พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิดทางแพ่ง: ผลกระทบต่อจำเลยร่วมที่ไม่ยกข้อต่อสู้ และการรับผิดในทางการจ้าง
จำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดีเพราะจำเลยขอให้หมายเรียกเข้ามา แต่มูลความแห่งคดีมิใช่เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่จำเลยร่วมที่ 2 ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193 (193/29 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิดทางแพ่ง: ผลกระทบต่อจำเลยร่วมที่ไม่ยกข้อต่อสู้
จำเลยร่วมที่2เข้ามาในคดีเพราะจำเลยขอให้หมายเรียกเข้ามาแต่มูลความแห่งคดีมิใช่เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้จำเลยและจำเลยร่วมที่1ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแต่จำเลยร่วมที่2ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193(193/29ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า: จำเลยฎีกาขัดแย้งกับข้อต่อสู้ในชั้นศาลล่าง
ตามคำให้การจำเลยยืนยันว่าได้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้โจทก์แล้วและนับจากวันดังกล่าวถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ล่วงเลยกำหนด1ปีจึงขาดอายุความแสดงว่าจำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันส่งมอบเท่านั้นมิได้ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่ควรจะได้ส่งมอบที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันที่ควรจะได้ส่งมอบสินค้าจึงเป็นฎีกาในข้อที่จำเลยมิได้ให้การไว้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อต่อสู้เรื่องการรับผิดชอบในคดีอื่น
การที่จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 5รับผิดเป็นคดีอื่นซึ่งมีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 5 ต้องรับผิดแล้วจำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในคดีนี้อีกนั้น จำเลยที่ 5 ต้องมีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 มิใช่เพียงให้การไว้ลอย ๆ โดยไม่สืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10224/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะค่าเสียหายตามฟ้อง ไม่ใช่ข้อต่อสู้ของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์จากโจทก์และจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ ๑ ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นเหตุให้สัญญาเช่าซื้อระงับสิ้นไปขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ หากส่งมอบคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนให้ใช้ค่าขาดประโยชน์ และค่าเสียหาย จำเลยที่ ๑ ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ ๒ ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง ฉะนั้น ประเด็นเรื่องค่าเสียหายของโจทก์มีหรือไม่เพียงใดจึงเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ดังกล่าวเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาค้ำประกันตามฟ้องข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองที่ว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแก่โจทก์จึงเป็นอันตกไป จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ส่วนจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเพียงใดนั้น ก็ต้องพิจารณาจากค่าเสียหายตามฟ้องโจทก์ว่าสมควรให้จำเลยทั้งสองรับผิดแก่โจทก์เพียงใด จะนำข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองมาวินิจฉัยเพื่อเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หาได้ไม่ เพราะประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้หามีไม่ ที่ศาลชั้นต้นนำมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วฟังว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย พิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและอายุความ: ผลของการให้ความยินยอมโดยไม่อิดเอื้อนต่อการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ
ขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของจากจำเลยซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไป โดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้สัญญากู้ไม่สมบูรณ์: จำเลยมีสิทธิสืบพยานได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินและไม่เคยรับเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้ เงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์เป็นค่ามัดจำที่โจทก์ซื้อที่ดินของจำเลย แต่ตกลงกันทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้เพราะหากจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้ ยอมให้โจทก์บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อเรียกค่ามัดจำคืนจำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าทำประโยชน์แล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินที่เหลือตามกำหนด จำเลยจึงบอกเลิกการขายที่ดินและริบเงินมัดจำ โจทก์จะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ ตามคำให้การของจำเลยเท่ากับต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลเข้าสืบตามข้อต่อสู้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, อำนาจฟ้อง, และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปทำการแบ่งแยกและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วนเท่าๆกันจำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อราคาที่ดินทั้งหมดซึ่งเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง คำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดที่พิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินแก่จำเลยร่วมไม่ใช่คำพิพากษาที่ได้แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่ดินอันจะมีผลผูกพันบุคคลภายนอกคดีจึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยและจำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อลงในทะเบียนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของจำเลยและจำเลยร่วม กำหนดเวลาให้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375ไม่ใช่เรื่องอายุความแต่เป็นกำหนดเวลาสำหรับฟ้องคดีหากโจทก์ทั้งสามถูกแย่งการครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์และไม่ได้ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ย่อมเสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินทันทีซึ่งเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยและจำเลยร่วมจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยและจำเลยร่วมก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสองการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยเห็นว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จไม่รวมค่าครองชีพ – อุทธรณ์ไม่ชอบ หากมิได้ยกข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ระเบียบเงินบำเหน็จขัดต่อประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น โจทก์มิได้กล่าวเรื่องนี้มาในคำฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานแม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
ระเบียบเงินบำเหน็จของจำเลยได้ให้คำนิยาม เงินบำเหน็จว่าเงินตอบแทนที่จำเลยจ่ายให้พนักงานเมื่อออกจากงาน เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานนอกเหนือไปจากค่าจ้างตามที่กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานบัญญัติไว้ และตามระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดวิธีคำนวณเงินบำเหน็จว่า ให้เอาเงินเดือนเดือนสุดท้ายตั้ง แล้วคูณด้วยจำนวนปีและเศษของปีตามปฏิทินของเวลาทำงาน ทั้งได้ให้คำจำกัดความคำว่า เงินเดือน ไว้ว่า หมายถึง เงินเดือนหรือค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานแต่ละคน เป็นรายเดือนหรือรายงวด จะเห็นว่า ถ้อยคำคำว่า เงินเดือน ในระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดให้หมายถึงเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงเท่านั้น หาได้มีความหมายให้นำประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกจ้างได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานเข้ามารวมเป็นเงินเดือนด้วยไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินเดือนตามระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวจึงไม่รวมถึงเงินค่าครองชีพ จะนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จหาได้ไม่
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระเบียบเงินบำเหน็จของจำเลยได้ให้คำนิยาม เงินบำเหน็จว่าเงินตอบแทนที่จำเลยจ่ายให้พนักงานเมื่อออกจากงาน เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานนอกเหนือไปจากค่าจ้างตามที่กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานบัญญัติไว้ และตามระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดวิธีคำนวณเงินบำเหน็จว่า ให้เอาเงินเดือนเดือนสุดท้ายตั้ง แล้วคูณด้วยจำนวนปีและเศษของปีตามปฏิทินของเวลาทำงาน ทั้งได้ให้คำจำกัดความคำว่า เงินเดือน ไว้ว่า หมายถึง เงินเดือนหรือค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานแต่ละคน เป็นรายเดือนหรือรายงวด จะเห็นว่า ถ้อยคำคำว่า เงินเดือน ในระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดให้หมายถึงเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงเท่านั้น หาได้มีความหมายให้นำประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกจ้างได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานเข้ามารวมเป็นเงินเดือนด้วยไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินเดือนตามระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวจึงไม่รวมถึงเงินค่าครองชีพ จะนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จหาได้ไม่
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุแก้ต่างนอกคำให้การในคดีค้ำประกัน ศาลจำกัดเฉพาะข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นในชั้นต้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันบริษัทซ.ลูกหนี้ชั้นต้นของโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์โดยบรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมทั้งหลักฐานการเป็นหนี้ส่งไปยังจำเลยจำเลยรับแจ้งการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่จำเลยค้ำประกันไว้แต่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้ส่วนหนึ่งขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่แจ้งไปตามสัญญาค้ำประกันจำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์อ้างจริงแต่ไม่ต้องรับผิดในหนี้บางจำนวนกล่าวคือใบส่งของบางฉบับไม่ระบุวันที่รับสินค้าใบส่งของบางฉบับไม่ระบุหลักฐานการลงนามรับสินค้าและวันที่รับสินค้าและหนี้บางรายการไม่ปรากฏใบส่งของจำเลยจึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะชำระหนี้เฉพาะที่มีหลักฐานถูกต้องครบถ้วนเท่านั้นจะเห็นได้ว่าคำให้การได้ยกเหตุแห่งการปฏิเสธหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดแจ้งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา177วรรคสองแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อที่2ว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใดแต่การวินิจฉัยคดีในประเด็นดังกล่าวก็จำกัดอยู่แต่ในข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นหากนำเหตุอื่นมาวินิจฉัยคดีก็จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นซึ่งไม่อาจกระทำได้ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพราะมีสินค้าบางส่วนที่โจทก์ได้รับคืนไปแล้วและบางส่วนโจทก์ได้รับชดใช้ราคาไปแล้วก็ดีกับข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นแล้วทำให้หนี้สินระงับไปจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดก็ดีล้วนแต่เป็นข้อทีมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่ายมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบในเชิงคดีข้อที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่าขณะที่จำเลยยื่นคำให้การจำเลยพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะเมื่อมีการคืนสินค้าบางส่วนชำระราคาและปลดหนี้ให้แล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีกและพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวขึ้นกล่าวในคำให้การเพราะจำเลยเพิ่งทราบภายหลังนั้นไม่ถูกต้องเพราะกฎหมายได้ให้โอกาสที่จำเลยจะสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีก่อนที่จำเลยจะยื่นคำให้การแล้วทั้งปัญหาว่าลูกหนี้ชั้นต้นเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใดก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างเหตุนี้ปฏิเสธหนี้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่กรณีที่มีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง