พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: การโต้แย้งสิทธิในกองมรดกของจำเลยที่ 1 ในฐานะบุคคลภายนอก ไม่ใช่การจัดการมรดก
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขายกับจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อโดยอ้างว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ร. กึ่งหนึ่งจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ร่วมกับโจทก์ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ได้ครอบครองมาโดยตลอด หากฟังว่าที่ดินเป็นมรดกของ ร. สิทธิของทายาท ร. ก็ขาดอายุความแล้ว การโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมิได้กระทำในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. แต่เป็นการโต้แย้งโดยอ้างอำนาจของตนเอง จึงมิใช่เป็นการทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกของร.กรณีมิใช่เป็นเรื่องความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการจัดการมรดกของร. ซึ่งต้องถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก ถ้าเสียงเท่ากันเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ทั้งระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ก็ได้ถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ร.แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ที่เหลืออยู่แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ตามสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์อุทธรณ์ฎีกาเพียงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามลำดับ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ทรัพย์สินยังไม่ขาดจากกองมรดก แม้ผู้คัดค้านอ้างเป็นเจ้าของ
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านมิได้คัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก หรือผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก แต่อ้างเป็นทำนองว่า ไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ เนื่องจากทรัพย์มรดกทั้งหมดคือที่ดิน 4 แปลงตามคำร้องเป็นของผู้คัดค้านแต่ปรากฏตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ว่าผู้ตายเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 4 แปลงนั้นทั้งผู้คัดค้านเคยฟ้องบุตรของผู้ตายรวมทั้งผู้ร้องให้โอนที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้าน แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง และมิได้วินิจฉัยว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านดังที่ผู้คัดค้านอ้าง หลักฐานในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านกลับแสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่า มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการอันเป็นเหตุที่จะต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกดังที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ข้อพิพาทที่ว่าผู้คัดค้านหรือเจ้ามรดกเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะขอให้ศาลพิพากษาแสดงสิทธิในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อไม่มีทายาท เพื่อให้มีการชำระหนี้จากกองมรดก
กองมรดกซึ่งไม่มีทายาทนั้น แม้มรดกจะตกทอดแก่แผ่นดินแผ่นดิน ก็มิใช่ทายาท เจ้าหนี้ไม่อาจบังคับชำระหนี้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น และหากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใด เจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้ได้เลย การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากกองมรดกขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกมีผู้จัดการมรดก ในกรณีเช่นนี้ จึงต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าจัดการศพ: ผู้มิใช่ทายาทจัดการศพโดยสมัครใจ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินจากกองมรดก
โจทก์มิได้เป็นบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649เข้าไปจัดการทำศพของผู้ตายโดยสมัครใจเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าจัดการทำศพจากกองมรดกของผู้ตาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ความใกล้ชิดและประโยชน์ของกองมรดกเป็นเกณฑ์สำคัญในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายตลอดมาจนผู้ตายถึงแก่กรรมเป็นเวลา 39 ปีเศษ ส่วนผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดกับภริยาอีกคนหนึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้ตายน้อยกว่าผู้ร้อง และทั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างมีความขัดแย้งกัน หากให้ร่วมกันจัดการทรัพย์มรดกอาจเกิดความไม่สะดวก เพื่อประโยชน์แก่กองมรดก จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาความเหมาะสมจากประสบการณ์และความเป็นกลางเพื่อประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
กองมรดกมีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้นที่ขอเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านมีพฤติการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันหากให้ร่วมกันจัดการมรดกคงไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากได้และไม่เป็นผลดีแก่กองมรดก จึงสมควรตั้งผู้จัดการมรดกเพียงคนเดียว ผู้ร้องเป็นบุตรคนโต ของผู้ตายและเป็นพี่ของทายาททุกคน มีอายุ47 ปี เคยช่วยเหลือผู้ตายดูแล กิจการโรงแรมซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอยู่นานประมาณ 10 ปี เคยเป็นเทศมนตรี สมาชิกสภาจังหวัด ประธานสภาจังหวัดและเคยดำเนินธุรกิจโดยเป็นผู้จัดการบริษัทเงินทุนนานประมาณ 8 ปีทั้งบรรดาทายาทส่วนมากของผู้ตายต่างยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้คัดค้านแม้จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแต่อายุเพียง 26 ปี เมื่อเทียบกับผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องมีประสบการณ์ในชีวิต และการทำงานมากกว่าผู้คัดค้าน และตามข้อนำสืบของผู้คัดค้านยังฟังไม่ชัดแจ้งว่า ผู้ร้องมีเจตนาที่จะเบียดบังและยักย้ายทรัพย์มรดกหรือมีความประพฤติไม่ดีต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกมากกว่าผู้คัดค้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการบังคับชำระหนี้จากกองมรดก
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.มีส. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียว ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. มีหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งจะต้องชำระแก่จำเลยแต่ห้างฯ ไม่ยอมชำระ ถือได้ว่าเป็นการผิดนัด ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 บัญญัติให้เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนชอบที่จะเรียกให้ชำระเอาแต่หุ้นส่วนผู้จัดการได้ เมื่อห้างฯ ดังกล่าวเป็นอันเลิกไปโดยผลของกฎหมายเพราะ ส.ตายส. จึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นอย่างไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077(2) ซึ่งย่อมรวมถึงหนี้ภาษีอากรค้างด้วย ทรัพย์สินกองมรดกของ ส. จึงตก เป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยจึงชอบที่จะยึดทรัพย์สินดังกล่าวของ ส. เพื่อบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งงบดุลกองมรดกเท็จที่ไม่ทำให้ทายาทเสียประโยชน์ ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทยื่นคำร้องต่อศาลขอให้จำเลยจ่ายเงินแก่ทายาท. จำเลยยื่นงบดุลกองมรดกต่อศาลแสดงจำนวนเงินเหลืออยู่มากกว่าจำนวนที่เหลืออยู่จริง แม้จะเป็นเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดี. และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ไม่ได้รับความเสียหายเพราะไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินมรดกน้อยกว่าจำนวนที่เป็นจริง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2518).
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2518).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งงบดุลกองมรดกเท็จที่ไม่ทำให้ทายาทเสียสิทธิ ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก. เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทยื่นคำร้องต่อศาลขอให้จำเลยจ่ายเงินแก่ทายาท. จำเลยยื่นงบดุลกองมรดกต่อศาลแสดงจำนวนเงินเหลืออยู่มากกว่าจำนวนที่เหลืออยู่จริง. แม้จะเป็นเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดี. และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ไม่ได้รับความเสียหายเพราะไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินมรดกน้อยกว่าจำนวนที่เป็นจริง. การกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ. (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2518).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องตกเป็นของกองมรดก
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้จัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยในห้องแถวออกไปจากห้องและให้โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินกองมรดกของผู้ตายที่ผู้ตายได้ทำสัญญาจะซื้อขายให้ไว้แก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันมีต่อเจ้ามรดกจึงตกอยู่ภายในบังคับของอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 วรรคสาม โจทก์ต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปีนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก