พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้รับจ้างขนส่งและตัวแทนในการขนส่งสินค้าเสียหาย
คดีนี้มีมูลเหตุจากการที่บริษัท ย. ในประเทศไทย สั่งซื้อเครื่องอัดฉีดพลาสติกจากประเทศญี่ปุ่น สินค้าถูกขนส่งทางทะเลจากท่าเรือเมืองโยโกฮาม่าถึงท่าเรือกรุงเทพ และผู้ซื้อได้เอาประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งจากโรงงานของผู้ขายจนถึงโรงงานของผู้ซื้อไว้กับโจทก์ เมื่อสินค้าเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ผู้ซื้อว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้ซื้อรวมทั้งติดตั้งเครื่องจักรดังกล่าว กระบวนการขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้ซื้อจึงเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิประกอบกิจการประกันภัยในราชอาณาจักรไทย จึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลโดยรับประกันภัยสินค้าตลอดเส้นทางการขนส่งตั้งแต่โรงงานของผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นจนกว่าสินค้าจะถึงโรงงานของผู้ซื้อในประเทศไทยหรือไม่ เมื่อความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางบกก่อนสินค้าจะถูกส่งถึงมือผู้ซื้อ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าดังกล่าวตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป โจทก์จะเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากผู้ที่ต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะร่วมกันขนส่งสินค้าแล้วทำให้สินค้าเสียหายเป็นคดีนี้ จึงไม่มีข้อสงสัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับพิจารณาพิพากษาคดีชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างจากผู้เอาประกันภัยจัดการนำสินค้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ ผ่านพิธีศุลกากรและขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้เอาประกันภัยรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรดังกล่าวไปติดตั้งในโรงงานของผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเช่ารถฟอร์คลิฟท์จากจำเลยที่ 2 มาดำเนินการในส่วนของการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 2 มิได้ทำการขนส่งเครื่องจักรแม้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น แต่ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการขนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างจากผู้เอาประกันภัยจัดการนำสินค้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ ผ่านพิธีศุลกากรและขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้เอาประกันภัยรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรดังกล่าวไปติดตั้งในโรงงานของผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเช่ารถฟอร์คลิฟท์จากจำเลยที่ 2 มาดำเนินการในส่วนของการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 2 มิได้ทำการขนส่งเครื่องจักรแม้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น แต่ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการขนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าเสียหายจากแมลง: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าจริง ไม่ใช่ตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบหมายสินค้าพิพาทไว้เพื่อขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง แต่ระหว่างการขนส่งสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายเพราะมีแมลงเข้าไปในสินค้าพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าพิพาท จำเลยให้การปฏิเสธว่า การที่แมลงเข้าไปในสินค้าพิพาทมิได้เกิดจากการขนส่งของจำเลย เนื่องจากผู้ส่งเป็นผู้บรรจุและหีบห่อสินค้าพิพาท เมื่อขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงด่านสินค้าขาเข้าของประเทศมาเลเซียมีการพบแมลงอยู่บริเวณหีบห่อส่วนที่เป็นพลาสติก การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตั้งประเด็นว่า สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย และจำเลยต้องรับผิดชอบหรือไม่ ย่อมครอบคลุมถึงข้อเท็จจริงว่า การที่มีแมลงเข้าไปในสินค้าพิพาทมิได้เกิดจากการกระทำหน้าที่ขนส่งของจำเลย แต่ถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียที่ให้เก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลย ห้ามเคลื่อนย้ายในระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยจึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างไว้ในคำให้การ มิได้เป็นการพิพากษานอกประเด็น
ความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากมีแมลงเข้าไปปะปนอยู่ในถุงสินค้าพิพาท ขณะสินค้าพิพาทถูกขนออกจากตู้คอนเทนเนอร์เก็บไว้ที่โกดังสินค้าของจำเลยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียตรวจสอบ ขณะนำไปตรวจสอบไม่ปรากฏตัวแมลงปะปนอยู่ในสินค้าพิพาท แสดงว่าแมลงได้เข้าไปปะปนในสินค้าพิพาทในช่วงเวลาที่สินค้าพิพาทถูกเก็บไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยก่อนผู้ซื้อจะได้รับมอบสินค้าพิพาทแม้การเก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยจะถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซีย แต่จำเลยก็มีหน้าที่นำสินค้าผ่านเข้าประเทศมาเลเซียด้วย ดังนั้น การดูแลรักษาสินค้าพิพาทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย จำเลยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการขนส่งสินค้าย่อมมีหน้าที่ดูแลสินค้าพิพาทในช่วงเวลาขนส่งมิให้เกิดความเสียหายสูญหาย การมีแมลงเข้าไปตอมสินค้าพิพาทโดยแทรกสิ่งห่อหุ้มสินค้าพิพาทเข้าไปย่อมเป็นเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านว่า สินค้าพิพาทมีการหีบห่อเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ได้มีการคลุมสินค้าพิพาทอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า การป้องกันมิให้แมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทสามารถป้องกันได้โดยใช้ผ้าใบหรือสิ่งห่อหุ้มคลุมสินค้าพิพาทไว้อีกชั้นหนึ่ง เพียงแต่จำเลยมิได้คาดคิดหรือคาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น การมีแมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทเกิดความเสียหายจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย เมื่อสินค้าพิพาทเกิดความเสียหายขณะที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ตามสัญญาประกันภัยมีการตกลงราคาประกันภัยโดยคิดตามราคาสินค้าบวกด้วยร้อยละ 10 แม้คู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงกันได้เพราะผู้เอาประกันภัยอาจได้รับความเสียหายมากกว่ามูลค่าสินค้าที่เอาประกันภัยโดยมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องเสียไป เช่น ค่าหีบห่อและค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วย ซึ่งถือเป็นความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยได้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยสินค้าได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันซึ่งต้องจ่ายตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องในความเสียหายได้เพียงที่ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิด คือ จำนวนตามสัญญารับขน ซึ่งได้แก่ค่าเสียหายเท่าที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายจริงเท่านั้น และต้องพิจารณาตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา มิใช่จะถือเอาว่าความเสียหายที่แท้จริงจะต้องเป็นราคาสินค้าที่เสียหายบวกร้อยละ 10 ตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องผูกพันด้วยแต่อย่างใด และตามพยานหลักฐานของโจทก์ก็ปรากฏว่า ผู้ซื้อสินค้ามีหนังสือเรียกร้องความเสียหายเป็นค่าสินค้าที่เสียหายที่ยังไม่บวกร้อยละ 10 แต่ส่วนเพิ่มที่เป็นภาษีมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ของราคาสินค้าแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีเพียงจำนวนดังกล่าวเท่านั้น
ความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากมีแมลงเข้าไปปะปนอยู่ในถุงสินค้าพิพาท ขณะสินค้าพิพาทถูกขนออกจากตู้คอนเทนเนอร์เก็บไว้ที่โกดังสินค้าของจำเลยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียตรวจสอบ ขณะนำไปตรวจสอบไม่ปรากฏตัวแมลงปะปนอยู่ในสินค้าพิพาท แสดงว่าแมลงได้เข้าไปปะปนในสินค้าพิพาทในช่วงเวลาที่สินค้าพิพาทถูกเก็บไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยก่อนผู้ซื้อจะได้รับมอบสินค้าพิพาทแม้การเก็บสินค้าพิพาทไว้ในโกดังสินค้าของจำเลยจะถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซีย แต่จำเลยก็มีหน้าที่นำสินค้าผ่านเข้าประเทศมาเลเซียด้วย ดังนั้น การดูแลรักษาสินค้าพิพาทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย จำเลยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการขนส่งสินค้าย่อมมีหน้าที่ดูแลสินค้าพิพาทในช่วงเวลาขนส่งมิให้เกิดความเสียหายสูญหาย การมีแมลงเข้าไปตอมสินค้าพิพาทโดยแทรกสิ่งห่อหุ้มสินค้าพิพาทเข้าไปย่อมเป็นเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านว่า สินค้าพิพาทมีการหีบห่อเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ได้มีการคลุมสินค้าพิพาทอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า การป้องกันมิให้แมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทสามารถป้องกันได้โดยใช้ผ้าใบหรือสิ่งห่อหุ้มคลุมสินค้าพิพาทไว้อีกชั้นหนึ่ง เพียงแต่จำเลยมิได้คาดคิดหรือคาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น การมีแมลงเข้าไปที่สินค้าพิพาทเกิดความเสียหายจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย เมื่อสินค้าพิพาทเกิดความเสียหายขณะที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ตามสัญญาประกันภัยมีการตกลงราคาประกันภัยโดยคิดตามราคาสินค้าบวกด้วยร้อยละ 10 แม้คู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงกันได้เพราะผู้เอาประกันภัยอาจได้รับความเสียหายมากกว่ามูลค่าสินค้าที่เอาประกันภัยโดยมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องเสียไป เช่น ค่าหีบห่อและค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วย ซึ่งถือเป็นความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยได้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยสินค้าได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันซึ่งต้องจ่ายตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องในความเสียหายได้เพียงที่ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิด คือ จำนวนตามสัญญารับขน ซึ่งได้แก่ค่าเสียหายเท่าที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายจริงเท่านั้น และต้องพิจารณาตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา มิใช่จะถือเอาว่าความเสียหายที่แท้จริงจะต้องเป็นราคาสินค้าที่เสียหายบวกร้อยละ 10 ตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องผูกพันด้วยแต่อย่างใด และตามพยานหลักฐานของโจทก์ก็ปรากฏว่า ผู้ซื้อสินค้ามีหนังสือเรียกร้องความเสียหายเป็นค่าสินค้าที่เสียหายที่ยังไม่บวกร้อยละ 10 แต่ส่วนเพิ่มที่เป็นภาษีมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ของราคาสินค้าแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีเพียงจำนวนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13825/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างขนส่งสินค้า: ลักษณะสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่จ้างแรงงาน ค่าชดเชยจึงไม่เกิด
จำเลยจ้างโจทก์ขับรถขนส่งสินค้าโดยโจทก์ต้องมีรถบรรทุกสินค้าของตัวเอง จำเลยจ่ายค่าจ้างให้เฉพาะวันที่ปฏิบัติงานส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น จึงบ่งบอกว่าจำเลยมุ่งผลสำเร็จของงานให้มีการขนสินค้าไปให้ลูกค้าตามช่วงเวลานั้นจนเสร็จสิ้นไปเป็นสำคัญ อีกทั้งโจทก์จะมาทำงานวันใดก็ได้ตามความสมัครใจ ไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยหากฝ่าฝืนจำเลยมีสิทธิลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาโจทก์ สัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6271/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนขนส่งสินค้า กรณีสินค้าเสียหายจากน้ำท่วมขณะอยู่ในความดูแลรักษา
การที่กรรมการผู้มีอำนาจร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทโจทก์ในใบแต่งทนายความแต่งตั้ง ว. เป็นทนายโจทก์และ ว. ลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ ถือเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ด้วยตนเองโดยแต่งตั้ง ว. เป็นทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่กรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้แทนโจทก์ตามมาตรา 60 วรรคสอง ซึ่งต้องมีหนังสือมอบอำนาจ
ปัญหาว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดกฎหมายเบื้องต้นให้ยกฟ้องโจทก์ได้ การสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องมาใหม่โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 30 ประกอบข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 6 และวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า กระบวนพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ซึ่งมาตรา 26 ได้บัญญัติรับรองในส่วนการดำเนินคดีแพ่งไว้ว่า กระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. นี้ และข้อกำหนดตามมาตรา 30 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ซึ่งออกตามความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ข้อ 6 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของคำฟ้องใน คดีแพ่งไว้ว่า คำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่เสนอต่อศาลแต่แรกแล้ว เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่า ความเสียหายของสินค้านั้นเป็นเงิน 846,110 บาท ส่วนจะคำนวณอย่างไร มีหลักฐานอ้างอิงหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย กรณีไม่อาจนำหลักเกณฑ์ของคำฟ้องในคดีแพ่งทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ และการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องให้ชัดเจนขึ้นเป็นการใช้อำนาจตามข้อกำหนด ข้อ 6 วรรคสอง เพื่อประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 เอง อุทธรณ์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาว่า สินค้าพิพาทได้รับความเสียหายขณะอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 3 หรือไม่ เห็นว่า การขนส่งคดีนี้เป็นการขนส่งในเทอม CY/CY หรือ FCL/FCL ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งมีหน้าที่รับตู้สินค้าจากจำเลยที่ 3 ไปเปิดยังโรงงานหรือโกดังของผู้รับตราส่ง ส่วนจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในสภาพเรียบร้อย การเปิดตู้ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรมิใช่การตรวจเพื่อส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่ง กรณีนี้เป็นการขนส่งสินค้าในระบบตู้สินค้าเทอม CY/CY หรือ FCL/FCL การที่ผู้รับตราส่ง รับตู้สินค้าไปจากจำเลยที่ 3 โดยไม่มีข้อทักท้วงเรื่องความเสียหายของสินค้า จึงไม่อาจถือได้ว่าสินค้าพิพาทมิได้เสียหายในขณะนั้นและผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าไปจากจำเลยที่ 3 โดยมิได้อิดเอื้อน ข้อบังคับว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือบริการและความสะดวกต่างๆ ของกิจการท่าเรือ ข้อ 53 ที่ว่าบุคคลใดรับมอบสินค้าไปจากจำเลยที่ 3 โดยไม่อิดเอื้อน และข้อ 57 วรรคสอง (ข) ที่ว่าถ้าผู้รับสินค้าไม่เรียกร้องค่าเสียหายเป็นหนังสือภายใน 7 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้า จำเลยที่ 3 จะไม่รับผิดชอบ ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การรับมอบตู้สินค้าจากจำเลยที่ 3 เพื่อนำไปเปิดที่โรงงานของผู้รับตราส่งอย่างเช่นกรณีนี้ได้ เพราะตู้สินค้าไม่ใช่สินค้าตามความหมายของข้อบังคับดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดขึ้นขณะที่ตู้สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่รับดูแลรักษาสินค้า เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่สามารถป้องกันมิให้น้ำท่วมขังและซึมเข้าไปในภายตู้สินค้า ทำให้สินค้าพิพาทเปียกชื้นได้รับความเสียหายจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท
คำให้การของจำเลยที่ 3 บรรยายข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้เพียงว่า โจทก์ได้ฟ้องร้องเกินกว่ากำหนดอายุความฝากทรัพย์และอายุความละเมิดแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะอะไร ทำไมถึงขาดอายุความ ถือเป็นคำให้การที่ไม่ ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความต้อง นำสืบ และหากเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลไม่อาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบแล้ว
ปัญหาว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดกฎหมายเบื้องต้นให้ยกฟ้องโจทก์ได้ การสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องมาใหม่โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 30 ประกอบข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 6 และวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า กระบวนพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ซึ่งมาตรา 26 ได้บัญญัติรับรองในส่วนการดำเนินคดีแพ่งไว้ว่า กระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. นี้ และข้อกำหนดตามมาตรา 30 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ซึ่งออกตามความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ข้อ 6 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของคำฟ้องใน คดีแพ่งไว้ว่า คำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่เสนอต่อศาลแต่แรกแล้ว เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่า ความเสียหายของสินค้านั้นเป็นเงิน 846,110 บาท ส่วนจะคำนวณอย่างไร มีหลักฐานอ้างอิงหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย กรณีไม่อาจนำหลักเกณฑ์ของคำฟ้องในคดีแพ่งทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ และการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องให้ชัดเจนขึ้นเป็นการใช้อำนาจตามข้อกำหนด ข้อ 6 วรรคสอง เพื่อประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 เอง อุทธรณ์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาว่า สินค้าพิพาทได้รับความเสียหายขณะอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 3 หรือไม่ เห็นว่า การขนส่งคดีนี้เป็นการขนส่งในเทอม CY/CY หรือ FCL/FCL ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งมีหน้าที่รับตู้สินค้าจากจำเลยที่ 3 ไปเปิดยังโรงงานหรือโกดังของผู้รับตราส่ง ส่วนจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในสภาพเรียบร้อย การเปิดตู้ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรมิใช่การตรวจเพื่อส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่ง กรณีนี้เป็นการขนส่งสินค้าในระบบตู้สินค้าเทอม CY/CY หรือ FCL/FCL การที่ผู้รับตราส่ง รับตู้สินค้าไปจากจำเลยที่ 3 โดยไม่มีข้อทักท้วงเรื่องความเสียหายของสินค้า จึงไม่อาจถือได้ว่าสินค้าพิพาทมิได้เสียหายในขณะนั้นและผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าไปจากจำเลยที่ 3 โดยมิได้อิดเอื้อน ข้อบังคับว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือบริการและความสะดวกต่างๆ ของกิจการท่าเรือ ข้อ 53 ที่ว่าบุคคลใดรับมอบสินค้าไปจากจำเลยที่ 3 โดยไม่อิดเอื้อน และข้อ 57 วรรคสอง (ข) ที่ว่าถ้าผู้รับสินค้าไม่เรียกร้องค่าเสียหายเป็นหนังสือภายใน 7 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้า จำเลยที่ 3 จะไม่รับผิดชอบ ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การรับมอบตู้สินค้าจากจำเลยที่ 3 เพื่อนำไปเปิดที่โรงงานของผู้รับตราส่งอย่างเช่นกรณีนี้ได้ เพราะตู้สินค้าไม่ใช่สินค้าตามความหมายของข้อบังคับดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดขึ้นขณะที่ตู้สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่รับดูแลรักษาสินค้า เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่สามารถป้องกันมิให้น้ำท่วมขังและซึมเข้าไปในภายตู้สินค้า ทำให้สินค้าพิพาทเปียกชื้นได้รับความเสียหายจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท
คำให้การของจำเลยที่ 3 บรรยายข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้เพียงว่า โจทก์ได้ฟ้องร้องเกินกว่ากำหนดอายุความฝากทรัพย์และอายุความละเมิดแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะอะไร ทำไมถึงขาดอายุความ ถือเป็นคำให้การที่ไม่ ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความต้อง นำสืบ และหากเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลไม่อาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11699/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามสัญญารับขนสินค้าตามฟ้อง ไม่ได้ฟ้องให้รับผิดในมูลละเมิด คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า ผู้กระทำละเมิดทำให้สินค้าเสียหายเป็นคนขับเรือลากจูง จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้ทำละเมิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ไม่ได้ยกว่ากันมาแล้วโดยชอบ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225
จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าเหล็กม้วนรีดเย็นให้กับบริษัท ท. จากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงพักสินค้าของบริษัทดังกล่าวที่จังหวัดสมุทรปราการ อันเป็นการขนส่งภายในประเทศ ที่ต้องใช้บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 บังคับ ซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่รับขนส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องพิสูจน์นำสืบพยานหลักฐานแสดงข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากเหตุสุดวิสัย
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า เรือมีรูรั่วบริเวณด้านบนกาบขวาเรือ แต่โจทก์นำสืบรับว่าเรือของจำเลยทั้งสองมีรูรั่วอยู่บริเวณใต้น้ำ ซึ่งแตกต่างไปจากคำฟ้อง ก็ไม่ใช่เป็นการคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญแต่อย่างใด ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะสาระสำคัญของข้อเท็จจริงที่จะมีผลให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดอยู่ที่เรื่องเหตุสุดวิสัยเท่านั้น เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ารูรั่วเกิดจากเหตุสุดวิสัยแล้ว จำเลยทั้งสองก็ยังคงต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. 616 อยู่ดี
ลักษณะความเสียหายของสินค้าเหล็กม้วนรีดเย็นเกิดเป็นสนิมทั้งหมด ซึ่งเหล็กดังกล่าวจะนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้าที่ซื้อไปผลิตส่วนประกอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หากเกิดสนิมหรือเกิดความชื้นเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ถือว่าเป็นความเสียหายโดยสิ้นเชิง การเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าเหล็กม้วนรีดเย็นให้กับบริษัท ท. จากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงพักสินค้าของบริษัทดังกล่าวที่จังหวัดสมุทรปราการ อันเป็นการขนส่งภายในประเทศ ที่ต้องใช้บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 บังคับ ซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่รับขนส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องพิสูจน์นำสืบพยานหลักฐานแสดงข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดจากเหตุสุดวิสัย
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า เรือมีรูรั่วบริเวณด้านบนกาบขวาเรือ แต่โจทก์นำสืบรับว่าเรือของจำเลยทั้งสองมีรูรั่วอยู่บริเวณใต้น้ำ ซึ่งแตกต่างไปจากคำฟ้อง ก็ไม่ใช่เป็นการคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญแต่อย่างใด ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะสาระสำคัญของข้อเท็จจริงที่จะมีผลให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดอยู่ที่เรื่องเหตุสุดวิสัยเท่านั้น เมื่อรับฟังไม่ได้ว่ารูรั่วเกิดจากเหตุสุดวิสัยแล้ว จำเลยทั้งสองก็ยังคงต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. 616 อยู่ดี
ลักษณะความเสียหายของสินค้าเหล็กม้วนรีดเย็นเกิดเป็นสนิมทั้งหมด ซึ่งเหล็กดังกล่าวจะนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้าที่ซื้อไปผลิตส่วนประกอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หากเกิดสนิมหรือเกิดความชื้นเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ถือว่าเป็นความเสียหายโดยสิ้นเชิง การเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ: การพิสูจน์ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยทั้งสองกระทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปบางส่วนระหว่างการขนส่งสินค้า จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตน ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทสูญหายจากการกระทำโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองสามารถยกข้อตกลงจำกัดความรับผิดด้านหลังใบรับขนของทางอากาศขึ้นอ้างเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลภายใต้เงื่อนไข CFS/CY: ความรับผิดสิ้นสุดเมื่อส่งสินค้าเข้าโรงพัก
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งรับขนส่งสินค้าพิพาทในเงื่อนไขการขนส่งแบบ CFS/CFS ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นรับการว่าจ้างหรือมอบหมายให้ขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลในเงื่อนไขการขนส่งแบบ CY/CFS ซึ่งเงื่อนไขการขนส่งแบบ CFS เมื่อตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทาง ผู้ขนส่งมีหน้าที่ขนย้ายแพลเล็ตสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าเก็บไว้ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประไทย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ขนส่งนำสินค้าเข้าเก็บในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้ว เมื่อสินค้าพิพาทสูญหายไปหลังจากจำเลยที่ 3 ขนถ่ายออกจากตู้คอนเทนเนอร์ไปเก็บไว้ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้ว สินค้าพิพาทที่สูญหายจึงไม่อยู่ในระหว่างความดูแลรับผิดชอบของผู้ขนส่ง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าที่ส่งสินค้าผิดพลาด และข้อจำกัดความรับผิดที่ใช้ไม่ได้ตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งสินค้าที่พิพาทแต่ไม่นำสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งตามสัญญา เนื่องจากลูกจ้างของจำเลยทั้งสองที่ปลายทาง นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้รับตราส่งและไม่ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศ ทำให้ไม่สามารถนำสินค้าที่พิพาทกลับคืนมา ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของลูกจ้างจำเลยทั้งสอง แม้จะมีเงื่อนไขจำกัดความรับผิดในความสูญหายของสินค้าไว้ที่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศก็ไม่อาจนำเงื่อนไขจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศมาใช้บังคับแก่กรณีดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดเต็มมูลค่าราคาสินค้าโดยไม่อาจอ้างข้อจำกัดความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ กรณีส่งสินค้าผิดที่จนเกิดความเสียหาย แม้มีข้อจำกัดความรับผิด
จำเลยประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ การดำเนินการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับโดยถูกต้องเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยโดยตรง จำเลยสามารถควบคุม สั่งการและป้องกันมิให้เกิดการผิดพลาดขึ้นได้ การที่พนักงานของจำเลยนำสินค้าไปส่งที่เลขที่ 15403 เชอร์แมนเวย์ ห้อง 102 แทนที่จะไปส่งที่ห้อง 120 อาคารเดียวกัน อันเป็นที่อยู่ของผู้รับที่ระบุในใบรับขนทางอากาศ เมื่อบริษัท ค. ผู้ซื้อยังไม่ได้รับสินค้า จำเลยจึงต้องรับผิดชอบต่อบริษัท อ. ผู้ส่งตามสัญญารับขนของ ทั้งตามพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีพนักงานของจำเลยได้กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลผู้ประกอบอาชีพเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และพนักงานของจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ ถือได้ว่า จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญารับขนของ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ถูกขโมยไปเต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก: ความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อเกิดข้อจำกัดในการขนส่ง
สัญญาขนส่งสินค้าระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นสัญญารับขนของโดยมีการขนส่งทางทะเลและทางอื่นรวมอยู่ด้วย อันเข้าเป็นลักษณะของสัญญาจ้างทำของ และลักษณะของสัญญามุ่งเน้นการขนส่งทางทะเลเป็นสาระสำคัญ การที่ใบจองระวางเรือและใบตราส่งสินค้าพิพาทระบุจุดหมายปลายทางของการขนส่งทั้งสองเที่ยวว่าเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงว่าความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้ส่งของที่รับขนส่งให้แก่ผู้รับตราส่งที่จุดหมายปลายทางเรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยทั้งสองเรียกเก็บค่าระวางจากโจทก์ในลักษณะการขนส่งทางทะเลบวกกับการขนส่งทางบก ก็ไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งทางบกโดยรถไฟเป็นสาระสำคัญของสัญญาขนส่งตามฟ้อง เพราะสภาพแห่งสัญญามุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ว่าจ้างโดยการที่สินค้าพิพาทไปถึงมือผู้รับตราส่งที่เมืองปลายทางเท่านั้น การที่สินค้าของโจทก์ไม่อาจขนส่งทางรถไฟจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์ได้เพราะมีข้อจำกัดของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศแคนาดา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งสินค้าพิพาททั้งสองเที่ยวอันเป็นการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ตามสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องกลายเป็นพ้นวิสัย เพราะสินค้าตามฟ้องสามารถขนส่งไปยังเมืองปลายทางได้โดยทางรถบรรทุก ทั้งไม่อาจถือได้ว่าการขนส่งทางรถบรรทุกอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงขนส่งสินค้า การที่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองชิคาโกและเมืองดีทรอยต์อันเป็นสถานที่ปลายทางตามสัญญาขนส่งสินค้าโดยโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาภายในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองได้ การที่โจทก์เกรงว่าหากปล่อยเวลาเนิ่นนานไปจะเกิดความเสียหายเพราะผู้ซื้ออาจปฏิเสธไม่ยอมรับสินค้า จึงได้แจ้งแก่จำเลยที่ 2 ว่าจะขนส่งสินค้าช่วงจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังปลายทางเอง ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมตกลงส่งมอบตู้สินค้าให้แก่บุคคลภายนอกที่โจทก์ติดต่อให้รับขนส่งต่อ โดยจำเลยที่ 2 ตกลงไม่เรียกเก็บค่าเสียเวลาตู้สินค้าที่เมืองแวนคูเวอร์ และจะไปรับตู้สินค้าคืนที่เมืองปลายทาง รวมทั้งยินยอมคืนค่าระวางบางส่วนให้แก่โจทก์ ถือเป็นส่วนที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชอบและไม่มีสิทธิได้รับค่าระวางในส่วนนั้นอยู่แล้ว ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยทั้งสองสมัครใจเลิกสัญญาขนส่งสินค้าตามฟ้องต่อกัน เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททั้งสองรายการจากเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองปลายทางโดยทางรถยนต์เป็นเงิน 46,370 ดอลลาร์สหรัฐ จึงถือเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ โดยหักเงินค่าระวางส่วนต่างจากท่าเรือเมืองแวนคูเวอร์ไปยังเมืองปลายทางทั้งสองเที่ยวที่จำเลยทั้งสองส่งคืนให้แก่โจทก์แล้วออก