พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: เงื่อนไขการริบเฉพาะสิ่งที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเสพและจำหน่ายเฮโรอีนโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ไซลิงค์พร้อมเข็มฉีดยาและเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่งพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงไม่อาจริบได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5),246 และ 247 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาพิจารณาเฉพาะทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำผิดตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเสพและจำหน่ายเฮโรอีนโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ดังนี้ แม้เจ้าพนักงานจะจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมกับยึดได้เฮโรอีนจำนวน 115 หลอด ธนบัตรไทยชนิดต่าง ๆ จำนวน70,510 บาท และสมุดฝากเงินธนาคาร 2 แห่ง จำนวน 32,570.05 บาทกับไซลิงค์พร้อมเข็มฉีดยา 5 ชุด ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีน กับเป็นอุปกรณ์ในการเสพเฮโรอีนของจำเลยตามลำดับ แต่ไซลิงค์พร้อมเข็มฉีดยาและเงินดังกล่าวก็มิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษฯ แต่อย่างใด ไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขอคืนรถยนต์ของกลาง: เจ้าของรถมีสิทธิฟ้องเมื่อไม่ได้รู้เห็นการกระทำผิด
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่บรรทุกแร่ผิดกฎหมายและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดแล้วส่งมอบให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาไว้ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 ต่อมาอธิบดีของจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ ค.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น ดังนี้เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดทั้งได้ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ของกลางแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 14 เบญจ วรรคสี่ นอกจากนี้การที่จำเลยทั้งสองยึดรถยนต์ของกลางซึ่งเป็นของโจทก์ไว้นั้นก็เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ด้วย โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อติดตามเอาคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการริบทรัพย์สินในคดีมียาสูบไม่ปิดแสตมป์: เฉพาะหีบห่อและทรัพย์สินโดยตรงที่ใช้ในการกระทำผิด
ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 19 วรรคแรกบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกำหนดมาตรา 44 วรรคสอง บัญญัติให้ริบบุหรี่ซิกาแรตในคดีกระทำผิดบทบัญญัติ มาตรา 19รวมทั้งหีบห่อเป็นของกรมสรรพสามิต คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจจับได้ของกลางบุหรี่ซิกาแรต ถังสแตนเลส 1 ใบ และรถจักรยานยนต์ 1 คัน แต่รถจักรยานยนต์ของกลางมิใช่หีบห่ออันเกี่ยวกับการกระทำผิดฐานมียาสูบไม่ปิดแสตมป์ยาสูบ จึงริบไม่ได้ ทั้งมิใช่ทรัพย์ของกลางโดยตรงที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานนี้ ตามป.อ. มาตรา 33 (1) จึงไม่สมควรริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ & กฎหมายอาคาร: การบังคับใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลงหลังการกระทำผิด
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริง แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ในคดีอาญาหมายแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยการหล่อเสา คาน ก่ออิฐผนัง และเทพื้นหลังคาชั้นสี่ และจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531 ส่วนคดีนี้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น 8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่30 พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงต่อเติมคดีนี้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาคารในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531ของศาลแขวงธนบุรี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับ โดยมาตรา 22 และ 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามลำดับและให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฏว่าบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 22 รวมอยู่ด้วย มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 ที่แก้ไข มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนมาตรา 70 เดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไข มีระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆและศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุก คงมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
ในคดีอาญาหมายแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยการหล่อเสา คาน ก่ออิฐผนัง และเทพื้นหลังคาชั้นสี่ และจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531 ส่วนคดีนี้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น 8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่30 พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงต่อเติมคดีนี้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาคารในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531ของศาลแขวงธนบุรี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับ โดยมาตรา 22 และ 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามลำดับและให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฏว่าบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 22 รวมอยู่ด้วย มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 ที่แก้ไข มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนมาตรา 70 เดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไข มีระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆและศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุก คงมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาขอรับรถคืนก่อนศาลสั่งริบ เป็นหลักฐานแสดงความบริสุทธิ์ของผู้ร้องว่ามิได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด
การที่ผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาและขอรับรถยนต์บรรทุกและรถกึ่งพ่วงของกลางคืนจากผู้เช่าซื้อก่อนที่ศาลสั่งริบรถยนต์บรรทุกและรถกึ่งพ่วงของกลางในคดีนี้แล้วนั้น แสดงว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของทรัพย์เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ หากไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ
ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องนำสืบว่า ร. เช่าซื้อรถยนต์ของกลางไปจากผู้ร้อง แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวด ติดต่อกันทั้งได้นำรถยนต์ไปใช้ในการกระทำผิดเป็นการผิดสัญญาเช่าซื้อผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญา และผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยกับการกระทำความผิดนั้น เพียงพอรับฟังแล้วว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยกับการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องไม่จำเป็นต้องนำสืบว่า ร.ผิดนัดเมื่อใดชำระค่าเช่าซื้อมาเท่าใด และยังคงค้างอยู่เท่าใดเพราะข้อดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลังการกระทำผิด ไม่ใช่ยานพาหนะในการกระทำความผิด
ขณะผู้เสียหายเดินกลับมาเอากุญแจที่รถจักรยานยนต์ จำเลยกับพวกอีกหนึ่งคนได้ขับรถจักรยานยนต์เข้ามาจอดข้างรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายพวกของจำเลยลงจากรถจักรยานยนต์มาชิงทรัพย์ไปจากผู้เสียหายเสร็จแล้วจึงได้กลับมาซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยขับหนีไปเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เพื่อไปและกลับจากการกระทำผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกรวดเร็วเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการกระทำผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) จึงริบรถจักรยานยนต์ของกลางไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด แม้ได้มาด้วยเงินผิดกฎหมาย ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้เสียหาย
การที่จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์คันพิพาทด้วยเงินที่ลักไปจากผู้ร้อง จะถือว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหาได้ไม่เพราะรถยนต์พิพาทไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ลักเอาไปเมื่อผู้ร้องไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท ผู้ร้องจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิและไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยรถยนต์พิพาทที่โจทก์นำยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องเพิกถอนการเลือกตั้งต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งที่ชัดเจน
การร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนการเลือกตั้ง และให้มีการเลือกตั้งใหม่จะต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง กรรมการตรวจคะแนนหรือเจ้าหน้าที่คะแนนคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดกระทำการอันฝ่าฝืน พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51,52 เมื่อคำร้องกล่าวอ้างเหตุคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่เพียงว่า มีการรายงานผลล่าช้า น่าเชื่อว่ามีการถ่วงเวลาและมีการทุจริตในการเลือกตั้งเท่านั้น มิได้บรรยายถึงรายละเอียดว่า ได้มีการกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายดังกล่าวในหน่วยเลือกตั้งใด เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง กรรมการตรวจคะแนน เจ้าหน้าที่คะแนนหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ คนใดกระทำการดังกล่าวนี้ และมิได้มีข้อเท็จจริงว่ามีการทุจริตหรือกระทำมิชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นคำร้องที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง