คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อผิดพลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บภาษีอากรและการมีส่วนร่วมของบุคคลภายนอกในคดีภาษี โดยศาลมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดแม้ไม่มีการฎีกา
โจทก์ฟ้องเรียกภาษีอากรจากจำเลยผู้นำของเข้า จำเลยต่อสู้ว่าสินค้ารายพิพาทบริษัท ส. สั่งจากประเทศญี่ปุ่นไม่ตรงตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี อนุมัติ ต่อมาคณะกรรมการ ดังกล่าวได้มีมติกลับมติเดิมให้เรียกเก็บภาษีอากรรายนี้ ก็หาใช่เป็นเหตุโดยตรงให้จำเลยถูกฟ้องเรียกภาษีอากรเป็นคดีนี้ไม่ เพราะจำเลยเป็นผู้นำเข้าสินค้าบริษัท ส. ก็ดี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรีก็ดีไม่ได้มีส่วนในการนำเข้าสินค้ารายพิพาท จำเลยไม่อาจฟ้องบริษัท ส. หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือถูกฟ้องไล่เบี้ยอันเนื่องมาจากการเสียภาษีอากรของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกบริษัท ส. หรือสำนักนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มมากไปกว่าที่จำเลยต้องชำระก็ดี หรือให้เสียดอกเบี้ยโดยที่จำเลยไม่มีความรับผิดตามกฎหมายที่ต้องเสียก็ดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินค่าขึ้นศาลก่อนกำหนด ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แม้จะเกิดข้อผิดพลาดในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่
จำเลยได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่ยังขาดมาวางศาลตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ก่อนวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มิได้เพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร แสดงว่ากำหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคำสั่งให้ทราบโดยชอบแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ทิ้งฟ้องตามมาตรา 174 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาจะซื้อขายที่ผิดพลาด: ศาลมีอำนาจบังคับตามเนื้อหาที่ถูกต้องแม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างให้โจทก์โอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่กว้าง 20 วา ยาว 20 วา ให้แก่จำเลยตาม ฟ้องแย้งตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทได้ความชัดว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วายาว80 วา ซึ่งคิดเนื้อที่ได้ 4 ไร่พอดี คำขอตามฟ้องแย้ง ที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว60 วาก็ดี คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว20 วาก็ดี เห็น ได้ชัดว่าด้านยาวพิมพ์ตัวเลขผิดไป แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไป ตามที่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นหลักฐานแห่งฟ้องแย้งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท แม้มีข้อผิดพลาดในคำพิพากษา ศาลมีอำนาจบังคับตามเนื้อหาที่ถูกต้องได้
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างให้โจทก์โอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วา ยาว 20 วา ให้แก่จำเลยตาม ฟ้องแย้งตามสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทได้ความชัดว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่ กว้าง 20 วา ยาว80 วา ซึ่งคิดเนื้อที่ได้ 4 ไร่พอดี คำขอตามฟ้องแย้ง ที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว60 วาก็ดี คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินโดยวัดความกว้าง 20 วา ความยาว 20 วาก็ดี เห็น ได้ชัดว่าด้านยาวพิมพ์ตัวเลขผิดไป แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีไป ตามที่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นหลักฐานแห่งฟ้องแย้งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาโดยมีข้อผิดพลาดเรื่องวันเกิดเหตุ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นการฟ้องล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสและกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก ปรากฏในบันทึกคำฟ้องของศาลว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 มิถุนายน 2524 อันเป็นวันภายหลังที่โจทก์ฟ้อง แต่ปรากฏตามบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายและคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2524 และต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2524 จำเลยมอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน ในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยก็ยังได้ยื่นคำร้องยอมรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริง แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของจำเลยทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ การที่ศาลบันทึกวันกระทำผิดของจำเลยผิดพลาดไปเป็นเรื่องของความพลั้งเผลอจึงหาใช่เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้องไม่ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันโจทก์ในคดีที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากข้อผิดพลาดเดียวกัน
โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยพิมพ์ฉลากสำหรับใช้ปิดสับปะรดกระป๋อง จำเลยได้ส่งมอบฉลากให้โจทก์รับไปแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ชำระค่าจ้างพิมพ์ฉลากให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้ยื่นฟ้องขอให้ศาลบังคับโจทก์ชำระเงินค่าจ้างพิมพ์ฉลาก โจทก์ให้การต่อสู้ว่าจำเลยพิมพ์ฉลากไม่ตรงตามตัวอย่างเป็นการผิดสัญญา และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหาย ฐานผิดสัญญาพิมพ์ฉลากไม่เหมือนตัวอย่างเป็นคดีนี้ มูลกรณีที่โจทก์ถูกจำเลยฟ้อง จึงเป็นมูลคดีเดียวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนศาลพิจารณาพิพากษารวมกันเมื่อคดีแรกศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้พิมพ์ฉลากถูกต้องตามความประสงค์ของโจทก์ มิได้ผิดสัญญาคดีถึงที่สุดแล้ว ผลแห่งคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะฎีกาในคดีนี้ว่าจำเลยพิมพ์ฉลากไม่ตรงตามตัวอย่าง เป็นการผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว ก็สามารถกระทำได้หากพบข้อผิดพลาด
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อนได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขการประเมินภาษีภายใน 5 ปี แม้จะมีการประเมินและชำระภาษีไปแล้ว หากพบข้อผิดพลาดในการแสดงรายการ
การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานประเมินในคดีก่อน ได้คิดจากยอดภาษีจำนวนหนึ่งที่ได้ประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(2)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งยังไม่ถูกต้องแต่การคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้ครั้งพิพาทนี้ได้คิดจากยอดเงินภาษีอีกจำนวนหนึ่ง.ซึ่งได้แก้การประเมินให้โจทก์เสียตามมาตรา 48(1) โดยได้คิดหักเงินภาษีที่โจทก์ได้ชำระจากการประเมินครั้งแรกออกหมดแล้วฉะนั้น การคิดเงินเพิ่มภาษีในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นการคิดจากยอดเงินภาษีคนละจำนวนกัน ทั้งในคดีก่อนก็มีประเด็นวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์จะของดหรือลดเงินเพิ่มลงได้บ้างหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจากยอดเงินได้จำนวนเดียวกันโจทก์ควรต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ ดังนี้ อำนาจในการคิดเงินเพิ่มภาษีเงินได้รายนี้จึงหาได้ยุติไปตามคำพิพากษาในคดีก่อนไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่ยื่นรายการโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงอันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะแก้การประเมินให้ถูกต้องได้ และอำนาจแก้การประเมินก็หาจำเป็นที่จำนวนเงินได้เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่ และแม้ผู้ยื่นรายการจะได้เสียภาษีตามที่ประเมินไปแล้ว แต่ถ้ายังอยู่ในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินก็ยังมีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันต่อข้อผิดพลาดเรื่องเขตอำนาจศาล และการยกฟ้องกรณีพยานหลักฐานไม่พอฟัง
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลและส่งคำฟ้องให้จำเลยแล้ว จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีทุกประเด็น ได้มีการชี้สองสถานและศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณามาโดยตลอดจนกระทั่ง มีคำพิพากษา จำเลยไม่เคยโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาล ถือว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยจะยกปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยศาล: การหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนและการสันนิษฐานซ้อนสันนิษฐาน
โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนขึ้นวินิจฉัย และทำการสันนิษฐานซ้อนสันนิษฐานหลายประการขึ้นอ้าง โดยมิได้กล่าวให้ชัดว่าได้แก่การรับฟังข้อความใดบ้างและข้อวินิจฉัยใดบ้าง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง และ มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
of 13