อมิให้นายจ้างกระทำการใดๆ ที่บัญญัติไว้เป็นผลเสียหายแก่กรรมการลูกจ้าง แต่หากนายจ้างเห็นว่ามีกรณีจำเป็นก็สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้ ซึ่งศาลแรงงานจะพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นและความเหมาะสมเพียงพอที่จะอนุญาต เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเหตุผลความจำเป็นของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและความเหมาะสมเพียงพอสำหรับกรณีที่จำเลยขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์แล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ต่อมาจึงเป็นกรณีที่จำเลยดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ภายใต้ดุลยพินิจของศาลแรงงานกลางที่อนุญาต จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการอ้างสถานะกรรมการลูกจ้างเพื่อต่อสู้คดีเลิกจ้าง
การห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือการกระทำใดๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานต่ออยู่ไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 52 นั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดผลประโยชน์ของนายจ้าง ซึ่งอาจทำให้นายจ้างไม่พอใจ และกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เพื่อให้ตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุสมควรที่จะกระทำดังกล่าวหรือไม่
โจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและพักงานโจทก์ โดยในขณะนั้นโจทย์ยังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างซึ่งกฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างแต่ประการใด อีกทั้งการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะโดยทราบดีว่าโจทก์ถูกพักงานและถูกตั้งกรรมการสอบสวนอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้
โจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและพักงานโจทก์ โดยในขณะนั้นโจทย์ยังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างซึ่งกฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างแต่ประการใด อีกทั้งการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะโดยทราบดีว่าโจทก์ถูกพักงานและถูกตั้งกรรมการสอบสวนอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของกรรมการลูกจ้าง และอำนาจฟ้องที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้วเห็นว่าสหภาพแรงงาน อ. จัดประชุมแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง โดยขณะที่จัดให้มีการประชุมนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงานดังกล่าวทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์และ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน โจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงานยังแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งที่ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง การประชุมของสหภาพแรงงานดังกล่าวจัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลาประมาณเที่ยงคืน ที่หน้าบ้านพักของ ธ. ไม่จัดให้เป็นกิจจะลักษณะ พฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรม ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์อาศัยเหตุดังกล่าวเป็นมูลฟ้องร้องจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการวินิจฉัยไปถึงอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยชอบธรรมจากเหตุผลทางธุรกิจและการขัดขวางการทำงาน
ผู้คัดค้านยังยืนกรานเป็นพนักงานรายชั่วโมงเพียงคนเดียวในกิจการของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าการปรับเปลี่ยนพนักงานรายชั่วโมงเป็นพนักงานรายเดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ผู้ร้องไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ผู้ร้องแก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างโดยพลการ ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ทั้งที่ผู้คัดค้านรู้อยู่ว่ายอดรายได้ในฐานะพนักงานรายเดือนสูงกว่ายอดรายได้ในฐานะพนักงานรายชั่วโมง การเป็นพนักงานรายเดือนเป็นคุณแก่ผู้คัดค้านและพนักงานของผู้ร้องยิ่งกว่าการเป็นพนักงานรายชั่วโมง ไม่ต้องห้ามมิให้ผู้ร้องทำสัญญาจ้างแรงงานกับพนักงานเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากพนักงานรายชั่วโมงเป็นพนักงานรายเดือนตามมาตรา 20 ก่อนการปรับเปลี่ยนผู้ร้องได้มีการประชุมชี้แจงและมีหนังสือชี้แจงความเสียหายของผู้ร้องต่อผู้คัดค้านแล้ว ผู้คัดค้านก็ไม่ยอมรับฟังเหตุผล ยังยืนยันที่จะเป็นพนักงานรายชั่วโมงให้ได้ ไม่ใช่กรณีผู้ร้องกลั่นแกล้งผู้คัดค้าน แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องกับผู้คัดค้านทำงานร่วมกันต่อไปไม่ได้โดยเหตุอันเกิดจากผู้คัดค้าน ทำให้ผู้ร้องเสียหายและเป็นการขัดขวางการพัฒนาบริษัทของผู้ร้อง มีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10251/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวิธีจ่ายค่าล่วงเวลาไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และเหตุอันสมควรเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
การที่ผู้ร้องเปลี่ยนแปลงวิธีจ่าย "ค่าล่วงเวลาและเบี้ยเลี้ยง" จากที่ให้บริษัทนำเที่ยวจ่ายให้พนักงานขับรถแทนตัวผู้ร้องมาเป็นผู้ร้องจ่ายให้พนักงานขับรถเองเป็นเพียงการเปลี่ยนจากตัวแทนคือบริษัทนำเที่ยวเป็นผู้จ่ายมาเป็นผู้ร้องจ่ายเองเท่านั้น ไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน จึงไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เมื่อผู้คัดค้านรับเงิน "ค่าล่วงเวลาและเบี้ยเลี้ยง" จากบริษัท จ. แทนผู้ร้องแล้วไม่นำส่งผู้ร้องแต่เก็บไว้เป็นของตน แม้ผู้ร้องออกประกาศเตือนให้พนักงานขับรถนำส่งเงินแก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านก็ยังเพิกเฉยไม่นำส่ง จึงเป็นกรณีผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่อาจทำงานร่วมกันได้ต่อไป และไม่ใช่กรณีผู้ร้องกลั่นแกล้งผู้คัดค้าน จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านในฐานะกรรมการลูกจ้างได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52
อนึ่ง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิขอเลิกจ้างผู้คัดค้านในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 และพิพากษาให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น ตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 บัญญัติว่ากรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกระทำการตาม (1) ถึง (5) นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ ไม่มีบทบัญญัติให้ศาลแรงงานอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างในกรณีนี้ ดังนั้นผู้ร้องจึงเลิกจ้างผู้คัดค้านได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน
อนึ่ง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิขอเลิกจ้างผู้คัดค้านในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 และพิพากษาให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น ตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 บัญญัติว่ากรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกระทำการตาม (1) ถึง (5) นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ ไม่มีบทบัญญัติให้ศาลแรงงานอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างในกรณีนี้ ดังนั้นผู้ร้องจึงเลิกจ้างผู้คัดค้านได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8378/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง การเลิกจ้าง และองค์ประชุมของสหภาพแรงงาน การเลิกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล
การตั้งกรรมการลูกจ้างนั้น อาจตั้งจากลูกจ้างของสถานประกอบกิจการนั้นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานก็ได้ ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน และในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบการกิจการนั้นเกินกึ่งหนึ่งของลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานอาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างทั้งคณะก็ได้ ซึ่งการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างทั้งคณะก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องตั้งกรรมการลูกจ้างจากลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้นทั้งคณะ ซึ่งอาจตั้งจากลูกจ้างที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกเป็นคณะกรรมการลูกจ้างก็ได้ จำเลยมีลูกจ้างที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกเป็นคณะกรรมการลูกจ้างก็ได้ จำเลยมีลูกจ้างรวมประมาณ 1,300 คน และมีลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน พ. ทั้งหมด 811 คน เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างของจำเลย จึงสามารถตั้งกรรมการลูกจ้างได้ทั้งคณะ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน พ. ก็ตาม สหภาพแรงงาน พ. ก็สามารถตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการของจำเลยได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
ตามข้อบังคับสหภาพแรงงาน พ. กำหนดว่าการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงาน พ. จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ซึ่งหมายถึงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่จดทะเบียนไว้ สหภาพแรงงาน พ. มีคณะกรรมการที่จดทะเบียนไว้จำนวน 11 คน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงาน พ. เพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีกรรมการสหภาพแรงงาน พ. เข้าร่วมประชุม 5 คน จึงไม่ครบองค์ประชุม โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 52 การเลิกจ้างโจทก์เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามข้อบังคับสหภาพแรงงาน พ. กำหนดว่าการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงาน พ. จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ซึ่งหมายถึงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่จดทะเบียนไว้ สหภาพแรงงาน พ. มีคณะกรรมการที่จดทะเบียนไว้จำนวน 11 คน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงาน พ. เพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีกรรมการสหภาพแรงงาน พ. เข้าร่วมประชุม 5 คน จึงไม่ครบองค์ประชุม โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 52 การเลิกจ้างโจทก์เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8378/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ ทำให้การเลิกจ้างลูกจ้างเป็นไปโดยชอบ
ข้อบังคับสหภาพแรงงาน น. กำหนดว่าการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงาน น. จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ซึ่งหมายถึงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่จดทะเบียนไว้ สหภาพแรงงาน น. มีคณะกรรมการตามที่จดทะเบียนไว้จำนวน 11 คน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงาน น. เพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีกรรมการสหภาพแรงงาน น. เข้าร่วมประชุม 5 คน จึงไม่ครบองค์ประชุม โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52