คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรมสิทธิ์รวม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและผลของคำพิพากษาที่ไม่ผูกพันคู่ความอื่น แม้มีการยอมความและโอนทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องและจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้อง
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินบางแปลงตามบัญชีทรัพย์มรดกท้ายฟ้องให้แก่บุคคลอื่น และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวและมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวม แม้จำเลยไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับแบ่งได้ เหตุผลค่าขึ้นศาลต้องยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับได้
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้นจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรเพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์แม้จำเลยที่1ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม - สิทธิเจ้าหนี้ - การบังคับชำระหนี้ - ขายทอดตลาดทั้งแปลง
ผู้ร้องและจำเลยกับพวกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้มีการแบ่งส่วนเช่นนี้ โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดไปได้ทั้งแปลง เพราะกรณีระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมถ้าไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไรแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ก็ต้องขายไปทั้งแปลง โจทก์ทั้งหกขอขายทั้งแปลง ผู้ร้องจึงขอให้กันส่วนของผู้ร้องออกจากการขายทอดตลาดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการบังคับคดี: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลงหากเจ้าของรวมตกลงแบ่งไม่ได้
ผู้ร้องและจำเลยกับพวกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้มีการแบ่งส่วนเช่นนี้โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดไปได้ทั้งแปลงเพราะกรณีระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมถ้าไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไรแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ก็ต้องขายไปทั้งแปลงโจทก์ทั้งหกขอขายทั้งแปลงผู้ร้องจึงขอให้กันส่วนของผู้ร้องออกจากการขายทอดตลาดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและมรดก: สิทธิฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์โดยตรง การแบ่งมรดกเป็นอำนาจผู้จัดการมรดก
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับ จ.บิดาโจทก์ โจทก์อยู่ในฐานะถือกรรมสิทธิ์แทน จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท
การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของ จ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมาย แต่ผู้จัดการมรดก หรือทายาทอื่น ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อ ป.ที่ดินมาตรา 86 ผลต่อไปต้องเป็นไปตาม ป.ที่ดินมาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม-มรดก: สิทธิฟ้องขับไล่จำกัด, การแบ่งทรัพย์สินต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ดิน
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับจ.บิดาโจทก์โจทก์อยู่ในฐานะถือกรรมสิทธิ์แทนจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของจ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมายแต่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นๆมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86ผลต่อไปต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลสั่งประมูลหรือขายทอดตลาดเพื่อแบ่งทรัพย์สินตามส่วน
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมถ้าแบ่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองแล้วที่ดินที่แบ่งออกแต่ละแปลงจะมีความกว้างไม่ถึง10เมตรและจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยมากถึงขนาดต้องรื้อบ้านของจำเลยเมื่อโจทก์ทั้งสองและจำเลยยังมิได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกครอบครองเป็นส่วนสัดจึงไม่ชอบที่จะแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามความยาวของรูปที่ดินดังที่โจทก์ทั้งสองขอแต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทและต่างฝ่ายต่างโต้เถียงกันเกี่ยวกับวิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแสดงว่าในระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่สามารถตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรกรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ศาลฎีกาให้นำที่ดินพิพาทประมูลราคาระหว่างกันหากประมูลไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินที่ขายได้แบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองปรปักษ์: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
ผู้ร้อง ผู้คัดค้านและบุคคอื่นถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทร่วมกัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1348 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่นมีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ชัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัดการที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดิน ก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้นดังนั้น การที่ผู้ร้องได้เข้าไปครบอครองทำนาในที่ดินพิพาทหาทำให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยการบอกกล่าวไปยังเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์แทนเจ้าของรวมคนอื่นอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นข้อพิพาทต่างกัน แม้คดีก่อนเกี่ยวข้องกรรมสิทธิ์เดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่พิพาทซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครอง ขอให้ห้ามจำเลยกระทำการใด ๆบนที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า การจดทะเบียนให้ที่พิพาทซึ่งค.และจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างค. กับโจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมายและว่าไม่เคยมีการแบ่งแยกการครอบครอง จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การจดทะเบียนให้ระหว่าง ค. กับโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่พิพาทจากจำเลย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ประเด็นแห่งคดีทั้งสองจึงต่างกัน เหตุที่นำมาวินิจฉัยคนละเหตุจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
of 21