พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การซื้อสินค้าไม่ใช่การโอนสิทธิ ผู้ร้องไม่มีสิทธิสอดเข้าคดี
จำเลยที่ 1 จะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของเครื่องหมายการค้า เมื่อจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้องไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในสินค้าที่ได้จำหน่ายไปได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไปเท่านั้น การซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้องไปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าฟ้องจำเลยทั้งสามให้ระงับหรือเลิกใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย จึงไม่ใช่การก่อการรบกวนสิทธิของจำเลยทั้งสามผู้ซื้อในอันจะครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุขเพราะโจทก์มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายอันผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขายสามารถสอดเข้ามาในคดีเพื่อปฏิเสธการเรียกร้องของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 478 ได้
คดีก่อนผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์โดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษายืนให้ยกฟ้องของผู้ร้องโดยวินิจฉัยในประเด็นเรื่องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าคดีของผู้ร้องขาดอายุความ ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความเดียวกับโจทก์จะรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 148 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีนี้
คดีก่อนผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์โดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษายืนให้ยกฟ้องของผู้ร้องโดยวินิจฉัยในประเด็นเรื่องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าคดีของผู้ร้องขาดอายุความ ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความเดียวกับโจทก์จะรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 148 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้าและการใช้ชื่อทางการค้าที่ทำให้สับสน แม้จะมีการโอนสิทธิแต่สิทธิในเครื่องหมายการค้ายังคงอยู่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ส่วนจำเลยที่ 2 เคยเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โจทก์ตกลงขออนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ แต่จำเลยที่ 2 กลับขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเอง คือ เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค 136991 กับ ค 136990 โดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดำเนินการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ ขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ทะเบียนเลขที่ ค 136991 และ ค 136990 ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ตามที่บรรยายมานั้นแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค 136991 กับ ค 136990 ออกจากทะเบียนเป็นสำคัญ หาได้มุ่งบังคับแก่จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 แต่อย่างใดไม่ แม้หลักฐานทางทะเบียนจะปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค 136991 กับ ค 136990 ได้โอนไปเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ก่อนที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ แต่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ย่อมจะมีช่องทางที่จะให้การต่อสู้คดีป้องกันสิทธิของตนได้ ทั้งคำให้การของจำเลยทั้งสอง ฉบับลงวันที่ 10 มีนาคม 2549 ก็ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ให้การร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีในส่วนของเครื่องหมายการค้านี้แล้ว หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีตามที่กล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไม่ นอกจากนี้เมื่อคดีรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับโอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ย่อมจะไม่อาจโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ การโอนสิทธิ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง และความรับผิดของผู้สลักหลัง
เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 918, 989 โจทก์ผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองถูกฟ้องในมูลหนี้ตามตั๋วเงินคือเช็คไม่อาจต่อสู้ผู้ทรงคือโจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ จ. ผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้ จ. โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการเล่นแชร์ระหว่างกัน คำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับ จ. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน ฉะนั้นจำเลยจะยกความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คและคบคิดฉ้อฉลกันอย่างไร และในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 การที่ จ. ให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นใช้ยันกับโจทก์ได้ตาม มาตรา 904 และมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าแชร์จาก จ. ครบหรือไม่เพียงใดก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. โดยตรงต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ลงนามสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ เพราะฐานะของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นประกันหรืออาวัลสำหรับผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบมาตรา 989
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คและคบคิดฉ้อฉลกันอย่างไร และในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 การที่ จ. ให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นใช้ยันกับโจทก์ได้ตาม มาตรา 904 และมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าแชร์จาก จ. ครบหรือไม่เพียงใดก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. โดยตรงต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ลงนามสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ เพราะฐานะของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นประกันหรืออาวัลสำหรับผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินหลังการโอนสิทธิ - การกำหนดส่วนแบ่งต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าของรวมอื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเพื่อขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน เมื่อแบ่งแยกที่ดินเป็นของโจทก์ตามส่วนที่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานผู้จัดการมรดกของ ฉ. แล้ว ที่ดินส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสามและเจ้าของรวมคนอื่นๆ ยังคงถือกรรมสิทธิ์รวมกันอยู่ การจะแบ่งที่ดินที่เหลือให้เป็นส่วนของจำเลยทั้งสามแยกต่างหากจากเจ้าของรวมคนอื่นอีกหรือไม่เพียงใด ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสามและเจ้าของรวมคนอื่นที่ต้องว่ากล่าวกันเอง โจทก์หามีสิทธิที่จะขอให้แบ่งแยกที่ดินในส่วนของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดินที่เหลือดังกล่าวด้วยไม่ ทั้งการกำหนดส่วนแบ่งของจำเลยทั้งสามตามคำขอของโจทก์ย่อมกระทบต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นที่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีกับจำเลยทั้งสาม คำขอของโจทก์ที่ให้แบ่งแยกที่ดินเป็นของจำเลยทั้งสามจึงไม่อาจบังคับได้ เป็นผลให้ต้องยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโอนสิทธิและผลของการครอบครองโดยชอบธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากพระภิกษุ ป. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แต่ที่ดินพิพาทกลับมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของ และมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับซื้อฝาก เป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท เท่ากับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ โจทก์จึงเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ส่วนที่ดินพิพาทไม่ใช่แปลงเดียวกับที่โจทก์ซื้อมาจากพระภิกษุ ป. หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากพระภิกษุ ป. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ หาใช่เป็นการครอบครองที่ดินผิดแปลง แม้การให้ที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับพระภิกษุ ป. ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่เมื่อ ส. สละการครอบครองและโอนการครอบครองโดยส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่พระภิกษุ ป. การครอบครองของ ส. ย่อมสิ้นสุดลง พระภิกษุ ป. ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 และแม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพระภิกษุ ป. กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพระภิกษุ ป. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสละการครอบครองและส่งมอบที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ค. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่มรดกของ ส. ให้แก่ ป. ป. ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตามความจริง จึงไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง และไม่มีสิทธิขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แม้การขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากพระภิกษุ ป. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ หาใช่เป็นการครอบครองที่ดินผิดแปลง แม้การให้ที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับพระภิกษุ ป. ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่เมื่อ ส. สละการครอบครองและโอนการครอบครองโดยส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่พระภิกษุ ป. การครอบครองของ ส. ย่อมสิ้นสุดลง พระภิกษุ ป. ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 และแม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพระภิกษุ ป. กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพระภิกษุ ป. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสละการครอบครองและส่งมอบที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ค. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่มรดกของ ส. ให้แก่ ป. ป. ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตามความจริง จึงไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง และไม่มีสิทธิขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แม้การขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. การโอนสิทธิ และละเมิดจากการทำลายทรัพย์สิน
แม้ต้นปาล์มและต้นมะพร้าว โจทก์ทั้งสองจะปลูกไว้ แต่เมื่อเป็นไม้ยืนต้น จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท ผลปาล์มและต้นมะพร้าวจึงเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปเอาผลปาล์ม แล้วเข้าไปตัดโค่นทำลายต้นมะพร้าว จะถือว่าทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่ได้ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสอง ส่วนต้นกล้วยเป็นไม้ล้มลุก ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ปลูกจึงเป็นเจ้าของต้นกล้วย จำเลยทั้งสองเข้าไปโค่นทำลาย ทั้งๆ ที่รู้แล้วว่าแม้จะปลูกอยู่ในที่พิพาทแต่ต้นกล้วยเหล่านั้นเป็นของโจทก์ทั้งสอง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองและเป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องและจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3122/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: สิทธิการเช่าที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส แม้จะมีการโอนสิทธิให้บุคคลภายนอก
การที่มารดาจำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ให้ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการให้โดยเป็นหนังสือระบุว่ายกให้แก่ผู้ใด และหนังสือยกให้นั้นระบุว่าเป็นสินสมรส การจะฟังว่ามารดาจำเลยที่ 1 ยกให้โจทก์หรือจำเลยที่ 1 ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมไม่อาจรับฟังได้โดยถนัดนัก แต่สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส และกรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส เช่นนี้จึงต้องฟังว่า สิทธิการเช่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้แบ่งสินสมรสและคืนสินส่วนตัวคือ สิทธิการเช่าพิพาทแก่โจทก์และ ธ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์สมคบกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลหลอกลวงจำเลยที่ 1 ให้ทำบันทึกข้อตกลง และไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่านข้อความก่อนลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 ยินยอมทำเอกสารดังกล่าวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้คบชู้กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลเป็นการแสดงเจตนาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมายต่อไป เช่นนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 1 ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเช่าพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างการแสดงเจตนาที่จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามที่ให้การว่าถูกโจทก์กับพวกฉ้อฉลหลอกลวงก็ตาม แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธว่าบันทึกข้อตกลงไม่มีผลบังคับแก่จำเลย เท่ากับเป็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงเป็นสัญญาระหว่างสมรสและหยิบยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ และถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 มีประเด็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงแล้ว
สิทธิการเช่าพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องหย่าขาดจากกัน คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องการแบ่งสินสมรส ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์กับ ธ. ร่วมกันฉ้อฉล และมีผลผูกพันสินสมรสเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 เพียงครึ่งหนึ่งที่ยกให้โจทก์และ ธ. อีกครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสในส่วนของโจทก์ และส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้ ธ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นมีลักษณะเป็นการให้ เมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสที่ทำไว้กับโจทก์แล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลให้สิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้แก่โจทก์กลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน สิทธิการเช่าพิพาทดังกล่าวต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งหนึ่ง โดยส่วนของจำเลยที่ 1 ครึ่งหนึ่งได้ตกเป็นสิทธิของ ธ. ไปแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1 และ ธ. มีส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสี่ของสิทธิการเช่าพิพาท กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องของการปรับบทกฎหมายในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งสินสมรส ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่คู่ความนำมาสืบ มิใช่เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันจะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นอย่างใดไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้แบ่งสินสมรสและคืนสินส่วนตัวคือ สิทธิการเช่าพิพาทแก่โจทก์และ ธ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์สมคบกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลหลอกลวงจำเลยที่ 1 ให้ทำบันทึกข้อตกลง และไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่านข้อความก่อนลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 ยินยอมทำเอกสารดังกล่าวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้คบชู้กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลเป็นการแสดงเจตนาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมายต่อไป เช่นนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 1 ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเช่าพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างการแสดงเจตนาที่จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามที่ให้การว่าถูกโจทก์กับพวกฉ้อฉลหลอกลวงก็ตาม แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธว่าบันทึกข้อตกลงไม่มีผลบังคับแก่จำเลย เท่ากับเป็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงเป็นสัญญาระหว่างสมรสและหยิบยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ และถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 มีประเด็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงแล้ว
สิทธิการเช่าพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องหย่าขาดจากกัน คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องการแบ่งสินสมรส ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์กับ ธ. ร่วมกันฉ้อฉล และมีผลผูกพันสินสมรสเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 เพียงครึ่งหนึ่งที่ยกให้โจทก์และ ธ. อีกครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสในส่วนของโจทก์ และส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้ ธ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นมีลักษณะเป็นการให้ เมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสที่ทำไว้กับโจทก์แล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลให้สิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้แก่โจทก์กลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน สิทธิการเช่าพิพาทดังกล่าวต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งหนึ่ง โดยส่วนของจำเลยที่ 1 ครึ่งหนึ่งได้ตกเป็นสิทธิของ ธ. ไปแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1 และ ธ. มีส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสี่ของสิทธิการเช่าพิพาท กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องของการปรับบทกฎหมายในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งสินสมรส ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่คู่ความนำมาสืบ มิใช่เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันจะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นอย่างใดไม่