พบผลลัพธ์ทั้งหมด 267 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร 'หยุด' และการรับผิดของผู้เช่าซื้อรถ
เครื่องหมายจราจร "หยุด" ตามข้อกำหนดกรมตำรวจเรื่องสัญญาณจราจรฯ ข้อ 8(1) ที่ออกตามความในมาตรา 21 แห่ง พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุว่าหมายความว่ารถทุกชนิดต้องหยุดให้รถและคนเดินทางเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้วจึงให้เคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง ดังนั้นเมื่อตรงบริเวณสี่แยกที่เกิดเหตุในทางเดินรถของจำเลยที่ 1 มีเครื่องหมายจราจร"หยุด" ปักอยู่ข้างถนนแต่จำเลยที่ 1 ไม่หยุดรถยนต์เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยหรือหยุดรอให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์มาในทางขวางหน้าที่ไม่มีเครื่องหมายจราจร "หยุด" ผ่านไปก่อน เมื่อรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับตรงบริเวณสี่แยกดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาท พยานโจทก์อยู่ในวิสัยที่จะเบิกความระบุชื่อปรักปรำจำเลยทั้งสองได้ตั้งแต่ชั้นสอบสวนหรือในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นแต่พยานโจทก์เพียงเบิกความเป็นกลาง ๆ ว่าเห็นชาย 1 คนหญิง 1 คนลงจากรถยนต์คันเกิดเหตุหลบหนีไปย่อมบ่งชี้ให้เชื่อได้ว่าพยานโจทก์เบิกความด้วยความสัตย์จริงตามที่เห็นเหตุการณ์เมื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุและจำเลยที่ 2 เคยมอบเงินจำนวน 1,000 บาท ให้แก่ ศ. มาแล้ว มีเหตุให้เชื่อได้ว่าชายคนที่ลงจากรถยนต์คันเกิดเหตุคือจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5579/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาททางขับรถ: ข้อเท็จจริงในฟ้องต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ประมาทแซงรถยนต์ของผู้อื่นด้วยความเร็วสูงเข้าไปในช่องเดินรถด้านขวา เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ที่ ร.ขับสวนทางมาทำให้ร. ได้รับอันตรายแก่กายและโจทก์ร่วมซึ่งนั่งซ้อนท้ายได้รับอันตรายสาหัส ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ก่อนเกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน จำเลยมิได้ขับรถยนต์แซงรถยนต์คันอื่น แต่จำเลยคาดผิดคิดว่า ร. ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้าน จำเลยจึงขับรถเบนออกทางขวาเพื่อให้รถจักรยานยนต์ของ ร. เลี้ยวพ้นไปได้โดยจำเลยไม่ต้องหยุดรถแต่ ร.ไม่ได้เลี้ยวรถดังที่จำเลยคาด จำเลยเหยียบเบรก แต่ไม่พ้นเพราะจำเลยขับรถด้วยความเร็ว เหตุเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่คาดผิดและขับรถด้วยความเร็ว ดังนี้แม้ทางพิจารณาที่ศาลชั้นต้นฟังมาจะไม่ได้ความว่าจำเลยขับรถแซงรถยนต์คันอื่น แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นนำมารับฟังว่าเป็นความประมาทของจำเลยประการหนึ่งคือการที่จำเลยขับรถด้วยความเร็วนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องด้วย จึงมิใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องเสียทั้งหมด อันเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ ผู้ขับขี่ต้องสังเกตผู้ใช้ถนน แม้ผู้ตายมีสภาพไม่ปกติ
แม้ผู้ตายเมาสุราไม่สามารถครองสติได้ แต่เมื่อผู้ตายเดินโซเซข้ามถนนมาย่อมไม่ว่องไวเหมือนบุคคลธรรมดา ผู้ตายเดินผ่านช่องเดินรถได้ถึง 2 ช่อง แล้วถูกรถที่จำเลยขับชนในช่องที่ 3 หากจำเลยขับรถด้วยความระมัดระวังจะต้องสังเกตเห็นผู้ตายกำลังเดินข้ามถนนอยู่ข้างหน้าในระยะไกล สามารถหลีกเลี่ยงภยันตรายไม่ให้เกิดขึ้นได้ การที่จำเลยขับรถชนผู้ตายถือว่าเป็นความประมาทของจำเลย หาใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4416/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทขับรถทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัสและการหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่า การที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีโดยจำเลยได้หลบหนีไปจากที่เกิดเหตุอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสองได้ และปัญหาข้อนี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4151/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถแซงและชนท้าย ส่งผลถึงความรับผิดทางอาญา
การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงตามหลังรถจักรยานยนต์ ผู้ตายโดยไม่เว้นระยะให้ห่างพอที่จะหยุดหรือหลบหลีกได้ทันเมื่อมีเหตุจำเป็นและขณะแซงก็มิได้ให้สัญญาณจนเป็นเหตุให้รถจำเลยพุ่งเข้าชนรถผู้ตายขณะเลี้ยวขวาข้ามถนนตัดหน้ารถจำเลย ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยจึงมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขับรถ ชนกันเนื่องจากจักรยานยนต์ตัดหน้า จำเลยที่ 1 ไม่ประมาท
แม้จำเลยที่ 1 จะขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่ทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับมีรอยห้ามล้อของรถยนต์ก่อนถึงจุดชนเป็นระยะทางประมาณ 6 เมตร ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้พยายามหยุดรถยนต์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการชนกันขึ้น แต่สาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวตัดหน้ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับในระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยที่ 1จะหยุดรถได้ทัน กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ไม่อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ การที่รถทั้งสองคันเกิดชนกันจึงหาได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถและการลดโทษจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ชนกันโดยประมาททำให้ผู้โดยสารในรถถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์-พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้งสองประมาท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 หนักเกินไป เห็นควรแก้ไขให้เหมาะสม และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสองเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปช่วยเป็นค่าปลงศพ และค่ามนุษยธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาโดยกำหนดโทษให้เบาลงอีกไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถชนกัน ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ศาลแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ชนกันโดยประมาททำให้ผู้โดยสารในรถถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้งสองประมาท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 หนักเกินไป เห็นควรแก้ไขให้เหมาะสม และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสองเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปช่วยเป็นค่าปลงศพและค่ามนุษยธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาโดยกำหนดโทษให้เบาลงอีกไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ การเลี้ยวตัดหน้ารถคันอื่น และการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัย
ทางเดินรถในถนนพหลโยธินทั้งทางด้านขาเข้าและขาออกจากกรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 2 ช่องเดินรถ ระหว่างทางเดินรถขาเข้ากับขาออกจะเว้นช่องว่างไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อเป็นทางข้ามให้รถแล่นเลี้ยวไปสู่ทางเดินรถอีกด้านหนึ่งได้ รถยนต์บรรทุกแล่นในทางเดินรถด้านขาออก ถ้าหากจะเลี้ยวขวาเข้าไปในทางเดินรถด้านขาเข้า ตามปกติจะต้องแล่นในช่องเดินรถทางขวาเพื่อจะไม่ต้องเลี้ยวตัดหน้ารถคันอื่นการที่รถยนต์บรรทุกแล่นในช่องเดินรถทางซ้ายของทางเดินรถขาออกและเลี้ยวขวาข้ามช่องเดินรถทางขวาเพื่อจะเข้าไปในช่องว่างทางข้ามไปสู่ทางเดินรถขาเข้าโดยกระชั้นชิดและกะทันหันตัดหน้ารถยนต์เก๋งย่อมทำให้รถยนต์เก๋งไม่สามารถจะหยุดได้ทัน ถือได้ว่าคนขับรถยนต์บรรทุกกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง เพราะถ้าหากรถยนต์บรรทุกจะใช้ความระมัดระวังไม่รีบเลี้ยวขวาโดยทันทีโดยขับรถตรงไปก่อน ขอทางชิดขวาแล้วไปเลี้ยวขวาในช่องว่างทางข้ามช่องต่อไปก็ย่อมจะทำได้โดยปลอดภัย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าฝ่ายรถยนต์เก๋งประมาทเลินเล่ออย่างใด ดังนี้ถือว่าคนขับรถยนต์บรรทุกเป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย ฐานะของโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปจึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยให้นับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน แต่เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าได้ชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวทั้งหมดหรือครั้งสุดท้ายไปเมื่อใดแน่ ศาลเห็นสมควรกำหนดให้แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถทางแยก: การประเมินความรับผิดของผู้ขับขี่และหลักการใช้มาตรา 71(2) พ.ร.บ.จราจรทางบก
จำเลยที่ 1 ขับรถมาถึงทางร่วมทางแยกก่อนรถโจทก์ จะนำมาตรา 71(2) พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามบทมาตราดังกล่าวเป็นกรณีที่รถมาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และตามมาตรา 51(2)(จ) ก็เป็นกรณีเมื่อรถอยู่ในทางร่วมทางแยกต้องให้รถที่สวนมาในทางเดินรถเดียวกันผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงให้เลี้ยวขวาไปได้ มิใช่กรณีการเดินรถในถนนคนละสาย.