คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดแย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องอาญา ย่อมเป็นเหตุให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ยักยอกทรัพย์ ของห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 2 กล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน จนโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างถูกพนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาในความผิดที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึง เป็นกรณีที่มีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขาย, การขัดกันในคำให้การของจำเลย, และการไม่สมบูรณ์ของเอกสารค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลให้การว่าไม่เคยมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินการขายลดเช็คแก่โจทก์จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาโดยพลการ ส่วนจำเลยที่ 2 กลับต่อสู้ว่าไม่เคยนำเช็คมาขายให้โจทก์ แต่ถ้าทำก็ทำในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 1 จึงเป็นการขัดกันเองอยู่ในตัว
โจทก์ฟ้องคดีตามสัญญาซื้อขายซึ่งจำเลยนำเช็คมาทำสัญญาขายลดให้โจทก์ มิได้ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ในฐานะผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังจึงมีอายุความ 10 ปี
สัญญาค้ำประกันที่โจทก์อ้างเป็นการค้ำประกันในวงเงิน 150,000 บาท และ 1,500,000 บาท ซึ่งตามประมวลรัษฎากรจะต้องปิดอากรแสตมป์ฉบับละ 10 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์เพียงฉบับละ 5 บาท จึงถือได้ว่าเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้และเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากยุบงานขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
มาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มีข้อความชัดแจ้งเป็นการห้ามนายจ้างเลิกจ้างบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่เลิกจ้างเพราะเหตุที่บุคคลนั้นกระทำการตามที่ระบุไว้ การเลิกจ้างเพราะยุบงานไม่อยู่ในข้อยกเว้น จึงอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรานี้ได้ และแม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์ผู้เป็นนายจ้างกับสหภาพแรงงานที่ให้โจทก์มีสิทธิยุบงานจะใช้บังคับ ก็หามีผลให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเลิกจ้างได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 123 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนด้วยไม่
จำเลยที่ 13 ที่ 14 และ ฮ. เป็นพนักงานส่งของของโจทก์ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 13 ที่ 14 และ ฮ. เพราะโจทก์ยุบงานแผนกส่งของ แล้วจ้างเหมาบุคคลภายนอกให้ทำการขนส่งและคุมสินค้าแทนเพื่อตัดรายจ่าย เป็นกรณีไม่มีความจำเป็นเพียงพอ จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีแพ่ง: การเบิกความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่เป็นที่รับรู้
จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้องแถวที่จำเลยที่ 1 อาศัยอยู่นั้น จำเลยที่ 1 เช่ามาจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 เบิกความต่อศาลในการพิจารณาคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากห้องแถวของโจทก์ว่า ห้องแถวที่จำเลยที่ 1 เช่าอยู่เป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้อแพ้ชนะในคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เบิกความอันเป็นเท็จในข้อสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์ฐานแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ เหตุโจทก์ระบุความผิดไม่ชัดเจน ขัดแย้งกันเอง
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นสองตอน ตอนแรกว่าจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยข้อความอย่างหนึ่งตอนที่สองว่า จำเลยเบิกความต่อศาลด้วยข้อความอีกอย่างหนึ่งไม่ตรงกัน สรุปลงท้ายโจทก์บรรยายว่า จำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จเพราะความจริงเป็นดังจำเลยเบิกความต่อศาล หรือมิฉะนั้น จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จเพราะความจริงเป็นดังจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวน โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด การที่บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จหรือมิฉะนั้น จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จ เป็นฟ้องที่ขัดกันไม่ยืนยันการกระทำความผิดของจำเลยให้แน่นอน ทั้งฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงใดเป็นความเท็จข้อเท็จจริงใดเป็นความจริง การกระทำของจำเลยต้องมีข้อเท็จจริงเป็นความเท็จหรือเป็นความจริงเพียงอย่างเดียว มิใช่เป็นได้ทั้งสองอย่างดังที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องเช่นนั้นฟ้องโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2519 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 21/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ปรึกษาผู้ถือหุ้นขัดต่อ กม.แพ่งฯ และการลงชื่อนัดประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การประชุมใหญ่ที่ปรึกษาเรื่องนอกระเบียบวาระ มติซึ่งผู้ถือหุ้นลงมติให้จ่ายเงินใช้หนี้ซึ่งตนเป็นเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175,1185 ผู้ชำระบัญชีลงชื่อนัดประชุมแต่คนเดียวอีกคนหนึ่งไม่รู้เห็นด้วย ขัดต่อ มาตรา 1261 ผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิกถอนได้ตาม มาตรา 1195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปิดโรงแรมขัดดุลพินิจ: การเพิกถอนคำสั่งที่ออกโดยอธิบดีหลังศาลยกฟ้อง
อธิบดีเป็นผู้แสดงเจตนาแทนกรมตำรวจ คำสั่งปิดโรงแรมของอธิบดีเป็นคำสั่งของกรมตำรวจ ซึ่งกรมตำรวจต้องรับผิด คำสั่งปิดโรงแรมอ้างว่ามีการกระทำผิดกฎหมายในโรงแรม แต่สั่งภายหลังที่ศาลยกฟ้อง ไม่ฟังว่ามีการกระทำผิดกฎหมายในโรงแรมแล้ว เป็นคำสั่งที่ไม่มีเหตุผลอ้างเพื่อใช้ดุลพินิจเช่นนั้น ศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีขัดแย้งกับคำให้การ และการยกข้อกฎหมายที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่พิพาทเป็นของบุตรจำเลย และจำเลยได้ครอบครองดูแลแทนบุตรจำเลย แต่จำเลยกลับนำสืบพยานว่าที่พิพาทเป็นเขตคลองสาธารณะ ส่วนที่ที่จำเลยครอบครองดูแลแทนบุตรจำเลยนั้น มีเขตไม่ถึงที่พิพาท เช่นนี้ ข้อนำสืบของจำเลยจึงขัดแย้งกับคำให้การย่อมรับฟังไม่ได้
ข้อเท็จจริงที่ว่าที่พิพาทจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือได้จากเอกสารพยานที่มีกฎหมายบังคับให้คู่ความที่กล่าวอ้างต้องแสดง ดังนั้น ที่จำเลยยกขึ้นฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองและไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาจะรับมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (อ้างฎีกาที่ 1211/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีขัดแย้งกับคำให้การ และการยกข้อกฎหมายที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่พิพาทเป็นของบุตรจำเลย และจำเลยได้ครอบครองดูแลแทนบุตรจำเลย แต่จำเลยกลับนำสืบพยานว่าที่พิพาทเป็นเขตคลองสาธารณะ ส่วนที่ที่จำเลยครอบครองดูแลแทนบุตรจำเลยนั้น มีเขตไม่ถึงที่พิพาทเช่นนี้ ข้อนำสืบของจำเลยจึงขัดแย้งกับคำให้การย่อมรับฟังไม่ได้
ข้อเท็จจริงที่ว่าที่พิพาทจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือได้จากเอกสารพยานที่มีกฎหมายบังคับให้คู่ความที่กล่าวอ้างต้องแสดง ดังนั้น ที่จำเลยยกขึ้นฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองและไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาจะรับมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (อ้างฎีกาที่ 1211/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ของผู้ขายในการส่งมอบทรัพย์สินและขจัดข้อขัดแย้งก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงเบี้ยปรับจากสัญญา
หน้าที่ของจำเลยผู้ขายที่ดินและห้องแถว นอกจากจะต้องจดทะเบียนเพื่อให้การซื้อขายสมบูรณ์ มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์โอนไปยังโจทก์ผู้ซื้อแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์นั้นแก่โจทก์ โดยกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะเป็นผลให้ทรัพย์นั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 และ 462 อีกด้วย หาใช่เพียงแต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วก็ถือว่าผู้รับโอนได้เข้าครอบครองทรัพย์ทีเดียวโดยไม่ต้องมีการส่งมอบกันอีกไม่
เมื่อมีการรบกวนขัดสิทธิปรากฏขึ้นก่อนที่จะมีการโอนต่อกันก็ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ขายจะต้องขจัดเหตุนั้นให้หมดไปเสียก่อนจะบังคับให้โจทก์รับโอนไปทั้ง ๆ ที่การรบกวนขัดสิทธิดังกล่าวยังมีอยู่ไม่ได้ แม้จำเลยจะยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์ แต่เมื่อจำเลยปฏิเสธหน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยังไม่ยอมรับโอนได้ และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
การที่จำเลยได้ตกลงไว้ล่วงหน้าในสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าเสียหายในกรณีที่ตนผิดสัญญา ย่อมถือว่าเงินค่าเสียหายจำนวนที่กำหนดไว้นั้นเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาจากจำเลยได้ตามข้อตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 และ 381 โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบในเรื่องค่าเสียหาย
of 12