คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อยกเว้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว การฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย มีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใด ศาลหนึ่งได้ ซึ่งก็ได้แก่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอันเป็น ศาลที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติ และศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดี เยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่จำเลยกระทำความผิดฉะนั้น เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยอยู่แล้ว จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนิน การสอบสวน ไม่อาจนำมาตรา 51 วรรคท้ายมาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดย ไม่ได้ขอผัดฟ้องหรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเยาวชน: เกณฑ์การกำหนดศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี และข้อยกเว้นกำหนดเวลาฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ส่วนกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้านั้น ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว และคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว พนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามด้วย แต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่ และหากพนักงานอัยการมีเหตุจำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง และข้อยกเว้นการนับเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 7 และเมื่อคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การพิจารณาข้อยกเว้นเรื่องเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 7 และเมื่อคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: เหตุผลความจำเป็นและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ด วันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 บัญญัติว่าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามีฉะนั้นเมื่อคำร้อง ของ จำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการอุทธรณ์คดีขับไล่: ข้อจำกัดด้านค่าเช่า และการบังคับใช้กับคู่ความทั้งสองฝ่าย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองนั้นเป็นการบัญญัติถึงข้อยกเว้นในการอุทธรณ์หรือห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเฉพาะที่เกี่ยวกับประเภทหรือลักษณะของคดีที่ฟ้องร้องกันเท่านั้นหาได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นเกี่ยวกับตัวบุคคลผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้อุทธรณ์ด้วยแต่อย่างใดไม่ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้มีข้อความตอนใดที่บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคือจำเลยเป็นผู้อุทธรณ์เท่านั้นจึงต้องใช้บังคับแก่ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีด้วยเมื่อที่ดินพิพาทมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องเพียงเดือนละ500บาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: การลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายสัญญาเช่า มิใช่การครอบครองตามสัญญา
กรมธรรม์ประกันภัยระบุข้อยกเว้นที่จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายว่าความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์โดยบุคคลที่ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่าเป็นอันไม่คุ้มครอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ท. และ ข. ทำสัญญาเช่ารถยนต์ไปจากโจทก์ผู้เอาประกันภัย แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาเช่าบุคคลทั้งสองไม่นำรถยนต์ไปคืน เนื่องจาก ท. และ ข. ไม่มีเจตนาเช่ารถยนต์ดังกล่าว เหตุที่ทำสัญญาเช่าทรัพย์ก็เพื่อเป็นกลอุบายลักรถยนต์ไปขายที่ประเทศพม่าดังนั้น การที่ ท. และ ข. ลักรถยนต์โดยใช้กลอุบายทำสัญญาเช่าเช่นนี้จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยและการรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกแม้มีข้อยกเว้น
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมีข้อยกเว้นทั่วไป ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน ก็ตาม แต่มีข้อสัญญาพิเศษระบุว่า "...บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอา-ประกันภัย หรือเงื่อนไขทั่วไปเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฎิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัยเพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัททันที" ดังนั้นจำเลยร่วมจะยกเอาเหตุที่ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอา-ประกันภัยขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วัน มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ได้แต่ยกขึ้นว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อยกเว้น แต่ข้อสัญญาพิเศษคุ้มครองบุคคลภายนอก ทำให้บริษัทประกันภัยต้องรับผิด
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมีข้อความระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วันก็ตาม แต่ก็มีข้อสัญญาพิเศษระบุว่า "ภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิด บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด ฯลฯ แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัยเพราะกรณีซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัททันที" ดังนั้นจำเลยร่วมจะยกเอาเหตุที่ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วันมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ได้แต่ยกขึ้นว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยลูกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศ มท.
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคท้าย ได้กำหนดเงื่อนไขในการที่ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าชดเชยเพราะเหตุที่เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างไว้แน่นอน จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างได้จ้างลูกจ้างเพื่อทำงานประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้คือ
1. ทำงานตามโครงการเฉพาะซึ่งมิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างโดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
2. ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวซึ่งมีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
3. ทำงานที่เป็นไปตามฤดูกาลโดยได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น
ซึ่งงานทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ลูกจ้างจึงจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย แต่บริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างมีวัตถุประสงค์ทำการก่อสร้าง รับงานโครงการไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 1 แห่งจังหวัดขอนแก่น 1 แห่ง และจังหวัดสมุทรสงคราม 1 แห่ง งานก่อสร้างของจำเลยตามโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยในการที่จะไปรับจ้างก่อสร้าง ทั้งงานที่จำเลยจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเกี่ยวข้องกับระยะเวลาการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานแต่อย่างใด จำเลยจ้างโจทก์ 1 ปีและจ้างติดต่อไปอีก 6 เดือน การจ้างงานในกรณีดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
จำเลยจ้างโจทก์ติดต่อกันมาตามสัญญาจ้างสองฉบับโดยมิได้มีการเลิกจ้าง การนับระยะเวลาจึงต้องนับต่อเนื่องกัน
of 41