พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดิน: เมื่อหลักฐานไม่ชัดเจน ศาลแบ่งกรรมสิทธิ์ให้ทั้งสองฝ่าย
โจทก์และจำเลยต่างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานแสดงสิทธิสำหรับที่ดินของตนโดยเจ้าพนักงานออกให้ในวันเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างนำชี้เขตที่ดินพิพาทไม่ตรงกับรูปแผนที่ดินและเนื้อที่ดินใน น.ส.3 ก. ของตน รวมทั้งแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศ เมื่อแผนที่ที่ดินพิพาททำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตรงตามแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศและแผนที่ที่ดินใน น.ส.3 ก. ของโจทก์จำเลย จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้เขตที่ดินทับกันอยู่ในเขตที่ดินของฝ่ายใดกันแน่ เมื่อพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดเนื่องจากที่ดินอยู่ติดกัน และมีการชี้เขตที่ดินของตนสับสนเกินเลยเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่อาจชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เนื้อที่เท่าไร จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดครอบครองไว้เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน และเมื่อไม่อาจครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันได้ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก กรณีมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
คดีนี้เป็นคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ตามคำร้องหรือไม่เท่านั้นแม้ผู้คัดค้านทั้งสองคัดค้านว่าที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้าน แต่เมื่อปรากฏในเบื้องต้นว่าที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) มีชื่อ ส.เป็นผู้แจ้งการครอบครอง และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)มีชื่อ ส.เป็นผู้ทำประโยชน์ ผู้คัดค้านเคยไปขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แต่มี ว.ไปคัดค้าน เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงระงับการออกโฉนดไว้ กรณีพอถือได้ว่าการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของ ส. ทั้งผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา1718 ก็มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน: การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้และดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม10,000 บาท รวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใดไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหุ้นส่วนธุรกิจ: ศาลคุ้มครองชั่วคราวให้ร่วมกันจัดการรายได้-รายจ่าย ภัตตาคาร
โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันประกอบกิจการภัตตาคาร มีข้อตกลงให้โจทก์เก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายจากการประกอบกิจการ ซึ่งโจทก์จำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงตลอดมา 6 เดือน การที่จำเลยห้ามโจทก์และพนักงานของโจทก์จัดเก็บรายได้ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย เป็นเรื่องที่ถือได้ว่าจำเลยตั้งใจกระทำซ้ำและกระทำต่อไปซึ่งเป็นการผิดสัญญา เป็นกรณีมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษามาใช้บังคับ ทั้งเป็นกรณีที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลจึงมีอำนาจสั่งและพิพากษาห้ามมิให้จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยทำการจัดเก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายเพียงฝ่ายเดียวในกิจการภัตตาคาร โดยให้โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์และจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยร่วมกันจัดเก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายในกิจการภัตตาคาร และให้ร่วมกันทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อควบคุมรายได้และรายจ่ายในกิจการภัตตาคารในระหว่างพิจารณาคดีจนกว่าจะมีคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดในการชี้สองสถาน การวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นเหตุให้ศาลต้องกลับคำพิพากษา
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าสามีจำเลยขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ และได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์แล้วผิดสัญญาหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อได้กำหนดประเด็นไว้ดังกล่าวแล้วศาลจึงต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในกระบวนพิจารณาชั้นชี้สองสถาน และต้องไม่พิจารณาชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายและเช่าซื้อรถคันพิพาทและชำระราคากันจริงแล้ว ผลก็เท่ากับว่าไม่เชื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ต้องพิพากษายกฟ้องทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้เลยว่าการซื้อขายและเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4718/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลมิควรวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือจากที่ได้ยกขึ้นเป็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์นำรถยนต์พิพาทไปว่าจ้างจำเลยที่ 1 ซ่อมแต่จำเลยที่ 1 มิได้ซ่อมแซม เมื่อโจทก์ขอรับรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่ารถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากโจทก์ จึงมีสิทธิป้องปัดขัดขวางไม่ให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทไปจากอู่ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่า โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือได้ขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นหลักประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมจำเลยที่ 2 ไปจึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การและไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4624/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการแต่งตั้งแพทย์เพื่อตรวจสอบข้อพิพาท และความยินยอมของคู่ความ
รายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานในส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ซึ่งเกิดขึ้นจากการท้ากันระหว่างโจทก์จำเลย โดยตกลงกันกำหนดประเด็นเสนอศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจดำเนินการตามที่คู่ความร้องขอได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาล โดยมีเงื่อนไขว่าให้ถือเอาความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยแพทยสภาไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจสอบเวชระเบียนแล้วทำความเห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงานหรือไม่ หากโจทก์ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน โจทก์ยอมแพ้ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หากคณะกรรมการแพทย์เห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน จำเลยยอมแพ้ และยอมให้โจทก์ชนะคดี การที่ศาลแรงงานมีหนังสือถึงแพทยสภาขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ และแพทยสภามีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในเวลาต่อมา จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวน-พิจารณาให้อย่างครบถ้วนตรงตามคำขอของโจทก์จำเลยโดยแท้ หาใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยพลการไม่ ทั้งนับแต่ศาลแรงงานบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539จนกระทั่งคณะกรรมการแพทย์ทำรายงานเสนอความเห็นต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ก็เป็นระยะเวลายาวนานพอที่โจทก์มีโอกาสติดตามตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภาได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการและแถลงคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเพราะไม่อาจขัดขืนอำนาจศาลที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ชัดแจ้งว่าศาลแรงงานกลางใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างใด ทั้งการดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นก็เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ที่ร้องขอต่อศาลทั้งสิ้น ดังนี้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้หนังสือที่ศาลแรงงานกลางที่มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ลงลายมือชื่อโดยผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ศาลแรงงานกลางได้มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอความร่วมมือให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบเวชระเบียนของโจทก์แล้วทำความเห็นส่งศาลเท่านั้นซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามประเด็นที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ การแพ้ชนะคดีของโจทก์ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามที่โจทก์ตกลงท้ากับจำเลย ศาลหาได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยไม่ หนังสือนี้จึงไม่ใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางต้องกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาล โดยมีเงื่อนไขว่าให้ถือเอาความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยแพทยสภาไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจสอบเวชระเบียนแล้วทำความเห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงานหรือไม่ หากโจทก์ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน โจทก์ยอมแพ้ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หากคณะกรรมการแพทย์เห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน จำเลยยอมแพ้ และยอมให้โจทก์ชนะคดี การที่ศาลแรงงานมีหนังสือถึงแพทยสภาขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ และแพทยสภามีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในเวลาต่อมา จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวน-พิจารณาให้อย่างครบถ้วนตรงตามคำขอของโจทก์จำเลยโดยแท้ หาใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยพลการไม่ ทั้งนับแต่ศาลแรงงานบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539จนกระทั่งคณะกรรมการแพทย์ทำรายงานเสนอความเห็นต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ก็เป็นระยะเวลายาวนานพอที่โจทก์มีโอกาสติดตามตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภาได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการและแถลงคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเพราะไม่อาจขัดขืนอำนาจศาลที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ชัดแจ้งว่าศาลแรงงานกลางใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างใด ทั้งการดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นก็เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ที่ร้องขอต่อศาลทั้งสิ้น ดังนี้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้หนังสือที่ศาลแรงงานกลางที่มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ลงลายมือชื่อโดยผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ศาลแรงงานกลางได้มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอความร่วมมือให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบเวชระเบียนของโจทก์แล้วทำความเห็นส่งศาลเท่านั้นซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามประเด็นที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ การแพ้ชนะคดีของโจทก์ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามที่โจทก์ตกลงท้ากับจำเลย ศาลหาได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยไม่ หนังสือนี้จึงไม่ใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางต้องกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องราคาค่าจ้างไม่ถือเป็นการผิดสัญญา บอกเลิกสัญญาไม่ได้
โจทก์ได้ทำชั้นวางของจนสำเร็จตามที่จำเลยว่าจ้าง จำเลยจึงมีหน้าที่ที่ต้องรับมอบชั้นวางของดังกล่าวจากโจทก์ พร้อมกับใช้ราคาตามที่ตกลงกันให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 602 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระราคาผิดไปจากข้อตกลงอันเป็นการผิดสัญญาเพื่อบอกเลิกสัญญาไม่ได้จำเลยมีสิทธิเพียงแต่บอกปัดไม่จำต้องชำระราคาให้แก่โจทก์ตามที่เรียกร้องมาเท่านั้น
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นเพียงการโต้แย้งกันเรื่องราคาค่าจ้างเท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าการเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้โดยตรง หาใช่นอกประเด็นไม่
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นเพียงการโต้แย้งกันเรื่องราคาค่าจ้างเท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าการเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้โดยตรง หาใช่นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ภูมิลำเนา การขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการยกเว้นข้อพิพาท
จำเลยยังไม่ได้ขายกิจการขายกิจการร้านข้าวต้มที่บ้านเลขที่39-41ถนนสุระสงครามตำบลท่าหินอำเภอเมืองลบบุรีจังหวัดลพบุรีแก่บุคคลใดแต่ยังเป็นกิจการของจำเลยอยู่และในการขอเปิดบัญชีเดินสะพัดต่อธนาคารจำเลยก็ระบุบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ของจำเลยแม้จำเลยจะพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่24/2หมู่ที่2ตำบลท่าศาลาอำเภอเมืองลพบุรี อีกแห่งหนึ่งก็ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา38การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่บ้านเลขที่39-41ซึ่งเป็นร้านข้าวต้มดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยยังภูมิลำเนาของจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดจึงถือได้ว่าจำเลยจึงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ที่จำเลยฎีกาว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดจากการเล่นการพนันจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้มีชื่อซึ่งรับเช็คพิพาทจากจำเลยได้เสียการพนันสลากกินรวบแก่จำเลยเป็นเงิน120,000บาทหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเหลือเพียง80,000บาทแต่ผู้มีชื่อไม่ยอมนำเช็คพิพาทมาแลกเช็คใหม่กับจำเลยและกลับโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์อันเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยนั้น เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่ม: สิทธิในการเรียกเก็บดอกเบี้ยและฐานภาษีที่ถูกต้อง
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 82 จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่งก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้ สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากร โดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลยขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไป การที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิดอีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน 87,200,000 บาท รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยอันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน 82,200,000 บาท จะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยก็ตามแต่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ฐานะภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รบหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และคำว่า "มูลค่า" นั้น มาตรา 79 วรรคสอง ให้หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน เมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้ว เงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใด จึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ 3.3 มาหักออก ที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับ ฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224วรรคแรก ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ชื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวดโจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึง 4นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ