พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมและการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาต่างจากศาลอุทธรณ์ต้องทำโดยการยื่นฎีกา ไม่ใช่คำแก้ฎีกา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำเลยมิได้ฎีกา แต่ทำคำแก้ฎีกาว่ายังไม่มีการสอบสวนในความผิดฐานนี้ ซึ่งเท่ากับขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับเป็นไม่ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้นั้น จำเลยจะต้องทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกา การที่จำเลยมีคำขอมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไม่สิ้นสุดแม้โอนสิทธิ, โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะเสนอคำฟ้อง โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง แม้ภายหลังฟ้องคดีโจทก์จะโอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป โจทก์ร่วมเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาและการขาดความเสียหายส่วนบุคคล กรณีปล่อยตัวผู้ต้องหาอื่น
จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นกำนันควบคุมตัว ด. กับ ม. และโจทก์ไว้ดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์แล้วได้ปล่อย ด.และ ม.ไป คงมอบตัวโจทก์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเพียงคนเดียวจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด.และ ม.ไปไม่ได้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เองไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากการปล่อยตัว ด.และ ม.ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือรัฐมิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเรียกมรดกและการขาดสิทธิในทรัพย์มรดก
โจทก์ทั้งสี่กับ ช.เป็นบุตรของ ท. ส่วนจำเลยเป็นภริยาของ ช.มีบุตรด้วยกัน 3 คน ช.ได้รับที่พิพาทมาด้วยการยกให้ ต่อมาปี 2520 ช.จดทะเบียนให้จำเลยและบุตรอีก 2 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ช.ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2521หลังจากนั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวโดย ท.ไม่ได้เกี่ยวข้องท.ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2531 ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดก เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ ช.ถึงแก่กรรมถึงวันที่ ท.ถึงแก่กรรมเป็นเวลา 10 ปีเศษแม้จะไม่ปรากฏว่า ท.ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ช.หรือไม่ แต่การที่ ท.มิได้ฟ้องเรียกมรดกภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ ช.ถึงแก่กรรม ก็ย่อมขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิของ ท. เมื่อสิทธิของ ท.ในการฟ้องเรียกมรดกขาดอายุความแล้ว คดีโจทก์ทั้งสี่ย่อมขาดอายุความด้วย และเมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิในที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ท.จึงนำบทบัญญัติในมาตรา 1733 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนและการซื้อขายที่ดินผิดแปลง ศาลฎีกาตัดสินว่าการฟ้องสำนวนหลังไม่เป็นการฟ้องซ้อน
คำฟ้องสำนวนแรกโจทก์อ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 อันเป็นการกล่าวอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคำฟ้องสำนวนหลังโจทก์อ้างการได้มาโดยการที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม เมื่อคำฟ้องในสำนวนคดีหลังข้ออ้างที่จะต้องวินิจฉัย ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับข้ออ้างในคำฟ้องสำนวนแรก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) จำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178 แก่โจทก์ และขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2799 แก่จำเลยที่ 2 แต่ได้มีการโอนที่ดินในโฉนดผิดแปลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 รับโอนโฉนดที่ดินสลับกันมาเป็นเพราะความเข้าใจผิด แต่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินถูกต้องตลอดมา ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการโต้แย้งสิทธิ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิการครอบครองที่ชัดเจน
การที่จำเลยอ้างกับโจทก์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่เคยขายให้โจทก์ ขอให้โจทก์ออกไปจากที่ดินพิพาท ทั้งคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาซื้อขายเพียงแต่ขอให้ศาลพิพากษาแสดงสิทธิว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองและเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเท่านั้น ยังไม่มีการกระทำสิ่งใดอันจะถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการรับสภาพหนี้: ผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้แต่ละราย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว ดังนี้โจทก์เป็นพ่อค้าฟ้องเรียกเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสอง จึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) การที่ก่อนครบกำหนดอายุความ 2 ปี จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอผัดผ่อนค่าสินค้าย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172(เดิม) และต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ แต่หลังจากอายุความ 2 ปี ที่เริ่มนับใหม่ได้ครบบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือว่าจะนำเงินค่าสินค้าที่ค้างชำระให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนและลงลายมือชื่อเพียงผู้เดียว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ลบล้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในอันที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192(เดิม) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 2 ปีนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความและข้อต่อสู้เรื่องอายุความของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนและการมีอำนาจฟ้อง: แม้แผนที่เกิดเหตุไม่ถูกต้อง ไม่ทำให้การสอบสวนเสีย และโจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากมีการสอบสวน
การทำแผนที่เกิดเหตุเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวน แต่ถึงหาก กระทำโดยไม่ชอบเพราะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ก็ไม่มีผลกระทบถึงกับเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายไปยังสำนักทำการงานของหุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่สำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 1ซึ่งระบุไว้ในหนังสือรับรองนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทถือว่าเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2ที่สำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา ทั้งทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังขาดนัดพิจารณา ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วม: การมีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดี
ที่ดินที่ผู้ร้องเช่าซื้อมาเป็นคนละส่วนกับที่พิพาทที่โจทก์ฟ้อง ขับไล่จำเลย แม้ผู้ร้องจะได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากว. เช่นเดียวกับจำเลยตลอดจนผลแห่งคดีนี้อาจทำให้จำเลยต้องแพ้คดีมีผลกระทบจนเป็นที่หวั่นเกรงว่าโจทก์อาจนำคดีมาฟ้องร้องได้ก็ไม่ใช่เป็นผลแห่งคดีโดยตรงที่กระทบหรือผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิตามกฎหมายของผู้ร้อง จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)