คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเดินรถรับจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต: ศาลพิจารณาประเด็นการให้การต่อสู้ของผู้ถูกกล่าวหา
ในคดีอาญาย่อมมีประเด็นเช่นประเด็นเช่นเดียวกับในคดีแพ่งเหมือนกัน ผิดกันแต่ว่าในคดีอาญาจำเลยไม่ให้การ เลยถือว่าให้การปฏิเสธหรือให้การปฏิเสธตลอดข้อหาก็เพียงพอแล้วไม่ต้องยกข้อต่อสู้โดยละเอียด
ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบังคับเดิรรถรับจ้างบรรทุกคนและสินค้าบนทางที่โจทก์ได้รับสัมปทานโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ให้อนุญาตแล้ว ถ้าทางพิจารณาไม่ได้ความว่า โจทก์ให้อนุญาตจำเลยดั่งคำให้การแล้วก็ต้องมีผิดผู้รับสัมปทานให้เดินรถมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษผู้นำรถมาเดินบนทางนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตได้
หลักวินิจฉัย ข้อต่อสู้คดีจำเลยนั้นถึงเป็นความจริงก็ยกขึ้นแก้ตัวให้พ้นความผิดไม่ได้ก็ดี ศาลก็ยังวินิจฉัยชี้ขาดความเท็จและจริงในข้อต่อสู้นั้นให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การนอกประเด็นไม่เป็นหลักฐานรับฟังได้ แม้เป็นประโยชน์ต่อจำเลย
ให้การชั้นไต่สวนนอกประเด็นที่ถูกไต่สวนอย่างเดียวไม่พอลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต้องพิสูจน์ความแตกต่างของการให้การในชั้นต่างๆ
ลักษณพะยาน วิธีพิจารณาอาชญา ฟ้องว่าแจ้งความเท็จจะสืบเพียงว่าให้การขั้นไต่สวนอย่างหนึ่ง ให้การศาลอย่างหนึ่งเท่านี้ยังไม่พอลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเผื่อชอบยังไม่สมบูรณ์ การให้การตำรวจไม่ผูกมัดจำเลย
สัญญาซื้อขายเผื่อชอบเปนสัญญามีเงื่อนไข วิธีพิจารณาแพ่ง ทำให้การแก้ตัวที่โรงพักตำรวจไม่ผูกมัดจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเช็คหลังหมดอายุความไม่ถือเป็นการขยายอายุความ และการให้การเรื่องอายุความต้องชัดเจน
แม้เช็คพิพาทแต่ละฉบับจะถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คพิพาทแก้ไขวันที่เดือนปีในเช็คพิพาทโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทยินยอม เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดใช้เงินตามวันที่เดือนปีที่แก้ไขนั้น กรณีหาใช่เป็นการขยายอายุความออกไปอันขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/11 ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8792/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การต่อสู้คดีอายุความไม่ชัดเจน ถือเป็นประเด็นไม่สมบูรณ์ ศาลไม่ต้องวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์อ้างว่า จำเลยส่งรถยนต์มาให้โจทก์ซ่อมหลายครั้งหลายรายการโจทก์ซ่อมรถยนต์ให้แก่จำเลยและได้มอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของจำเลยแล้ว จำเลยให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องถึงวันฟ้อง โดยไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมคันไหนตั้งแต่เมื่อไรทั้ง ๆ ที่เอกสารท้ายฟ้องได้ระบุยี่ห้อรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ หมายเลขเคลมเลขที่กรมธรรม์ประกันภัยและจำนวนเงินค่าซ่อมไว้อย่างชัดเจนแล้ว จำเลยสามารถทราบได้เป็นอย่างดีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าซ่อมรถยนต์แต่ละคันตั้งแต่เมื่อใด และสามารถให้การต่อสู้ได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับรถยนต์คันไหนขาดอายุความแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความโดยชัดแจ้งคำให้การของจำเลย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5317/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การขาดอายุความต้องระบุเหตุแห่งการขาดอายุความชัดเจน มิฉะนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนี้ นอกจากจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยต้องให้การโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏด้วย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญากู้และสัญญาจำนอง และจำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเกินกว่า 10 ปี โดยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไร เพราะเหตุใด และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้ว คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – การยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกาหลังศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาทำนองปฏิเสธว่ามิได้กระทำความผิด เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่วินิจฉัยนั้นไม่ชอบอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การปฏิเสธอายุความต้องระบุเหตุแห่งการขาดอายุความ มิฉะนั้นถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้น นอกจากจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยต้องให้การโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏด้วย กล่าวคือ ต้องบรรยายว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้ว การที่จำเลยให้การเพียงว่ามูลหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้อง โดยมิได้กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การของจำเลย ก็มิใช่เหตุที่ทำให้เกิดประเด็นข้อพิพาทตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายิงผิดตัวในความผิดฐานพยายามฆ่า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการให้การไม่สอดคล้องกันและข้ออ้างไม่มีเหตุผลรับฟังได้
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ไปยังที่เกิดเหตุพร้อมกับอาวุธปืน เมื่อจำเลยที่ 2 เห็นผู้เสียหายที่บริเวณหน้าบ้านที่เกิดเหตุเข้าใจว่าเป็นพวกของ บ. จำเลยที่ 2 จึงใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นที่พกติดตัวมายิงไปที่ผู้เสียหายนั่งอยู่เพราะสำคัญผิดคิดว่าผู้เสียหายเป็นพวกของ บ. แต่จำเลยที่ 2 ก็จะยกเอาความสำคัญผิดขึ้นมาเป็นข้อแก้ตัวหาได้ไม่ ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะกระทำต่อพวกของ บ. เช่นใด ก็ต้องรับผิดในผลของการกระทำที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายเช่นนั้นตาม ป.อ. มาตรา 61 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยสำคัญผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80
of 7