พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่บนที่ดินพิพาทเดิมหลังคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
เมื่อปี 2517 โจทก์ฟ้องขับไล่สามีจำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 ของโจทก์ซึ่งให้สามีจำเลยเช่า สามีจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สามีจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ ไม่ใช่ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของสามีจำเลย และอยู่นอกเขตโฉนดเลขที่ 2021 โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ให้ยกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ออกจากที่ดินพิพาทอีกนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในคดีนี้เป็นภรรยาของจำเลยในคดีก่อนและได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทกับจำเลยในคดีก่อนตลอดมาจนกระทั่งจำเลยในคดีก่อนถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยในคดีนี้ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมา จำเลยในคดีนี้จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากจำเลยในคดีก่อน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และโจทก์มีสิทธิขับไล่จำเลยออกจากอาคาร
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าหนังสือสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่นั้นย่อมครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่าหนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่ามีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการทรัพย์สินพ.ศ.2529ข้อ12ระบุว่าการให้เช่าทรัพย์สินต้องมีเงื่อนไขดังนี้ "(1)ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน3ปีให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น(2)ระยะเวลาการเช่าเกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งเกิน3ปีให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น"ซึ่งข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่9พฤษภาคม2529แล้วการที่ส. ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครทำหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่7ตุลาคม2529ให้ว. ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจำเลยตามเอกสารหมายจ.1และทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าอาคารพิพาทตามหนังสือสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าเอกสารหมายจ.2และจ.3ลงวันที่20พฤศจิกายน2529ซึ่งเป็นวันที่ทำหลังจากวันที่9พฤษภาคม2529แล้วและรวมทั้งได้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยทรัพย์สินพ.ศ.2525ข้อ12ว่า"การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่นโดยมีเงื่อนไขดังนี้(1)การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าไม่เกิน1ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน1ปีให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร(2)การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน1ปีแต่ไม่เกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน3ปีให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(3)การให้เช่าทรัพย์ของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยข้อ13ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่สมควรยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้รายงานขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรายๆไป"และระเบียบกรุงเทพมหานครนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1มกราคมพ.ศ.2525เป็นต้นไปดังนั้นเมื่ออาคารพิพาทเป็นของกรุงเทพมหานครโจทก์แล้วส. ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครจึงจะนำอาคารพิพาทของโจทก์ไปให้จำเลยเช่าและทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา15ปีโดยลำพังหาได้ไม่หนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่าที่ส. ทำกับจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลและผลกระทบต่ออำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ล.บุตรสาวจำเลย เดิม ล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน โจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้น ล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ ล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส ระหว่างเวลาดังกล่าว มีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โจทก์กับ ล.จึงเป็นเจ้าของร่วม การที่ ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริง อันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคาร การจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับ ล.ในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้น เป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลทำให้โมฆะ เจ้าของร่วมมีสิทธิเข้าอยู่อาศัย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของล.บุตรสาวจำเลยเดิมล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากันโจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้นล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาจำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรสระหว่างเวลาดังกล่าวมีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โจทก์กับล.จึงเป็นเจ้าของร่วมการที่ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริงอันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคารการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา156กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับล.ในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้นเป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าล่วงหน้าเกิน 4,000 บาท ไม่ขัดขวางสิทธิอุทธรณ์คดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่า ค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทและผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้ว เมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วย เงินกินเปล่ามีจำนวน 2,000,000 บาท กำหนดเวลาเช่า11 ปี 6 เดือน คิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 14,492.75 บาทเมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75 บาท ในขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้อง หรือเป็นจำนวนเงิน2,000,000 บาท ตามที่จำเลยอ้าง กรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา 94(ข) เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าที่แท้จริงเกินสี่พันบาท ไม่ขัดขวางสิทธิอุทธรณ์คดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่าค่าเช่าเดือนละ1,000บาทและผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้วเมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วยเงินกินเปล่ามีจำนวน2,000,000บาทกำหนดเวลาเช่า11ปี6เดือนคิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ14,492.75บาทเมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ1,000บาทจึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75บาทในขณะยื่นคำฟ้องซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000บาทตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องหรือเป็นจำนวนเงิน2,000,000บาทตามที่จำเลยอ้างกรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา94(ข)เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการซื้อขายที่ดินชอบด้วยกฎหมาย แม้มีนโยบายรัฐบาลเปลี่ยนแปลง
ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าระบุไว้ชัดเจนว่า ส.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปยังจำเลยในฐานะที่ ส.ได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โจทก์ร่วม โดยขอให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกจากอาคารที่เช่า และส่งมอบอาคารที่เช่าคืนแก่โจทก์ร่วม ทั้ง ส.ลงลายมือชื่อไว้ถูกต้องถึงแม้ ส.จะระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม และสถานที่ออกหนังสือที่สำนักสวัสดิการสังคม ตลอดจนออกเลขที่หนังสือของหน่วยราชการดังกล่าวก็ตาม ก็ถือได้ว่า ส.ได้บอกเลิกสัญญาเช่าตามที่โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้กระทำแทนแล้ว เมื่อจำเลยผู้เช่าได้รับหนังสือดังกล่าวย่อมถือได้ว่าโจทก์ร่วมได้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยและมีผลตามกฎหมายแล้ว โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
การเคหะแห่งชาติและโจทก์ร่วมต่างเป็นนิติบุคคล ย่อมมีสิทธิที่จะกระทำนิติกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างการเคหะแห่งชาติและโจทก์ร่วมได้ทำเป็นหนังสือแและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่การเคหะแห่งชาติซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปจากกรมประชาสงเคราะห์และต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้แก่โจทก์ร่วม แล้วโจทก์ร่วมทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินเพื่อนำไปทำสวนสาธารณะ แม้จะเป็นการขัดต่อนโยบายของรัฐบาลสมัยที่มุ่งสงเคราะห์ที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยก็ตาม แต่เมื่อนโยบายรัฐบาลย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย การที่รัฐบาลและโจทก์จะนำที่ดินไปทำสวนสาธารณะย่อมเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ สัญญาซื้อขายระหว่างการเคหะแห่งชาติกับโจทก์ร่วมจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาทและโจทก์ร่วมเจ้าของที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและเรียกค่าเสียหายในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน มิใช่เป็นการฟ้องให้บังคับตามสัญญาเช่า โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ แม้ว่าการเช่าอาคารพิพาทระหว่างการเคหะแห่งชาติกับจำเลยที่ 1 จะไม่มีสัญญาเช่า และไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม
การเคหะแห่งชาติและโจทก์ร่วมต่างเป็นนิติบุคคล ย่อมมีสิทธิที่จะกระทำนิติกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างการเคหะแห่งชาติและโจทก์ร่วมได้ทำเป็นหนังสือแและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่การเคหะแห่งชาติซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปจากกรมประชาสงเคราะห์และต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้แก่โจทก์ร่วม แล้วโจทก์ร่วมทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินเพื่อนำไปทำสวนสาธารณะ แม้จะเป็นการขัดต่อนโยบายของรัฐบาลสมัยที่มุ่งสงเคราะห์ที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยก็ตาม แต่เมื่อนโยบายรัฐบาลย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย การที่รัฐบาลและโจทก์จะนำที่ดินไปทำสวนสาธารณะย่อมเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ สัญญาซื้อขายระหว่างการเคหะแห่งชาติกับโจทก์ร่วมจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาทและโจทก์ร่วมเจ้าของที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและเรียกค่าเสียหายในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน มิใช่เป็นการฟ้องให้บังคับตามสัญญาเช่า โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ แม้ว่าการเช่าอาคารพิพาทระหว่างการเคหะแห่งชาติกับจำเลยที่ 1 จะไม่มีสัญญาเช่า และไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการบังคับตามสัญญาเช่า, สัญญาซื้อขายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าระบุไว้ชัดเจนว่า ส.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปยังจำเลยในฐานะที่ส.ได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โจทก์ร่วมโดยขอให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารที่เช่าคืนแก่โจทก์ร่วม ทั้งส.ลงลายมือชื่อไว้ถูกต้องถึงแม้ ส. จะระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม และสถานที่ออกหนังสือที่สำนักสวัสดิการสังคมตลอดจนออกเลขที่หนังสือของหน่วยราชการดังกล่าวก็ตาม ก็ถือได้ว่าส. ได้บอกเลิกสัญญาเช่าตามที่โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้กระทำแทนแล้วเมื่อจำเลยผู้เช่าได้รับหนังสือดังกล่าวย่อมถือได้ว่าโจทก์ร่วมได้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยและมีผลตามกฎหมายแล้วโจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ การเคหะแห่งชาติและโจทก์ร่วมต่างเป็นนิติบุคคล ย่อมมีสิทธิที่จะกระทำนิติกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างการเคหะแห่งชาติและโจทก์ร่วมได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่การเคหะแห่งชาติซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปจากกรมประชาสงเคราะห์และต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้แก่โจทก์ร่วม แล้วโจทก์ร่วมทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินเพื่อนำไปทำสวนสาธารณะ แม้จะเป็นการขัดต่อนโยบายของรัฐบาลสมัยที่มุ่งสงเคราะห์ที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยก็ตามแต่เมื่อนโยบายรัฐบาลย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย การที่รัฐบาลและโจทก์จะนำที่ดินไปทำสวนสาธารณะย่อมเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ สัญญาซื้อขายระหว่างการเคหะแห่งชาติกับโจทก์ร่วมจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาทและโจทก์ร่วมเจ้าของที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและเรียกค่าเสียหายในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนมิใช่เป็นการฟ้องให้บังคับตามสัญญาเช่า โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ แม้ว่าการเช่าอาคารพิพาทระหว่างการเคหะแห่งชาติกับจำเลยที่ 1 จะไม่มีสัญญาเช่า และไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จากการขายทอดตลาด: สิทธิของโจทก์ในการขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลย คู่ความรับกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านของจำเลยถูกบังคับคดีโดยนำออกขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านของจำเลยจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยมีคำโต้แย้งคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีกระทำโดยมิชอบ ขอให้เพิกถอน อันเป็นข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยชี้ขาดตามประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านที่โจทก์ซื้อมาได้หรือไม่ หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้ ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้อง หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ ศาลย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ซึ่งค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมแก่รูปคดี เนื่องจากโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เสียหายเดือนละ30,000 บาท โดยโจทก์คาดว่าหากนำที่ดินและบ้านออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 30,000 บาท และจำเลยให้การว่า โจทก์ไม่เสียหายหากเสียหายจริงก็ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท โดยต่างฝ่ายต่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แน่นอนขึ้นสนับสนุนข้ออ้างและข้อเถียงของฝ่ายตน คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาจนเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ ในขณะที่ยังไม่มีข้อคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีดังกล่าวไม่ชอบ ต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านโดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินพร้อมบ้านเนื่องจากจำเลยและบริวารยังคงอยู่ในที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวอันเป็นการขัดขวางโต้แย้งการใช้สิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและบ้านได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวว่าไม่ชอบและขอให้เพิกถอนก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างคัดค้านของตนในคดีเดิมจนปรากฏเป็นความจริงและศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลให้การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดของโจทก์ถูกเพิกถอนไปด้วย ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีถึงที่สุด การที่จำเลยและบริวารยังอยู่ในที่ดินและบ้านหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านจากการขายทอดตลาดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้ จึงถือว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของรวม: เจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรวมคนอื่น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ให้อำนาจเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด การใช้สิทธิดังกล่าวรวมถึงการใช้สิทธิทางศาลด้วย เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาท โจทก์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ และนาง ล. กับนาง ส. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่นจะมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากสามีหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญจักต้องวินิจฉัย โจทก์มีอำนาจฟ้อง