พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ขอบเขตและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนนอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้ว พนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุที่ต้องขออนุญาตฝากขังด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรับสภาพหนี้: รับผิดเฉพาะมูลหนี้จริง
จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์สำหรับหนี้จำนวนอื่นที่เกินกว่ามูลหนี้ที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ แม้จำเลยรับจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นการรับสภาพหนี้ที่เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง ย่อมมีผลบังคับแก่กันได้เฉพาะหนี้ที่มีอยู่จริงเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า "ภาษี" ในสัญญาซื้อขายที่ดิน: ไม่รวมภาษีธุรกิจเฉพาะหากไม่มีระบุชัดเจน
โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มีข้อตกลงว่าค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้นกรณีไม่เป็น การขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน แต่เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างก็เป็นบริษัทจำกัด ประกอบอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจที่ดินโดยเฉพาะในการทำ สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์และจำเลยทั้งสองจะต้องรู้อยู่แล้วว่า โจทก์ผู้ขายที่ดินจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งจะต้องไปชำระ ณ สรรพากร มิใช่หัก ณ ที่จ่าย ที่สำนักงานที่ดิน ดังนั้น หากคู่กรณี มีเจตนาจะให้จำเลยทั้ง สองชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ก็น่าจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายให้ชัดแจ้ง เพราะค่าภาษีดังกล่าว จะต้องไปชำระต่างหากจากที่สำนักงานที่ดินอีกทั้งถ้ามี ข้อผูกพันดังกล่าวจริง โจทก์คงไม่โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองโดยง่าย โดยที่ยังมิได้รับชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะก่อน การที่ โจทก์อ้างว่าจะต้องคำนวณค่าภาษีธุรกิจเฉพาะก่อนจึงไม่น่า เป็นไปได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรฯ หมวด 5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ มาตรา 91/6 ได้ระบุอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับที่ดินมาโดยตลอด จึงน่าจะรู้เกี่ยวกับอัตราภาษีดังกล่าวและสามารถที่จะคำนวณ ได้ว่าจะต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเท่าใด ฉะนั้น คำว่า "ภาษี" ตามสัญญาจึงไม่รวมถึงค่า "ภาษีธุรกิจเฉพาะ" ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาโทษในฎีกาเมื่อรับเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และความผิดสำเร็จจากการใช้ธนบัตรปลอม
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ฉะนั้นปัญหาข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยอีก
จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ.มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้สมบูรณ์ด้วยการทอนเงินที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม
ปัญหาว่า ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกแก่จำเลยหนักเกินไปหรือไม่แม้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อฎีกาของจำเลยได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่จำเลยจะพึงได้รับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์รุนแรงเกินไป ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นพิจารณาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความยุติธรรม และพิพากษาวางโทษจำคุกแก่จำเลยในสถานเบากว่านั้นได้
จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ.มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้สมบูรณ์ด้วยการทอนเงินที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม
ปัญหาว่า ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกแก่จำเลยหนักเกินไปหรือไม่แม้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อฎีกาของจำเลยได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่จำเลยจะพึงได้รับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์รุนแรงเกินไป ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นพิจารณาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความยุติธรรม และพิพากษาวางโทษจำคุกแก่จำเลยในสถานเบากว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาและการบังคับคดี: ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยคดีที่กระทบสิทธิในคดีที่บังคับคดีไปแล้ว
คำพิพากษาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว คดีแรกเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยกับบุคคลภายนอก คดีที่สองพิพาทระหว่างบุคคลภายนอกกับจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องเพิกถอนนิติกรรมและเรื่องขับไล่ตามลำดับ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์มีข้อพิพาทกับจำเลยในเรื่องขอหย่าและแบ่งทรัพย์สิน มูลคดีของคำพิพากษาทั้งสองคดีแตกต่างกันและต่างคู่ความกัน ทั้งคำพิพากษาคดีแรกได้มีการบังคับคดีไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องในคดีนี้เพื่อให้มีผลก้าวล่วงไปถึงคดีที่ได้มีการบังคับคดีไปแล้วนั้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งโดยให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ซึ่งเป็นศาลสูงกว่า และสั่งว่าบ้านพร้อมที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยโจทก์ไม่มีสิทธิจะแบ่งทรัพย์สินเหล่านี้จากจำเลยตามคำพิพากษาในคดีซึ่งถึงที่สุดในคดีแรกและบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ต่อไปนั้น เมื่อคดีนี้ศาลฎีกาได้พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์กรณีไม่ต้องมีการบังคับคดี ฎีกาของจำเลยมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีกาออกคำบังคับให้หรือให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้แก่จำเลย จึงไม่อาจดำเนินการให้ในคดีนี้ได้ ทั้งไม่ใช่กรณีคำพิพากษาขัดกันอันต้องตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาตรา 146ที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งตามคำขอของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปดำเนินคดีเอง
ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งโดยให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ซึ่งเป็นศาลสูงกว่า และสั่งว่าบ้านพร้อมที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยโจทก์ไม่มีสิทธิจะแบ่งทรัพย์สินเหล่านี้จากจำเลยตามคำพิพากษาในคดีซึ่งถึงที่สุดในคดีแรกและบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ต่อไปนั้น เมื่อคดีนี้ศาลฎีกาได้พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์กรณีไม่ต้องมีการบังคับคดี ฎีกาของจำเลยมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีกาออกคำบังคับให้หรือให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้แก่จำเลย จึงไม่อาจดำเนินการให้ในคดีนี้ได้ ทั้งไม่ใช่กรณีคำพิพากษาขัดกันอันต้องตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาตรา 146ที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งตามคำขอของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปดำเนินคดีเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในค่านายหน้าและการแบ่งผลประโยชน์ของกลุ่มนายหน้า
++ เรื่อง นายหน้า ++
++ ตามพยานเอกสารและข้อนำสืบของจำเลยรับฟังได้ว่า การเป็นนายหน้าคงมีแต่โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 และบุคคลอื่นร่วมกันทำการเป็นนายหน้าเท่านั้น โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าแต่อย่างใด ลักษณะการทำงานและการแบ่งผลประโยชน์กันของกลุ่มนายหน้า เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกัน ทั้งผลประโยชน์ที่จะได้จากการทำการเป็นนายหน้าก็ตกลงเป็นอัตราส่วนของยอดเงินที่ได้รับมา แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ว่าจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงรับผิดชำระส่วนแบ่งค่านายหน้าให้โจทก์ที่ 2 ตามส่วนที่ตกลงจากยอดเงินที่จำเลยที่ 2 รับมาจากกลุ่มบริษัท ฮ. เท่านั้น หาใช่ต้องรับผิดชำระส่วนแบ่งจากยอดเงินร้อยละ 1 ของมูลค่าตามสัญญาไม่ และเมื่อข้อนำสืบของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเงินค่านายหน้าที่จำเลยที่ 2 รับมาทั้งหมดมีการแบ่งให้กลุ่มนายหน้า ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 2 ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่านายหน้าให้โจทก์ทั้งสองอีก ++
++ ตามพยานเอกสารและข้อนำสืบของจำเลยรับฟังได้ว่า การเป็นนายหน้าคงมีแต่โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 และบุคคลอื่นร่วมกันทำการเป็นนายหน้าเท่านั้น โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าแต่อย่างใด ลักษณะการทำงานและการแบ่งผลประโยชน์กันของกลุ่มนายหน้า เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกัน ทั้งผลประโยชน์ที่จะได้จากการทำการเป็นนายหน้าก็ตกลงเป็นอัตราส่วนของยอดเงินที่ได้รับมา แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ว่าจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงรับผิดชำระส่วนแบ่งค่านายหน้าให้โจทก์ที่ 2 ตามส่วนที่ตกลงจากยอดเงินที่จำเลยที่ 2 รับมาจากกลุ่มบริษัท ฮ. เท่านั้น หาใช่ต้องรับผิดชำระส่วนแบ่งจากยอดเงินร้อยละ 1 ของมูลค่าตามสัญญาไม่ และเมื่อข้อนำสืบของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเงินค่านายหน้าที่จำเลยที่ 2 รับมาทั้งหมดมีการแบ่งให้กลุ่มนายหน้า ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 2 ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่านายหน้าให้โจทก์ทั้งสองอีก ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของนายหน้าและลักษณะการแบ่งผลประโยชน์ในงานนายหน้า
ตามพยานเอกสารและข้อนำสืบของจำเลยรับฟังได้ว่า การเป็น นายหน้าคงมีแต่โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 และบุคคลอื่นร่วมกัน ทำการเป็นนายหน้าเท่านั้น โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าแต่อย่างใด ลักษณะการทำงานและ การแบ่งผลประโยชน์กันของกลุ่มนายหน้า เป็นการแบ่งหน้าที่ กันทำงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกัน ทั้งผลประโยชน์ที่จะได้ จากการทำการเป็นนายหน้าก็ตกลงเป็นอัตราส่วนของยอดเงิน ที่ได้รับมา แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็น นายหน้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ในฐานะ ผู้ว่าจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการ เป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงรับผิดชำระส่วนแบ่งค่านายหน้า ให้โจทก์ที่ 2 ตามส่วนที่ตกลงจากยอดเงินที่จำเลยที่ 2 รับมาจาก กลุ่มบริษัท ฮ. เท่านั้น หาใช่ต้องรับผิดชำระส่วนแบ่งจากยอดเงินร้อยละ 1 ของมูลค่าตามสัญญาไม่ และเมื่อข้อนำสืบ ของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเงินค่านายหน้าที่จำเลยที่ 2 รับมาทั้งหมดมีการแบ่งให้กลุ่มนายหน้า ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 2 ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่านายหน้า ให้โจทก์ทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาระจำยอมต้องสอดคล้องกับคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้มีการอ้างถึง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมจำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาว่าที่ดินจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น-สิทธิผ่านทาง-ค่าทดแทน-ขอบเขตการใช้ทาง-ประโยชน์ที่ได้รับ
เดิมโจทก์เคยใช้ทางเดินตามแนวริมคลองขวางออกไปสู่ถนนสาธารณะ แต่เมื่อทางดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นทางแล้วโจทก์จึงเปลี่ยนมาใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นทางในโครงการของจำเลย จำเลยก็กลับก่อกำแพงปิดกั้นเสียอีกจึงต้องถือว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ซึ่งโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทไปสู่ทางสาธารณะได้ ถึงแม้ทางออกซึ่งเป็นทางเดิมนั้นจะไม่มีลักษณะดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสองกล่าวคือ ต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากก็ตาม ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและโจทก์มีสิทธิใช้ได้โดยชอบโจทก์จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยเป็นเงินรายปี ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นจึงต้องใช้โดยมีขอบเขตด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงผลเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกบังคับใช้ทางจำเป็นด้วย ปรากฏว่าเดิมโจทก์เคยใช้ทางเลียบริมคลองขวางมีความกว้างเพียง 1.50 เมตรการที่โจทก์มาขอใช้ทางจำเป็นมีความกว้างถึง 2.50 เมตรจึงเกินความจำเป็นไป สมควรกำหนดให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นมีความกว้าง 1.50 เมตร เท่าทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ที่ระบุว่า ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนนจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้นั้น หมายความว่าผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นอาจชำระค่าทดแทนเป็นค่าเสียหายเพราะสร้างถนนครั้งเดียวหรืออาจชำระค่าทดแทนเป็นรายปีก็ได้ หาใช่ว่าเมื่อจำเลยได้รับประโยชน์อย่างอื่นแล้วโจทก์ผู้ใช้ทางจำเป็นก็ไม่ต้องชำระค่าทดแทนให้แก่จำเลยอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจในการประมูลทอดตลาด ไม่เป็นเหตุเพิกถอนการขาย
ป.วิ.พ. มาตรา 296
การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ดำเนินการยื่นขอซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเกินขอบอำนาจที่โจทก์ได้ให้ไว้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจซึ่งไม่มีใครสามารถล่วงรู้ และถ้าหากความจริงจะปรากฏตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เป็นเรื่องที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบต่อโจทก์โดยส่วนตัว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกับผู้รับมอบอำนาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาได้เป็นเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุที่จะอ้างเพื่อเพิกถอนการขายทอดตลาดไว้ว่า ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 296 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ตามคำร้องโจทก์อ้างว่าผู้รับมอบอำนาจเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินขอบเขตอำนาจแล้วมาขอเพิกถอน ดังนี้ จึงไม่มีข้อที่ศาลจะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ดำเนินการยื่นขอซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเกินขอบอำนาจที่โจทก์ได้ให้ไว้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจซึ่งไม่มีใครสามารถล่วงรู้ และถ้าหากความจริงจะปรากฏตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เป็นเรื่องที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบต่อโจทก์โดยส่วนตัว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกับผู้รับมอบอำนาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาได้เป็นเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุที่จะอ้างเพื่อเพิกถอนการขายทอดตลาดไว้ว่า ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 296 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ตามคำร้องโจทก์อ้างว่าผู้รับมอบอำนาจเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินขอบเขตอำนาจแล้วมาขอเพิกถอน ดังนี้ จึงไม่มีข้อที่ศาลจะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้