พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: การทำนาในที่ดินของตนเองไม่เป็นการละเมิด แม้จะทำลายพืชผลที่โจทก์ปลูกโดยไม่สุจริต
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ของโจทก์ การที่จำเลยเข้าไปทำนาในที่พิพาท จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปปลูกพืชผลในที่ดินนั้น การที่โจทก์เข้าไปปลูกจึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยมีสิทธิขัดขวางมีให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตน และเป็นการใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยตามสมควรแก่การทำนาของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การทำนาในที่ดินของตนเองไม่เป็นการละเมิด แม้จะทำลายพืชผลที่ผู้อื่นปลูกไว้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1ไม่ใช่ของโจทก์ การที่จำเลยเข้าไปทำนาในที่พิพาทจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปปลูกพืชผลในที่ดินนั้น การที่โจทก์เข้าไปปลูกจึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตน และเป็นการใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยตามสมควรแก่การทำนาของจำเลยการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าฤชาธรรมเนียม: ค่าฤชาธรรมเนียมไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากการละเมิด จึงไม่อาจเรียกร้องได้ตามมาตรา 426
ในคดีที่โจทก์ถูกบิดาของผู้ตายฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้าง และโจทก์ผู้ซึ่งเป็นนายจ้างต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมด้วยดอกเบี้ยและใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน ให้บิดาของผู้ตายไปแล้ว ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลสั่งให้ใช้แทนนั้น เนื่องจากโจทก์ต่อสู้คดีและเป็นฝ่ายแพ้คดี ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด จึงไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การใช้ชื่อสินค้าที่คล้ายคลึงกัน และการลวงขายสินค้าทำให้เกิดการละเมิด
กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลมาสืบเมื่อจำเลยเห็นว่าคำแปลตรงไหนไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนอย่างไรจำเลยก็โต้แย้งหรือเสนอคำแปลที่ถูกต้องได้ แต่จำเลยก็ไม่ได้กระทำการดังกล่าว จึงถือได้ว่าคำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศของโจทก์ถูกต้องแล้ว
สินค้าของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาราว 15 ปีแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย ชื่อสินค้าโจทก์ที่เรียกว่า "CALUMET" นั้นไม่มีคำแปล การที่จำเลยเรียกชื่อสินค้าของจำเลยว่า "CALUMAK" ซึ่งแตกต่างกับชื่อสินค้าของโจทก์เพียงอักษรท้ายสองตัว เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกันสีพื้นของเครื่องหมายการค้าเป็นสีแดงและมีรูปคนประกอบเหมือนกัน ทั้งสินค้าของโจทก์จำเลยก็เป็นสินค้าจำพวก 42 เช่นเดียวกัน ส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว แต่เมื่อจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า มาตรา 29 วรรคสอง
สินค้าของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาราว 15 ปีแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย ชื่อสินค้าโจทก์ที่เรียกว่า "CALUMET" นั้นไม่มีคำแปล การที่จำเลยเรียกชื่อสินค้าของจำเลยว่า "CALUMAK" ซึ่งแตกต่างกับชื่อสินค้าของโจทก์เพียงอักษรท้ายสองตัว เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกันสีพื้นของเครื่องหมายการค้าเป็นสีแดงและมีรูปคนประกอบเหมือนกัน ทั้งสินค้าของโจทก์จำเลยก็เป็นสินค้าจำพวก 42 เช่นเดียวกัน ส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว แต่เมื่อจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า มาตรา 29 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการละเมิดชื่อเสียงจากการถอดถอนกรรมการ
โจทก์เป็นประธานกรรมการของบริษัท จึงเป็นประธานการประชุมใหญ่เมื่อไม่มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดเป็นอย่างอื่นเมื่อประธานบอกเลิกประชุม การประชุมก็สิ้นสุดลงกรรมการอื่นประชุมต่อไปโดยไม่นัดประชุมใหม่โดยบอกกล่าวก่อนตามข้อบังคับ เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับและ มาตรา 1174, 1175 รายงานการประชุมครั้งนี้ถอดประธานกรรมการโดยอ้างว่าทำความเสียหายแก่บริษัท จำเลยนำไปขอจดทะเบียน จึงทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินและการใช้ประโยชน์จากคูน้ำร่วมกัน การป้องกันทรัพย์สินไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยขุดคูเพื่อชักน้ำจากคลองใช้ทำสวน โจทก์ทำสวนในที่ดินแม่ยายและได้ขุดคูชักน้ำใช้ทำสวนต่อจากคูที่จำเลยขุดไว้ แล้วโจทก์ถือวิสาสะใช้เรือยนต์บรรทุกอุปกรณ์ในการทำสวนมีเครื่องสูบน้ำเป็นต้นผ่านคูที่จำเลยขุดเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ทำสวนโดยไม่ขออนุญาตจากจำเลย ในหน้าน้ำจำเลยปักไม้ไผ่ขวางคูนั้นเพื่อป้องกันคนร้ายนำเรือยนต์ผ่านคูที่จำเลยขุดมาขโมยผลไม้ในสวนของจำเลย โจทก์นำเรือยนต์บรรทุกเครื่องยนต์เข้าไปสูบน้ำที่ท่วมในสวนของโจทก์ไม่ได้ ทำให้สวนของโจทก์ถูกน้ำท่วมเสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้ง จึงไม่เป็นการละเมิด และไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตในอสังหาริมทรัพย์ทำให้โจทก์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหาย: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดของนิติบุคคล
ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ 32 วรรค 2 ว่า "กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ" ดังนั้น การที่จะถือว่ากรมตำรวจโจทก์ได้รู้ถึงเรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ อธิบดีกรมตำรวจโจทก์ หรือผู้ทำการแทนรู้เรื่องการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าเมื่อประธานกรรมการสอบสวนรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตือถือว่าโจกท์รู้ด้วยหาได้ไม่ เพราะตามระเบียบราชการนั้นเจ้าหน้าที่ชั้นสูงจะต้องพิจารณาก่อนว่าเรื่องราวและความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เสนอไปนั้นถูกต้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายกัน แต่มีลักษณะแตกต่างกันและประกอบการค้าต่างประเภท ไม่ถือเป็นการละเมิด
แถบติดคอเสื้อของโจทก์จำเลยต่างใช้อักษรโรมันคำเดียวกัน แต่เครื่องหมายแถบไม่เหมือนกัน โดยของโจทก์ใช้ตัวเอน และมีอักษรโรมันอื่นประกอบด้วย ส่วนของจำเลยเป็นอักษรตัวตรง และมีภาษาไทยประกอบ แตกต่างกันเห็นได้ชัด ทั้งโจทก์จำเลยก็ประกอบการค้าในลักษณะแตกต่าง คือ โจทก์ผลิตเสื้อสำเร็จรูปส่งจำหน่ายตามร้านค้า ส่วนจำเลยตั้งร้านรับจ้างตัดเสื้อกางเกง และใช้แถบติดคอเสื้อเฉพาะที่จำเลยรับจ้างตัดเท่านั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสร้างทางหลวงและการเวนคืนที่ดิน: การขุดคูไม่เป็นการละเมิดสิทธิใช้ถนน
ที่ดินที่ขุดคูพิพาทเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนมาเป็นของรัฐบาลเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการสร้างทางหลวงบนที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้นเพื่อประโยชน์การจราจรสาธารณะทางบกได้ ซึ่งรวมถึงการทำรางระบายน้ำ รองน้ำ กำแพงกั้นดิน ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้การขุดคูของจำเลยทั้งสามขวางหน้าที่ดินโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ความสะดวกที่จะใช้ถนนแต่สิทธิในการใช้ถนนกับความไม่สะดวกในการใช้ถนนเป็นคนละอย่าง คนละเรื่องกัน หากโจทก์ขัดข้องไม่ได้ความสะดวกเกี่ยวกับการใช้อย่างไรก็ชอบที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2482 เมื่อจำเลยไม่เคยหวงห้ามโจทก์มิให้ใช้ถนน และการขุดคูก็ได้ทำไปเพื่อประโยชน์แก่งานทางหลวงเพราะเป็นความจำเป็นเพื่อทดแทนทางน้ำเดิมที่สูญไป การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการใช้ถนนหลวง และไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1337 โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยกลบคูคลองที่จำเลยขุดขึ้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการแก้ไขฟ้องที่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างทำหน้าที่สารบรรณของจำเลยที่3 ไม่มีหน้าที่ขับรถ ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ขับรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 โดยน. ลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ยินยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับ และนั่งมาด้วยกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของ น. ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 1 ขับรถนั้นมิให้เกิดเหตุร้ายเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุแทน น. ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ชนท้ายรถยนต์ของโจทก์เสียหาย น. ต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้นการละเมิดนี้ย่อมนับได้ว่าอยู่ในกรอบแห่งการที่จำเลยที่ 3 จ้าง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยที่ชนท้ายรถยนต์โจทก์โดยถือตามบันทึกหมายเลขทะเบียนรถของพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุซึ่งผิดพลาด ต่อมาโจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนรถของจำเลยเฉพาะเลขตัวหน้าตัวเดียวให้ถูกต้องตามความจริง ดังนี้เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยที่โจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตไปโดยไม่ฟังข้อคัดค้านของจำเลยก็ตาม ก็ถือว่าชอบด้วยวิธีพิจารณาแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเป็นว่า'ก.ท.พ.2077หรือก.ท.พ.3077' ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยว่า 'ก.ท.พ.2077' ดังนี้ ย่อมเป็นการขอแก้คันเกิดเหตุที่แท้จริงว่าเป็น ก.ท.พ.3077 นั่นเอง ทั้งคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ดังกล่าว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 และไม่เคลือบคลุม
ภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่โจทก์อ้างประกอบคดีนั้น เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่จำต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน
คำฟ้องเดิมของโจทก์ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยที่ชนท้ายรถยนต์โจทก์โดยถือตามบันทึกหมายเลขทะเบียนรถของพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุซึ่งผิดพลาด ต่อมาโจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้อง โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนรถของจำเลยเฉพาะเลขตัวหน้าตัวเดียวให้ถูกต้องตามความจริง ดังนี้เป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยที่โจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตไปโดยไม่ฟังข้อคัดค้านของจำเลยก็ตาม ก็ถือว่าชอบด้วยวิธีพิจารณาแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเป็นว่า'ก.ท.พ.2077หรือก.ท.พ.3077' ระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของจำเลยว่า 'ก.ท.พ.2077' ดังนี้ ย่อมเป็นการขอแก้คันเกิดเหตุที่แท้จริงว่าเป็น ก.ท.พ.3077 นั่นเอง ทั้งคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ดังกล่าว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 และไม่เคลือบคลุม
ภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่โจทก์อ้างประกอบคดีนั้น เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่จำต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน